Page 123 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 123
๒.๓.๗ โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การส่งเสริมความรู้และสร้างความตระหนักในการเสนอข่าวที่
เคารพสิทธิมนุษยชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนในประเด็นต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และ
ส่งผลกระทบกับประชาชน ให้แก่สื่อมวลชนได้รับทราบอย่างถูกต้อง และเพื่อสร้างความร่วมมือและสัมพันธภาพที่ดีร่วมกับ
เครือข่ายสื่อมวลชน ซึ่งจะน�าไปสู่การสร้างความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิมนุษยชนให้แก่สังคมต่อไป กลุ่มเป้าหมายประกอบ
ด้วย สื่อมวลชนทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค นักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุน
การท�างานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งมีอ�านาจหน้าที่ในการปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้แก่
ประชาชน รวมถึง การส่งเสริมให้ประชาชนได้รับความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิทธิมนุษยชน
ผลส�าเร็จ/ความก้าวหน้าในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน
สื่อมวลชนได้รับความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักการสิทธิมนุษยชน ตลอดจนเรียนรู้จากกรณีศึกษา
ที่สื่อมวลชนละเมิดสิทธิและเสรีภาพในรูปแบบต่าง ๆ และได้รู้ถึงปัญหาอุปสรรคในการน�าเสนอข่าวในประเด็นเกี่ยวกับ
การละเมิดสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพของบุคคลอื่น และน�าข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะไปสู่การพัฒนามาตรฐานทางวิชาชีพต่อไป
๒.๓.๘ โครงการสัมมนา เรื่อง พระราชก�าหนดการประมงกับการประมงที่ยั่งยืน ระหว่างวันที่ ๕ – ๖ กันยายน ๒๕๕๙
สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้ออกพระราชก�าหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งมีบทบัญญัติบางมาตรา
ที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวประมงพื้นบ้านและชาวประมงขนาดเล็ก รวมถึงกระทบต่อการจัดการทรัพยากร
ทางทะเลและชายฝั่ง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้มีการสัมมนาระดมความคิดเห็นเพื่อให้สาธารณชนและ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นความส�าคัญของสิทธิชุมชนและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรทาง
ทะเล ชายฝั่ง และการประมงอย่างยั่งยืน
ผลส�าเร็จ/ความก้าวหน้าในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน
ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน และจัดท�าข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
๑. นิยามของค�าว่า “ประมงพื้นบ้าน” และ “ประมงน�้าจืด” ยังขาดค�าอธิบายที่ชัดเจน จึงเสนอให้หมายถึง
การท�าการประมงที่สงวนไว้ให้กับผู้ที่มีสัญชาติไทยเท่านั้น และต้องเป็นการท�าการประมงด้วยเรือตนเอง
๒. การก�าหนดประเภทเครื่องมือที่ใช้ในการท�าประมงพื้นบ้าน ต้องค�านึงถึงประเภทของเครื่องมือและวิธีการ
ท�าการประมงที่ไม่เป็นการท�าลายพันธุ์สัตว์น�้าวัยอ่อน
๓. ควรใช้ประเภทของเครื่องมือในการท�าประมงเป็นตัวก�าหนดเขตพื้นที่ในการท�าประมงมากกว่าการก�าหนด
โดยขนาดของเรือประมง
๔. พระราชก�าหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ มาตรา ๑๐ บัญญัติว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เรือไร้สัญชาติท�าการประมง”
ท�าให้ส่งผลกระทบต่อเรือประมงพื้นบ้านขนาดเล็ก เนื่องจากการประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง การประกาศให้ขึ้นทะเบียนเรือมี
ระยะเวลาสั้น และจ�านวนเจ้าหน้าที่ที่เข้าไปรับเรื่องมีน้อย ท�าให้ชาวประมงพื้นบ้านไม่สามารถไปขึ้นทะเบียนเรือได้ตาม
ก�าหนดเวลา ดังนั้น จึงควรมีข้อยกเว้น ตามกฎหมาย
๕. เห็นควรให้มีการยกเลิกพระราชก�าหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ ในมาตรา ๓๔ ที่บัญญัติว่า “ห้ามมิให้ผู้ได้
รับใบอนุญาตท�าการประมงพื้นบ้านท�าการประมงในเขตทะเลนอกชายฝั่ง”
๖. การก�าหนดเขตทะเลชายฝั่งมีผลกระทบต่อชาวประมงพื้นบ้าน เห็นควรให้ก�าหนด ตามสภาพแวดล้อมในแต่ละพื้นที่
122 | รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐