Page 70 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 70

บทที่ ๒ การประเมินสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐




            ทั้งนี้ ยังก�าหนดให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดิน ต้องชี้แจงว่าจะด�าเนินการให้เป็นไปตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
            ตามที่ก�าหนดไว้ในรัฐธรรมนูญและจัดท�ารายงานแสดงผลการด�าเนินการ รวมถึงปัญหาอุปสรรคเสนอต่อรัฐสภาปีละ ๑ ครั้ง
                                                                                                          ๒๓
                  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ บัญญัติให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคน
            มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอเพื่อเสนอกฎหมายต่อรัฐสภาได้ โดยกฎหมายดังกล่าวจะเกี่ยวกับหมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย

            และหมวด ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ดังนั้น จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการ
            มีส่วนร่วมโดยตรงตามการปกครองระบอบประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม ตลอดระยะเวลาการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
            แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ การเข้าชื่อเพื่อเสนอกฎหมายของประชาชน พบว่า ร่างกฎหมายส่วนใหญ่ไม่สามารถ
            ระดมรายชื่อประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ครบตามจ�านวนที่กฎหมายก�าหนด และแม้มีร่างกฎหมายจ�านวนหลายฉบับที่

            ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อครบตามจ�านวนแต่ไม่สามารถประกาศใช้ได้ อาทิ ร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. ....
            ร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. .... เป็นต้น
            ทั้งนี้ เนื่องจากมีการประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ หรือเมื่อสภาผู้แทนราษฎร
            สิ้นสุดและรัฐบาลใหม่ไม่ได้ร้องขอให้รัฐสภาพิจารณาต่อ รวมถึงกรณีรัฐมนตรีเสนอร่างกฎหมายที่มีหลักการอย่างเดียวกันและ   บทที่

            ร่างฉบับรัฐบาลผ่านการพิจารณาประกาศใช้เป็นกฎหมายแล้ว                                                    ๒
                  ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ กลไกที่จัดตั้งขึ้นนั้น ไม่สามารถ
            ปฏิบัติหน้าที่ได้ตามที่คาดหวัง ประกอบกับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน อาทิ การเข้าชื่อเสนอกฎหมายและ
            การเข้าชื่อถอดถอนผู้ด�ารงต�าแหน่งทางการเมือง ไม่สามารถบรรลุผลในทางปฏิบัติได้ ท�าให้เป้าหมายของรัฐธรรมนูญที่จะสร้าง

            กลไกการตรวจสอบการใช้อ�านาจรัฐที่มีประสิทธิภาพ และการสร้างกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนไม่บรรลุผล
                                                                                                             ๒๔
            โดยข้อจ�ากัดส�าคัญประการหนึ่งในการประกันสิทธิและเสรีภาพของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ คือ
            การก�าหนดรายละเอียดในการด�าเนินการให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ แต่ในทางปฏิบัติกลับไม่ได้มีการตรากฎหมาย
            ขึ้นตามที่รัฐธรรมนูญก�าหนดท�าให้สิทธิดังกล่าวไม่เกิดขึ้นจริง



            (๒) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
                  เมื่อการบังคับใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ กระบวนการและกลไกที่รัฐธรรมนูญ
            ก�าหนดไม่สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเมืองและปัญหาของประเทศได้ จึงท�าให้คณะปฏิรูปการปกครอง

            ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
            ๒๕๔๐ เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ และมีการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ โดยพยายามแก้ไขปัญหา
            ที่ผ่านมา และการรับรองและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนให้มีผลในการปฏิบัติอย่างแท้จริง จึงก�าหนดให้สิทธิและ
            เสรีภาพที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มีผลผูกพันโดยตรงต่อองค์กรผู้ใช้อ�านาจรัฐ

            และตัดถ้อยค�า “ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ” ออกเกือบทั้งหมด โดยเฉพาะในบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการรับรองสิทธิและ
            เสรีภาพ ท�าให้การประกันสิทธิต่าง ๆ เป็นผลทันที โดยได้บัญญัติขยายให้สิทธิ เสรีภาพ ดังกล่าวมีผลผูกพันต่อองค์กรตาม
            รัฐธรรมนูญ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มีสาระส�าคัญ คือ การคุ้มครองสิทธิ
            เสรีภาพของประชาชนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองรวมถึงได้เพิ่มกลไกในการตรวจสอบการใช้อ�านาจรัฐ

                  ส�าหรับหมวดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ บทบัญญัติ
            ในหมวดนี้ก�าหนดให้เป็น “เจตจ�านง” แทนการบัญญัติให้เป็น “แนวทาง” เพื่อแสดงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
            โดยรัฐบาลหรือรัฐสภาจะต้องด�าเนินการตรากฎหมายหรือก�าหนดนโยบายให้เป็นไปตามที่ก�าหนดไว้และก�าหนดหน้าที่
            ของคณะรัฐมนตรีต้องชี้แจงในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาให้ชัดเจนว่า จะด�าเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐอย่างไร

            ระยะเวลาใด โดยต้องจัดท�ารายงานแสดงผลการด�าเนินการต่อรัฐสภาด้วย


            ๒๓  จาก แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ, โดย รติกร เจือกโว้น, ม.ป.ป., กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า
            ๒๔  จาก ถอดบทเรียนรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ เพื่อร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐, โดย นุกูล สัญฐิติเสรี, ม.ป.ป., ม.ป.ท.


                                                                                คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  | 69
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75