Page 68 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 68
บทที่ ๒ การประเมินสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐
นอกจากนี้ การที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชน ท�าให้รัฐมีพันธกรณี (obligation)
ในการเคารพ (respect) การคุ้มครอง (protect) และการด�าเนินการอื่นใดที่จ�าเป็นเพื่อให้เกิดสิทธิและเสรีภาพต่าง ๆ
(fulfill) ตามที่รับรองไว้ในสนธิสัญญา อย่างไรก็ตาม โดยที่ประเทศไทยใช้ระบบกฎหมายแบบทวินิยมเป็นหลัก ท�าให้
จ�าเป็นต้องอนุวัติการกฎหมายภายในประเทศไทย เพื่อการเชื่อมโยงเนื้อหา หลักการ และคุณค่าของกฎหมายระหว่าง
ประเทศมาใช้บังคับ ทั้งนี้ การที่กฎหมายไทยจ�านวนหนึ่งไม่สอดคล้องหรือรองรับสนธิสัญญาหลักด้าน
สิทธิมนุษยชนโดยตรงนั้น จึงจ�าเป็นต้องมีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่สอดคล้องพร้อมก�าหนดให้รัฐต้องปฏิบัติ
ตามสนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเกี่ยวข้อง
๒. สิทธิและเสรีภาพที่ได้รับประกันตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๔๐ ถึง พุทธศักราช ๒๕๖๐
แนวคิดเรื่องสิทธิและเสรีภาพนั้นปรากฏเป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕ ๑๗ บทที่
จากนั้น ได้มีการบัญญัติรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนไว้ในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒
พุทธศักราช ๒๕๔๐ ได้บัญญัติรับรองและขยายสิทธิและเสรีภาพของประชาชนออกไปอย่างกว้างขวาง ต่อมา รัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้บัญญัติการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของประชาชนในบางเรื่องเพิ่มเติม
จากฉบับก่อนหน้า โดยแก้ไขข้อจ�ากัดจากการน�าบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
ที่ท�าให้การประกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชนยังไม่เกิดผลในทางปฏิบัติ เนื่องจากการบัญญัติกฎหมายรองรับสิทธิตาม
รัฐธรรมนูญเป็นไปอย่างล่าช้า โดยตัดข้อความ “ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ” ออกจากบทบัญญัติในมาตราต่าง ๆ (มากกว่า
๒๐ มาตรา) เพื่อให้เกิดสภาพและข้อผูกพันของรัฐในการประกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญโดยทันที
ทั้งนี้ หลังจากที่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ประกาศยึดอ�านาจการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ ๒๒
พฤษภาคม ๒๕๕๗ ได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
๑๘
แห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ โดยให้มีผลบังคับใช้ในทันที และได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่าง
รัฐธรรมนูญ (กมธ.) จ�านวน ๓๖ คน เพื่อร่างรัฐธรรมนูญ โดยภายหลังจากที่น�าเสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช .... ต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีมติไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวทั้งฉบับ ส่งผลให้ สปช. และ กมธ.
สิ้นสุดลง
ต่อมา คสช. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) โดยมีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธานกรรมการ และ
กรรมการอื่นอีก ๒๐ คน ให้ท�าหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ก�าหนดให้วันที่ ๗ สิงหาคม
๒๕๕๙ เป็นวันออกเสียงประชามติ โดยผลจากการลงประชามติในประเด็นที่ ๑ (การแสดงความเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฯ
ทั้งฉบับหรือไม่) มีคะแนนเสียงเห็นชอบ ๑๖,๘๒๐,๔๐๒ เสียง (คิดเป็นร้อยละ ๖๑.๓๕) และในประเด็นที่ ๒ (ค�าถามพ่วง
ที่ให้สมาชิกวุฒิสภาสรรหาร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกตั้ง ในช่วง ๕ ปีแรก) มีคะแนนเสียง
เห็นชอบ ๑๕,๑๓๒,๐๕๐ (คิดเป็นร้อยละ ๕๘.๐๗) ส่งผลให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐
๑๙
ได้รับการประกาศใช้เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๐
สาระส�าคัญในการประกันสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนที่ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๔๐ จนถึงพุทธศักราช ๒๕๖๐ สรุปได้ ดังนี้
๑๗ มาตรา ๑๒ ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย ฐานันดร-ศักดิ์โดยก�าเนิดก็ดี โดยแต่งตั้งก็ดี หรือโดยประการอื่นใดก็ดีไม่กระท�าให้เกิดเอกสิทธิอย่างใดเลย. ส�านักงาน
คณะกรรมการกฤษฎีกา. (๒๕๖๐). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕. สืบค้นจาก http://web.krisdika.go.th/data/law/law1/%C306/%C306-10-2475-a0002.pdf
๑๘ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.). (๒๕๖๐). ประกาศ คสช. ฉบับที่ ๕/๒๕๕๗ เรื่อง การสิ้นสุดชั่วคราวของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และประกาศ คสช. ฉบับที่ ๑๑/๒๕๕๗ เรื่อง
การสิ้นสุดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. สืบค้นจาก http://library2.parliament.go.th/giventake/content_ncpo/ncpo-annouce5-2557.pdf
๑๙ ไทยพับลิก้า. (๒๕๖๐). กกต.รับรองผลประชามติอย่างเป็นทางการ “ประยุทธ์” เผยบันได ๓ ขั้นสู่การเลือกตั้ง-คาด ๔ เหตุหล “โหวตเยส” ชนะขาด. สืบค้นจาก http://thaipublica.
org/2016/08/referendum-15/
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 67