Page 73 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 73

พื้นฐานแห่งรัฐที่เดิมไม่สามารถบรรลุผลในทางปฏิบัติมาก�าหนดอยู่ในหมวดหน้าที่ของรัฐ พร้อมก�าหนดสภาพบังคับ
           ในหมวดนี้ ให้รัฐด�าเนินการและหากรัฐไม่ด�าเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ในหมวดนี้ ประชาชนและชุมชนสามารถติดตาม
           เร่งรัดให้รัฐด�าเนินการรวมถึงฟ้องร้องรัฐได้ ซึ่งแตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้าที่ผ่านมา ที่สิทธิเสรีภาพบางประการ
           แม้ได้รับการรับรองตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญก็ตามแต่ไม่สามารถบรรลุผลในทางปฏิบัติได้ จึงอาจกล่าวได้ว่าอาจเป็น

           พัฒนาการที่มีความก้าวหน้าในการประกันสิทธิเสรีภาพในรัฐธรรมนูญ หากก�าหนดให้สิทธิเสรีภาพพื้นฐานจ�าเป็นทั่วไปนั้น
           เป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องด�าเนินการและสามารถท�าให้สิทธิเสรีภาพดังกล่าวบรรลุผลเป็นรูปธรรม
                นอกจากการรับรองคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และการก�าหนดหน้าที่ให้รัฐด�าเนินการให้สิทธิเสรีภาพบางประการบรรลุผลแล้ว
           ในหมวดแนวนโยบายแห่งรัฐยังก�าหนดให้ก่อนการตรากฎหมายของรัฐนั้น  รัฐพึงจัดให้รับฟังความคิดเห็นของ

           ผู้ที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ผลกระทบอย่างรอบด้าน และเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์ต่อประชาชน
           และน�ามาประกอบการพิจารณาในกระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอน โดยเมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับแล้ว รัฐพึงจัดให้มี
           การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย โดยรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยนั้น เห็นได้ว่าแนวทางดังกล่าวเป็นการ
           ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการการออกกฎหมายอันมีผลใช้บังคับกับประชาชน ทั้งนี้ อาจกล่าวได้ว่า

           การตรากฎหมายนั้นแท้จริงแล้วเป็นการจ�ากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลประการหนึ่ง แต่การก�าหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วม
           ในกระบวนการการออกฎหมายและการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบอย่างรอบด้านพร้อมการติดตามประเมินผลจากการ
           ใช้กฎหมายนั้น ถือได้ว่ามีเจตนารมณ์ต้องการให้กฎหมายที่ออกมาใช้บังคับกับประชาชนนั้นจ�ากัดสิทธิ เสรีภาพ และเกิด
           ผลกระทบกับประชาชนน้อยที่สุด

                อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาการจัดท�ารายงานประเมินผลกระทบของกฎหมายในประเทศไทยมีเฉพาะในขั้นตอนที่มี
           การร่างกฎหมายออกมาแล้วเท่านั้น ท�าให้หน่วยงานราชการที่เป็นผู้เสนอกฎหมายมีเป้าประสงค์ที่จะให้มีการตรากฎหมาย
           ดังกล่าวโดยเร็วที่สุด จึงมองว่าการจัดท�ารายงานเป็นอุปสรรคที่ท�าให้การตรากฎหมายล่าช้า และโดยการจัดท�ารายงาน
           ประเมินผลกระทบของกฎหมายนั้นประชาชน หรือชุมชนส่วนหนึ่งยังมีทัศนคติ หรือประสบการณ์ที่ยังตั้งค�าถามกับ

           กระบวนการที่มีประสิทธิภาพที่หน่วยงานรัฐควรน�ามาใช้ในการรับฟังความคิดเห็นและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ
           ประชาชนอย่างแท้จริง ในขณะที่มีความไม่ชัดเจนในการน�าผลผลิตที่ได้จากกระบวนการดังกล่าวไปใช้ให้เกิดประสิทธิผล
           ตามเจตนารมณ์
                นอกจากโครงสร้างเรื่องสิทธิ เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ บางประการ

           เปลี่ยนแปลงไปจากรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมาแล้ว รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังก�าหนดหมวดปฏิรูปประเทศ ซึ่งมีเจตนาหลัก
           เพื่อการขจัดความขัดแย้งและลดความเลื่อมล�้าในสังคม โดยก�าหนดให้จัดท�ากฎหมายว่าด้วยแผน และขั้นตอนการปฏิรูป
           ภายใน ๑๒๐ วัน และให้เริ่มด�าเนินการตามแผนในการด�าเนินการปฏิรูปประเทศภายใน ๑ ปี นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
           ทั้งนี้ เห็นถึงความจ�าเป็นเร่งด่วนในการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและปฏิรูปกระบวนการต�ารวจเป็นล�าดับต้น ๆ



           ข้อเสนอแนะ


                เพื่อให้บทบัญญัติเกี่ยวกับการประกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

           พุทธศักราช ๒๕๖๐ สามารถด�าเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลที่เหมาะสม สอดคล้องกับบริบท
           ของประเทศไทย ณ ปัจจุบัน กสม. มีข้อเสนอแนะว่า
                ๑. โดยแนวคิดความสัมพันธ์ของการเชื่อมโยงมาตรฐานการปฏิบัติของกฎหมายระหว่างประเทศ กับกฎหมายไทย
           ในรูปแบบทวินิยมนั้น ในกรณีที่เป็นบทบัญญัติหลัก ๆ ที่เกี่ยวกับสิทธิโดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิบางประการที่บัญญัติไว้

           ในหมวด ๓ (สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย) และหมวด ๕ (หน้าที่ของรัฐ) ที่เข้าข่ายสิทธิแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
           รัฐควรเร่งอนุวัติการกฎหมายภายในประเทศให้สอดคล้องกับสนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชน





           72 |  รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78