Page 28 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 28
4
“การปฏิบัติที่แตกต่างกัน (Differentiation of Treatment ) จะไม่ก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติ
(Discrimination) หากพิจารณาเกณฑ์ส าหรับการปฏิบัติที่แตกต่างกันนั้นเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์และ
จุดมุ่งหมายของสนธิสัญญาแล้วมีความชอบธรรมหรือตกอยู่ในขอบเขตมาตรา 1 ย่อหน้า 4 ของสนธิสัญญา
นี้ ในการพิจารณาเกณฑ์ดังกล่าว คณะกรรมการยอมรับว่าการกระท าใดการกระท าหนึ่งอาจมี
วัตถุประสงค์หลากหลาย ดังนั้น ในการก าหนดว่าการกระท าอันหนึ่งส่งผลขัดแย้งต่อหลักการตาม
สนธิสัญญานี้ คณะกรรมการจะพิจารณาว่าการกระท านั้นก่อให้เกิดผลกระทบอันไม่สามารถอ้างเหตุที่ชอบ
ธรรม (Unjustifiable Desperate Impact) ต่อบุคคลที่ถูกจ าแนกความแตกต่างด้วยเหตุแห่งเชื้อชาติ สีผิว
บรรพบุรุษ สัญชาติ ถิ่นก าเนิด”
อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the
Elimination of All Forms of Discrimination against Women หรือ CEDAW) วางหลักเกี่ยวกับ
ความเสมอภาคและการห้ามเลือกปฏิบัติไว้ใน ข้อ 1 ดังนี้
“เพื่อความมุ่งประสงค์ของอนุสัญญานี้ ค าว่า “การเลือกปฏิบัติต่อสตรี” จะหมายถึงการแบ่งแยก
การกีดกันหรือการจ ากัดใดๆเพราะเหตุแห่งเพศซึ่งมีผลหรือความมุ่งประสงค์ที่จะท าลายหรือท าให้เสื่อมเสีย
การยอมรับการได้อุปโภคหรือการใช้สิทธิโดยสตรีโดยไม่เลือกสถานภาพด้านการสมรสบนพื้นฐานของความ
เสมอภาคของบุรุษและสตรีของสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในด้านการเมืองเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมพลเมือง
หรือด้านอื่นๆ”
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International
Covenant on Economic, Social and Cultural Rights หรือ ICESCR) วางหลักเกี่ยวกับความ
เสมอภาคและการห้ามเลือกปฏิบัติไว้ใน ข้อ 2 ดังนี้
“รัฐภาคีแห่งกติกานี้รับที่จะประกันว่าสิทธิทั้งหลายที่ระบุไว้ในกติกานี้ปราศจากการเลือกปฏิบัติ
ใดๆ เรื่องเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือความคิดเห็นอื่นใด ชาติหรือ
สังคมดั้งเดิม ทรัพย์สินก าเนิดหรือสถานะอื่น”
6
นอกจากนี้ ความเห็นทั่วไป (General Comment) ได้อธิบายความหมายของการเลือกปฏิบัติใน
กรอบของ ICESCR ว่า
“การเลือกปฏิบัติโดยตรง (Direct Discrimination) เกิดขึ้นเมื่อบุคคลได้รับการปฏิบัติในลักษณะ
ที่พึงพอใจน้อยกว่าบุคคลอื่นในสถานการณ์เดียวกันด้วยเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ เช่น การจ้างงานใน
สถาบันการศึกษาหรือการสมัครสมาชิกในสหภาพการค้านั้นอยู่บนพื้นฐานของความคิดเห็นทางการเมือง
ของลูกจ้างหรือผู้สมัคร การเลือกปฏิบัติทางตรงรวมถึงการกระท าที่ส่งผลร้ายหรือการละเว้นการกระท า
บางอย่างบนพื้นฐานจากเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ..” ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในกรณีการเลือกปฏิบัติโดยตรงนั้น
เห็นได้ชัดเจนจากตัวมาตรการหรือกฎหมายว่ามีเนื้อหาที่ก าหนดเงื่อนไขแตกต่างกันส าหรับบุคคลบางกลุ่ม
ด้วยเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติต่างๆ
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with
Disabilities หรือ CRPD) ก าหนดความหมายของ “การเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งความพิการ” ไว้ว่า
“หมายถึง ความแตกต่าง การกีดกัน หรือ การจ ากัด บนพื้นฐานของความพิการ ซึ่งมีความมุ่งประสงค์หรือ
6
General comment NO. 20 Non-discrimination in economic, social and cultural rights (art. 2, para. 2, of
the International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights)