Page 122 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 122
บทที่ ๒ ผลการด�าเนินงานประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
ผลส�าเร็จ/ความก้าวหน้าในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน
ในการเสวนาได้มีการสะท้อนความคิดเห็นต่อประเด็นโทษประหารชีวิตว่า จากการศึกษาวิจัยในหลายประเทศ
พบว่า การมีโทษประหารชีวิตไม่ได้ท�าให้การก่ออาชญากรรมลดลง ในทางกลับกันรัฐที่มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตกลับ
มีสถิติการก่ออาชญากรรมลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยการประหารชีวิตถือเป็นการขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน ในการมีชีวิตอยู่
ของบุคคล และถือเป็นการตัดโอกาสไม่ให้ผู้กระท�าผิดได้กลับตัว ส�าหรับนักโทษประหารชีวิตในประเทศไทยซึ่งส่วนใหญ่
เกี่ยวข้องกับคดียาเสพติดนั้น แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม กลุ่มแรกคือ ผู้ที่กระท�าความผิดจริง กลุ่มที่สองคือ ผู้ถูกหลอกล่อให้
กระท�าความผิดโดยไม่มีเจตนา และกลุ่มที่สามคือ ผู้ที่ไม่ได้กระท�าความผิดแต่อยู่ในสถานการณ์บังคับที่ท�าให้ต้องกลาย บทที่ ๒
เป็นแพะรับบาป จ�านวนนี้เกือบทั้งหมดเป็นผู้มีฐานะยากจน ไม่รู้กฎหมาย เป็นแรงงานข้ามชาติที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ และ
มีแรงจูงใจในการกระท�าผิด จากปัญหาความยากจนทั้งสิ้น รัฐบาลไทยจึงควรหันมาใช้มาตรการทางแพ่งตัดวงจรการค้า
ยาเสพติดด้วยการริบทรัพย์ หรือยับยั้งการฟอกเงินของนายทุนผู้ค้ายาเสพติดรายใหญ่มากกว่าการลงโทษประหารชีวิต
ผู้ต้องโทษค้ายาเสพติดรายย่อย ซึ่งเป็นเพียงเครื่องมือของกลุ่มทุน นอกจากนี้ แนวทางการพิจารณายุติโทษประหารชีวิต
ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) และแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๓
(พ.ศ. ๒๕๕๗ – ๒๕๖๑) เช่น การลดโทษสูงสุดจากประหารชีวิตเป็นการจ�าคุกตลอดชีวิตโดยมีกลไกการบริหารจัดการและ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนักโทษที่มีประสิทธิภาพ การเปิดให้ศาลสามารถใช้ดุลยพินิจในการตัดสินโทษประหาร การลดโทษ
ความผิดประหารชีวิตลงจากฐานความผิดที่ไม่ร้ายแรง หรือการเปิดช่องให้ศาลรัฐธรรมนูญสามารถพิจารณาโทษประหาร
ชีวิตนั้น ๆ ได้อีกครั้งว่าค�าสั่งนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ฯลฯ โดยเชื่อว่าการยกเลิกโทษประหารชีวิตจะเป็นประโยชน์ต่อ
ประเทศชาติในการคืนทรัพยากรบุคคลที่มีโอกาสกลับเป็นคนดีสู่สังคมมากกว่าก�าจัดคนเหล่านั้นออกไป
๒.๓.๖ โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง สื่อไทยกับสิทธิมนุษยชนไร้พรมแดน
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติร่วมกับสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สภาทนายความ และ
สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน ด�าเนินการจัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง สื่อไทยกับสิทธิมนุษยชนไร้พรมแดน
ในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ณ โรงแรมนิวแทรเวิลลอด์จ จังหวัดจันทบุรี เพื่อสร้างการตระหนักรู้และสร้างความเข้าใจ
ต่อประเด็นสิทธิมนุษยชนในมุมมองของการปฏิบัติงานของสื่อมวลชน อันจะส่งผลในการช่วยสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้
เกิดขึ้นแก่สังคม รวมทั้งเป็นการแก้ไขปัญหาการท�าหน้าที่ของสื่อมวลชนที่อาจไปกระทบสิทธิหรือเสรีภาพส่วนบุคคลของ
บุคคลอื่น หรืออาจน�าไปสู่การขยายความขัดแย้งได้อีกทางหนึ่งด้วย โดยผู้ร่วมการสัมมนาประกอบด้วย สื่อมวลชนท้องถิ่น
จังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด รวมทั้งองค์กรเอกชน นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยราชภัฏร�าไพพรรณี ทั้งนี้ เพื่อเป็นการ
สนับสนุนการท�างานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งมีอ�านาจหน้าที่ในการปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
ให้แก่ประชาชน รวมถึงการส่งเสริมให้ประชาชนได้รับความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิทธิมนุษยชน
ผลส�าเร็จ/ความก้าวหน้าในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน
สื่อมวลชนได้รับความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักการสิทธิมนุษยชน ตลอดจนเรียนรู้จากกรณีศึกษา
ที่สื่อมวลชนละเมิดสิทธิและเสรีภาพในรูปแบบต่าง ๆ และได้รู้ถึงปัญหาอุปสรรคในการน�าเสนอข่าวในประเด็นเกี่ยวกับการ
ละเมิดสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพของบุคคลอื่น และน�าข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะไปสู่การพัฒนามาตรฐานทางวิชาชีพต่อไป
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 121