Page 125 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 125

โดยมีผู้เข้าร่วมจาก ๙๘ ประเทศทั่วโลกกว่า ๖๘๐ คน ท�าให้เกิดการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์ของ
           กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในวงกว้าง รวมถึงการน�าเสนอข้อท้าทายและอุปสรรคปัญหาที่ท�าให้เกิดการเลือก
           ปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมเพราะเหตุแห่งเพศ ตลอดจนแนวปฏิบัติที่ดีในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของบุคคลที่มี
           ความหลากหลายทางเพศ ท�าให้เกิดการเผยแพร่ข้อมูลด้านสิทธิมนุษยชนให้ประชาชนได้รับรู้และเรียนรู้ อันจะส่งเสริมให้

           เกิดกระแสสังคมที่จะคุ้มครองสิทธิของบุคคลและยุติการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมเพราะเหตุแห่งเพศในสังคม


                   ๒.๓.๑๐ โครงการสัมมนา เรื่อง การติดตามผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ....



                          สืบเนื่องจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้พิจารณาปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๑๐ ให้มี
           ความก้าวหน้ายิ่งขึ้น โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. .... (ฉบับวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน
           ๒๕๕๙) ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้รับหลักการในวาระที่ ๑ แล้ว โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ด�าเนิน
           การจัดสัมมนาเรื่อง “การติดตามผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ....” เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

           ณ ส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยเชิญนักวิชาการ องค์กรเอกชน เครือข่ายภาคประชาชน เพื่อรับฟัง
           ความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง


                   ผลส�าเร็จ/ความก้าวหน้าในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน



                   การสัมมนาเรื่อง การติดตามผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. .... ได้มีความเห็น ข้อเสนอแนะ และ
           ข้อสังเกตเพิ่มเติมต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อประกอบการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติบางมาตราของ
           ร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. .... ในวาระที่ ๒ และวาระที่ ๓ ดังนี้



                   ข้อเสนอแนะ


                   ๑. ควรก�าหนดให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เพื่อร่วมกันท�าหน้าที่ในการทบทวน หรือยกร่างกฎหมายล�าดับรอง

           กฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศหรือค�าสั่ง ตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อเป็นการสร้างหลักประกันว่า การตรากฎหมายล�าดับรอง
           จะเป็นไปตามเจตนารมณ์ของร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. .... ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบให้ตราเป็นกฎหมาย


                   ๒. ควรก�าหนดระยะเวลาการตรากฎหมายล�าดับรองเป็น ๓ กลุ่มตามความเร่งด่วน คือ กฎหมายล�าดับรองที่

           ต้องด�าเนินการตราในระยะไม่เกิน ๓ เดือน กฎหมายล�าดับรองที่ต้องด�าเนินการตรา ภายใน ๑ ปี และกฎหมายล�าดับรอง
           ที่ต้องด�าเนินการตรา ภายใน ๒ ปี


                   ข้อสังเกต



                   ๑. มาตรา ๗/๑ ก�าหนดให้ประธานสภาการเหมืองแร่ และประธานสภาอุตสาหกรรม เป็นกรรมการโดยต�าแหน่ง
           ในคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ และมาตรา ๒๔ ก�าหนดให้ผู้แทนสภาการเหมืองแร่ เป็นกรรมการ
           โดยต�าแหน่งในคณะกรรมการแร่จังหวัด ถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือมีผลประโยชน์ขัดแย้งกับการปฏิบัติหน้าที่ในต�าแหน่ง

           กรรมการ
                   ๒. มาตรา ๔๙ (๑) ควรก�าหนดให้อธิบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการแร่จังหวัด เป็นผู้มีอ�านาจออก
           ประทานบัตรการท�าเหมืองแร่ประเภทที่ ๑ แทนการให้อ�านาจแก่เจ้าพนักงานอุตสาหกรรมแร่ประจ�าท้องที่เป็นผู้ออก
           ประทานบัตร

            124 |  รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130