Page 71 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 71
ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมการใช้สิทธิของประชาชน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ จึงก�าหนดให้
ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคน มีสิทธิเข้าชื่อเพื่อเสนอร่างกฎหมาย ตามหมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพ
ของชนชาวไทย และหมวด ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
๒๕๔๐ โดยลดจ�านวนการเข้าชื่อของผู้มีสิทธิเลือกตั้งเหลือเพียงหนึ่งหมื่นรายชื่อ ซึ่งท�าให้การใช้สิทธิการมีส่วนร่วมใน
การเสนอกฎหมายของประชาชนเป็นไปได้มากขึ้น ทั้งนี้ พบว่ามีร่างพระราชบัญญัติที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อผ่านการ
พิจารณาของรัฐสภา และประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายแต่เป็นกรณีที่ถูกพิจารณารวมกับร่างที่เสนอโดยรัฐบาล จ�านวน
หลายฉบับ อาทิ ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. .... เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากฎหมายที่เสนอโดยประชาชนจะประกาศใช้บังคับ แต่ก็เป็นกฎหมายที่มาจาก
การพิจารณาประกอบกับร่างที่เสนอโดยรัฐบาลเป็นหลัก
๒) สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มีแนวคิดในเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชน แตกต่างไปจาก
รัฐธรรมนูญฉบับอื่น ๆ โดยก�าหนดหมวดที่มีความส�าคัญต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนหลัก ๆ ดังนี้
หมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย เป็นการก�าหนดหลักการส�าคัญ โดยบัญญัติให้สิทธิและ
เสรีภาพของปวงชนชาวไทยนอกจากที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว การใดที่มิได้ห้ามไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือ
กฎหมายอื่น และการนั้นไม่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน รวมถึง
ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่นนั้น ย่อมมีสิทธิและเสรีภาพกระท�าการนั้นได้ โดยได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้
สิทธิในหมวดนี้เป็นสิทธิของปัจเจกบุคคล ผู้ทรงสิทธิในสิทธินั้น ๆ ย่อมผูกพันอ�านาจรัฐที่จะไม่เข้าไปละเมิดและก่อให้เกิด
อ�านาจฟ้องแก่ผู้ทรงสิทธิ
70 | รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐