Page 29 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 29
5
ส่งผลให้เป็นการเสื่อมเสียหรือท าให้ไร้ผลซึ่งการยอมรับ การอุปโภคหรือการใช้สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ
ขั้นพื้นฐานทั้งปวงบนพื้นฐานที่เท่าเทียมกับบุคคลอื่นในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมความเป็น
7
พลเมืองหรือด้านอื่น รวมถึงการเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบ รวมทั้งการปฏิเสธการช่วยเหลือที่สมเหตุสมผล”
ส าหรับความหมายของการเลือกปฏิบัติตามกฎหมายต่างประเทศนั้น มีตัวอย่างเช่น
ประเทศออสเตรเลีย มีกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับการห้ามเลือกปฏิบัติในระดับสหพันธรัฐ คือ
พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนออสเตรเลีย (Australian Human Rights Commission
8
Act 1986) ซึ่งนิยามความหมายของการเลือกปฏิบัติ (Discrimination) ไว้โดยมีหลักส าคัญว่า “…
ความแตกต่าง การกีดกัน หรือ การปฏิบัติอย่างเป็นพิเศษใดๆ ซึ่งกระท าขึ้นบนพื้นฐานของ เชื้อชาติ สีผิว
เพศ ศาสนา ความเห็นทางการเมือง ชาติก าเนิดหรือต้นก าเนิดทางสังคม ซึ่งส่งผลเป็นอุปสรรคหรือท าให้
เสียไปซึ่งความเท่าเทียมกันในโอกาสหรือการปฏิบัติในการจ้างงานหรืออาชีพ….” นอกจากนั้นยังมี
กฎหมายระดับมลรัฐ ซึ่งหลายมลรัฐก าหนดนิยามการเลือกปฏิบัติไว้ เช่น มลรัฐ New South Wales
คณะกรรมการต่อต้านการเลือกปฏิบัติได้อธิบายความหมายของการเลือกปฏิบัติ ไว้ว่า “...การกระท าต่อ
9
บุคคลหนึ่งบุคคลใดอย่างไม่เป็นธรรม เพราะเหตุที่บุคคลนั้นมีลักษณะที่ต่างกับบุคคลทั่วไป….”
กรณีของประเทศแคนาดา รัฐธรรมนูญแคนาดา (Canadian Charter of Rights and
Freedoms) วางหลักเกี่ยวกับความเท่าเทียมกัน (Equality Rights) และการห้ามเลือกปฏิบัติ ไว้ว่า
“บุคคลทุกคนเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมายและมีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองและได้รับประโยชน์ตาม
กฎหมายที่เท่าเทียมกันโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปราศจากการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุ
เชื้อชาติ สัญชาติ ชาติพันธุ์ สีผิว ศาสนา เพศ อายุ ความพิการทางกายหรือจิต” ส าหรับในระดับมลรัฐนั้น
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งมลรัฐ New Brunswick ได้ให้ค านิยามความหมายว่า “การกระท าใด ๆ
ไม่ว่าด้วยเจตนาหรือไม่ก็ตาม ซึ่งมีผลท าให้บุคคลหรือกลุ่มคนใดต้องถูกจ ากัดโอกาสที่บุคคลพึงจะได้รับ
10
เนื่องมาจากเหตุลักษณะเฉพาะของบุคคลนั้น อาทิ เรื่องเชื้อชาติ หรือ เรื่องสีผิว”
อย่างไรก็ตาม กฎหมายบางประเทศแม้ว่าวางหลักห้ามเลือกปฏิบัติโดยกล่าวถึงเหตุแห่งการเลือก
ปฏิบัติไว้ แต่ก็มิได้ก าหนดนิยามของการเลือกปฏิบัติไว้ เช่น รัฐธรรมนูญอินเดีย วางหลักว่า “รัฐจะต้องไม่
เลือกปฏิบัติต่อพลเมืองด้วยเพียงเพราะเหตุแห่งศาสนา เชื้อชาติ เพศ สถานที่เกิด ”
ส าหรับงานวิจัยนี้มีขอบเขตการศึกษาจ ากัดเฉพาะการเลือกปฏิบัติในกรอบความหมายของ
กฎหมายสิทธิมนุษยชน
1.2.2 การเลือกปฏิบัติตามกรอบกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศ
7
Article 2, Convention on the Rights of Persons with Disabilities (CRPD)
8
Part I , article 3 (Interpretation)
9
Anti-Discrimination Board. Unlawful discrimination in New South Wales [Online]. Available URL:
http://www.lawlink.nsw.gov.au.
10
The New Brunswick Human Rights Commission. Equality Rights Definitions . [Online] (April 3,2000):
http:// www.gov.nb.ca/hrc-cdp/e/el defini.htm.