Page 72 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 72

บทที่ ๒ การประเมินสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐




                  หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ เป็นความพยายามและการยืนยันเจตนารมณ์ที่ส�าคัญของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เนื่องจากมี
            การทบทวนรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมาแล้วพบว่า มีสิทธิบางอย่างที่เขียนไว้ในหมวดสิทธิและเสรีภาพ แต่มิได้ถูกน�ามาปฏิบัติจริง
            จึงก�าหนดให้เป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องด�าเนินการ และก่อให้เกิดสิทธิของประชาชนและชุมชนในการติดตามเร่งรัดการด�าเนินการต่าง ๆ
            รวมถึงก่อตั้งสิทธิในการฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องหากไม่มีการด�าเนินการดังกล่าว หมวดหน้าที่ของรัฐจึงเป็น

            หลักประกันให้แก่ประชาชน โดยรัฐต้องด�าเนินการตามบทบัญญัติในหมวดดังกล่าว ให้ครบถ้วน โดยเหมาะสมกับสถานะ
            ทางการเงินและการคลังของประเทศ เพื่อท�าให้เกิดสิทธิของประชาชนที่จะได้รับประโยชน์จากรัฐอย่างแท้จริง ๒๕


                  หมวด ๖ แนวนโยบายแห่งรัฐ เป็นแนวทางให้รัฐด�าเนินการตรากฎหมายและก�าหนดนโยบายในการบริหาร

            ราชการแผ่นดิน ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ บัญญัติให้รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเพื่อ
            เป้าหมายในการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล ให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ส่งเสริมให้ความคุ้มครองชาวไทย
            กลุ่มชาติพันธุ์ให้มีสิทธิด�ารงชีวิตในสังคมตามวัฒนธรรม ประเพณีวิถีชีวิตดั้งเดิมอย่างสงบสุข โดยในหมวดนี้ได้ก�าหนดให้ก่อน
            ตรากฎหมาย รัฐพึงจัดให้รับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้าน   บทที่

            รวมถึงเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์ต่อประชาชน โดยน�ามาประกอบการพิจารณาในกระบวนการ       ๒
            ตรากฎหมายทุกขั้นตอนและเมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับแล้ว รัฐพึงจัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย โดยรับฟัง
            ความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะท�าให้พัฒนาการของกระบวนการการออกกฎหมายของประเทศไทยมีความก้าวหน้าไปอีก
            ขั้นหนึ่ง เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ บัญญัติรับรองเรื่องดังกล่าวไว้ในมาตรา ๗๗ ๒๖

                  นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ยังก�าหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจ�านวนไม่น้อย
            กว่าหนึ่งหมื่นคนเข้าชื่อเสนอกฎหมายตามหมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย หรือหมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ
            ซึ่งเป็นหลักการเดียวกันกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ และ ๒๕๕๐ แต่มีความแตกต่างที่ว่า
            การก�าหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถเข้าชื่อเสนอกฎหมายได้ในหมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยหรือ

            หมวดหน้าที่ของรัฐ มิใช่หมวดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
            ๒๕๕๐ และพุทธศักราช ๒๕๔๐


            ข้อสังเกต



                  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ให้การประกันสิทธิ เสรีภาพของบุคคลแม้มิได้บัญญัติเป็น
            การเฉพาะไว้ในรัฐธรรมนูญก็ตาม โดยเป็นไปตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญก�าหนด ทั้งนี้แม้สิทธิ เสรีภาพใดที่รัฐธรรมนูญก�าหนด
            ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ แต่มิได้มีการตรากฎหมายดังกล่าว บุคคลหรือชุมชนก็สามารถใช้สิทธิเสรีภาพนั้นได้ตาม

            เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับนี้เห็นได้ว่าในหลักการเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้
            มุ่งให้การรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลเป็นหลัก และให้การจ�ากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลนั้นเป็นข้อยกเว้น
            และเพื่อให้หลักการในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพดังกล่าว สัมฤทธิ์ผลในทางปฏิบัติ รัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงได้บัญญัติหมวด
            หน้าที่ของรัฐขึ้นมา โดยได้น�าสิทธิเสรีภาพบางประการในหมวดสิทธิและเสรีภาพ และบางส่วนในหมวดแนวนโยบาย


            ๒๕  ประธานคณะกรรมาธิการฯ แสดงเหตุผลในการแปรเปลี่ยนไปของสิทธิและเสรีภาพในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ส�าหรับกรณีที่เป็นสิทธิเฉพาะตัวของประชาชน เช่น เสรีภาพในการแสดง
               ความคิดเห็น และสิทธิในการอยู่อาศัย ยังคงบัญญัติไว้ในหมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย แต่ในกรณีที่เป็นสิทธิประโยชน์ที่ทุกคนควรได้รับ ได้บัญญัติไว้ในหมวดหน้าที่ของรัฐ.
            ๒๖  มาตรา ๗๗ รัฐพึงจัดให้มีกฎหมายเพียงเท่าที่จ�าเป็น และยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมาย ที่หมดความจ�าเป็นหรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ หรือที่เป็นอุปสรรคต่อการด�ารงชีวิตหรือการประกอบ
               อาชีพ โดยไม่ชักช้าเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชน และด�าเนินการให้ประชาชนเข้าถึงตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ได้โดยสะดวกและสามารถเข้าใจกฎหมายได้ง่ายเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่าง
               ถูกต้อง
                     ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผยผล
               การรับฟังความคิดเห็น และการวิเคราะห์นั้นต่อประชาชน และน�ามาประกอบการพิจารณาในกระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอน เมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับแล้ว รัฐพึงจัดให้มีการประเมินผล
               สัมฤทธิ์ของกฎหมายทุกรอบระยะเวลาที่ก�าหนด โดยรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องประกอบด้วย เพื่อพัฒนากฎหมายทุกฉบับให้สอดคล้องและเหมาะสม กับบริบทต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป
                     รัฐพึงใช้ระบบอนุญาตและระบบคณะกรรมการในกฎหมายเฉพาะกรณีที่จ�าเป็น พึงก�าหนดหลักเกณฑ์ การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐและระยะเวลาในการด�าเนินการตาม
               ขั้นตอนต่าง ๆ ที่บัญญัติไว้ ในกฎหมายให้ชัดเจน และพึงก�าหนดโทษอาญาเฉพาะความผิดร้ายแรง.


                                                                                คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  | 71
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77