Page 179 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 179
โดยมิชอบ และวิธีการ รวมถึงใช้อ�านาจครอบง�าบุคคลด้วยเหตุที่อยู่ในภาวะอ่อนด้อยทางร่างกาย จิตใจ การศึกษา หรือ
ทางอื่นโดยมิชอบกฎหมาย อันเป็นการด�าเนินการที่สอดคล้องกับข้อเสนอแนะที่ประเทศไทยตอบรับภายใต้กระบวนการ
UPR รอบที่ ๒ และพระราชก�าหนดการบริหารจัดการการท�างานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ก�าหนดให้นายจ้างที่จ้าง
คนต่างด้าวท�างานโดยคนต่างด้าวนั้นไม่มีใบอนุญาตท�างาน หรือรับคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตท�างานกับตนเข้าท�างาน มีโทษ
ปรับสูง ประกอบกับกระทรวงแรงงานได้ออกประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตท�างาน
และการอนุญาตให้ท�างานตามพระราชก�าหนดดังกล่าว ซึ่งมีผลให้คนต่างด้าวที่เข้าเมืองมาท�างานในประเทศไทยโดย
ไม่ถูกต้องและอาจได้รับการปฏิบัติที่ไม่ชอบตามหลักสิทธิมนุษยชนกลายเป็นคนต่างด้าวที่สามารถท�างานได้โดยถูกต้อง
ตามกฎหมาย และได้รับการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน ดังนั้น การออกกฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าวน่าจะช่วยคุ้มครอง
และป้องกันการเกิดสถานการณ์การค้ามนุษย์ให้ดีขึ้น และมีการออกประกาศกระทรวงมหาดไทยที่เป็นการช่วยเหลือหรือ
ส่งเสริมการท�างานของคนต่างด้าวซึ่งเป็นพยานหรือเป็นผู้เสียหายในคดีค้ามนุษย์อีกด้วย
นอกจากนี้ รัฐโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ด�าเนินการตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ฉบับที่ ๓ ที่ก�าหนดให้รัฐมีมาตรการบางประการในการคุ้มครองและช่วยเหลือเหยื่อของการค้ามนุษย์ โดยออกมาตรการ
ส่งเสริมการมีงานท�าส�าหรับผู้เสียหาย ให้แก่ผู้เสียหายทั้งคนไทยและคนต่างด้าวที่ผ่านการฝึกอาชีพ และประสงค์ท�างาน
และอยู่ระหว่างรอจัดหางาน/ไม่ได้ออกไปเพราะเป็นพยานคดีค้ามนุษย์หรือไม่ปลอดภัย โดยเบิกจ่ายจากกองทุนเพื่อการ
ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ด�าเนินการขออนุญาตให้แก่
ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ซึ่งเป็นคนต่างด้าว ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจ�าพวก
อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษส�าหรับผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ ๓) ฯ โดยผู้เสียหายคนใดประสงค์จะอยู่
ในราชอาณาจักรต่อไปเพื่อท�างานกับนายจ้าง รัฐจะพิจารณาความพร้อมและความเหมาะสม โดยระยะเวลาการอยู่ในราช
อาณาจักรไม่เกิน ๒ ปี ภายหลังที่คดีสิ้นสุด ๓๓๖
การที่รัฐมีความพยายามในการด�าเนินการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ รวมทั้งมีความร่วมมือกับหลายฝ่ายทั้งในและ
นอกประเทศอย่างต่อเนื่องอาจจะท�าให้สถานการณ์การค้ามนุษย์ของประเทศไทยมีแนวโน้มที่ดีขึ้นตามล�าดับและรายงาน
การค้ามนุษย์ของสหรัฐอเมริกาอาจจะจัดระดับสถานการณ์การค้ามนุษย์ของประเทศไทยในอนาคตดีขึ้น
๓๓๖ ข้อมูลจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
178 | รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐