Page 121 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 121

(๗)  แถลงข่าว เรื่อง พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน�้าไทย (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๖๐ ละเมิดสิทธิชุมชน
           (เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๖๐)


                   ๒.๓.๔  โครงการส�ารวจการรับรู้ข่าวสาร และความเข้าใจของประชาชนเพื่อการวางแผนการสื่อสารสิทธิมนุษยชน



                          ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ชุดที่ ๑ และ ชุดที่ ๒ ที่ผ่านมา
           มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ เพื่อแนะน�าบทบาทและภารกิจของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
           รวมถึงการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนให้แก่บุคลากรภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชน

           ทั่วไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เพื่อศึกษาระดับความรับรู้ ความเข้าใจของประชาชนที่มีต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
           และเป็นการวัดระดับประสิทธิภาพของการประชาสัมพันธ์ที่เผยแพร่ไปยังกลุ่มเป้าหมาย จึงได้จัดท�าการประเมินการรับรู้
           และความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับภารกิจของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ


                   ผลส�าเร็จ/ความก้าวหน้าในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน



                   การส�ารวจการรับรู้ข่าวสาร และความเข้าใจของประชาชนเพื่อการวางแผนการสื่อสารสิทธิมนุษยชนท�าให้ทราบ
           ถึงการรับรู้และความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับบทบาทภารกิจ และข้อมูลข่าวสาร รวมถึงประสิทธิภาพของสื่อเผยแพร่

           ประชาสัมพันธ์ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและวางแผนการด�าเนินงานด้าน
           การสื่อสารในเรื่องสิทธิมนุษยชนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


                   ๒.๓.๕ โครงการเสวนา เรื่อง โทษประหารชีวิต...ลดการท�าผิด หรือควรคิดใหม่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

           แห่งชาติร่วมกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม และแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ด�าเนิน
           การจัดการเสวนา เรื่อง โทษประหารชีวิต... ลดการท�าผิด หรือควรคิดใหม่ เนื่องในวันยุติโทษประหารชีวิตสากล (World
           Day Against the Death Penalty) ซึ่งถูกก�าหนดขึ้นเพื่อเผยแพร่ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องโทษประหารชีวิต โดยจัดขึ้นเมื่อ
           วันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๙ ณ ส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

           แห่งชาติ เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ยกระดับความรู้
           ความเข้าใจของสังคม เกี่ยวกับโทษประหารชีวิตในมิติด้านศักดิ์ศรี
           ความเป็นมนุษย์และหลักสิทธิมนุษยชนรวมทั้งรวบรวมข้อมูลความรู้
           ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ในการน�าไปสังเคราะห์

           จัดท�าข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง
           โทษประหารชีวิตเพื่อเสนอไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบพิจารณา
           ด�าเนินการต่อไป โดยผู้ร่วมการเสวนาประกอบด้วย ผู้แทนจากภาครัฐ
           ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม จ�านวนกว่า

           ๒๐๐ คน
















            120 |  รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126