Page 181 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 181

๓. ส�านักงานต�ารวจแห่งชาติควรออกระเบียบ/ก�าหนดมาตรการในการดูแลคนต่างด้าวที่จะมาเป็นพยานในคดี
           ค้ามนุษย์ให้มีความเป็นอยู่ที่เหมาะสมในฐานะพยาน โดยเฉพาะกรณีที่พยานเป็นผู้หญิงควรมีมาตรการพิเศษเพื่อรองรับ
           บุคคลต่างด้าวดังกล่าว เช่น การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ต�ารวจหญิงทั้งจากสถานีต�ารวจนครบาลและส�านักงานตรวจคนเข้าเมือง
           การจัดให้มีนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ ในการให้ค�าแนะน�าแก่ผู้เป็นพยานในคดีค้ามนุษย์ และการจัดให้มีการอบรม

           เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ให้แก่เจ้าหน้าที่ทั้งชายและหญิงในประเด็นเรื่องความอ่อนไหวทางเพศสภาพด้วย เป็นต้น
                ๔. ในระหว่างรอการให้การเป็นพยาน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
           กระทรวงยุติธรรม และส�านักงานต�ารวจแห่งชาติ ควรน�าหลักเกณฑ์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาต
           ให้คนต่างด้าวซึ่งเป็นพยานที่สืบพยานก่อนการฟ้องคดีหรือระหว่างการด�าเนินคดีกับผู้กระท�าความผิดตามพระราชบัญญัติ

           ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ มาใช้ในทางปฏิบัติ และมีการแจ้ง
           หลักเกณฑ์ดังกล่าวให้คนต่างด้าวซึ่งอยู่ในฐานะพยานทราบ เพื่อให้คนต่างด้าวที่ประสงค์จะท�างานมีอาชีพในระหว่างที่
           เป็นพยาน



























           ๖.๒ สถานการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้



           ภาพรวม


                สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี

           นราธิวาส และสงขลา (ใน ๔ อ�าเภอ ได้แก่ อ�าเภอจะนะ อ�าเภอสะบ้าย้อย อ�าเภอเทพา และอ�าเภอนาทวี) โดยตั้งแต่
           วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๗ ถึงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ รวมระยะเวลากว่า ๑๔ ปี มีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้น
           ๑๖,๗๗๐ ครั้ง มีผู้เสียชีวิต ๗,๑๐๐ ราย และผู้ได้รับบาดเจ็บ ๑๒,๙๒๑ ราย  เหตุการณ์ความไม่สงบส่งผลกระทบต่อ
                                                                          ๓๓๗
           สิทธิ เสรีภาพในชีวิตและร่างกาย ตลอดจนความปลอดภัยในการด�าเนินชีวิตของคนในพื้นที่ ส่งผลให้มีสตรีหม้ายจ�านวน

           ๒,๖๕๓ คน และเด็กก�าพร้าจ�านวน ๙,๘๐๖ คน ๓๓๘


           ๑. สถิติเหตุการณ์ความไม่สงบ ปี ๒๕๖๐
                สถิติเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีจ�านวนลดลงเมื่อเทียบกับปี  ๒๕๕๙  โดย

           เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบจ�านวน ๕๘๘ ครั้ง มีผู้เสียชีวิต ๒๕๐ ราย ผู้ได้รับบาดเจ็บ ๓๗๔ ราย ในขณะที่ปี ๒๕๕๙


           ๓๓๗  โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ www.deepsouthwatch.org/node/7942 และ www.deepsouthwatch.org/node /10008
           ๓๓๘  โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้, “ศวชต.เปิดข้อมูลเด็กก�าพร้าจากไฟใต้กว่า ๙ พัน พบเงินเยียวยาถึงเด็กน้อย ต้องดูแลด้านจิตใจ”, http://deepsouthwatch.org/node/8414


           180 |  รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐
   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186