Page 178 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 178

บทที่ ๖ การประเมินสถานการณ์ด้าน
                                                                                             สิทธิมนุษยชนใน ๕ ประเด็นร่วม



            ณ สถานกักตัวคนต่างด้าว อันอยู่ในการควบคุมดูแลของส�านักงานตรวจคนเข้าเมืองในฐานะพยานคดีค้ามนุษย์ ถือเป็นการ
            ละเมิดสิทธิของบุคคลที่จะต้องได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในฐานะพยานตามสิทธิในกระบวนการยุติธรรม เนื่องจาก
            สถานกักตัวคนต่างด้าวมีข้อจ�ากัดหลายด้านที่อาจส่งผลกระทบต่อสิทธิในเสรีภาพและสภาพความเป็นอยู่โดยเฉพาะเรื่องความไม่
            สะดวกในการให้ญาติเข้าเยี่ยม สิทธิในการมีงานท�าระหว่างรอการพิจารณาคดีในศาลในฐานะพยาน รวมทั้งสิทธิในการได้

            รับอาหารหรือการพักอาศัยในสถานที่ที่ถูกสุขลักษณะ จึงเป็นการกระท�าที่ไม่สอดคล้องกับ ข้อ ๑๐ ของกติกา ICCPR
                                                                                                            ๓๓๕
            แม้ว่าสิทธิดังกล่าวได้รับการรับรองไว้แล้วโดยกฎหมายก็ตาม
                  การด�าเนินการของรัฐเพื่อคุ้มครองและป้องกันการค้ามนุษย์ แม้มีการด�าเนินการมาอย่างต่อเนื่องและถูกจัดเป็น
            วาระแห่งชาติแต่จากรายงานการค้ามนุษย์ประจ�าปี ๒๕๖๐ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาเปิดเผยปรากฏว่า

            ประเทศไทยยังคงอยู่ในระดับ Tier 2 Watch List (ประเทศในกลุ่มที่ต้องจับตามอง) ติดต่อกันเป็นปีที่สอง โดยระบุว่า
            ประเทศไทยยังคงไม่ถึงมาตรฐานขั้นต�่าในด้านการก�าจัดการค้ามนุษย์ โดยแม้จะมีการเพิ่มการสอบสวนการบังคับใช้แรงงาน
            แต่การสอบสวนในด้านการค้ามนุษย์ยังต�่าเมื่อเทียบกับปัญหาที่เกิดขึ้น และไทยไม่ได้ด�าเนินคดีและลงโทษเจ้าหน้าที่
            ที่มีส่วนรู้เห็นในการก่ออาชญากรรมค้ามนุษย์ อย่างไรก็ตาม หลังจากการออกรายงานการค้ามนุษย์ประจ�าปี ๒๕๖๐ ของ

            สหรัฐอเมริกา ศาลอาญาแผนกคดีค้ามนุษย์ได้มีค�าพิพากษาคดีค้ามนุษย์โรฮีนจา เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ลงโทษ
            จ�าคุกจ�าเลยซึ่งมีส่วนหนึ่งที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ การมีค�าพิพากษาดังกล่าวอาจเป็นการแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีการ
            บังคับใช้กฎหมายเพื่อคุ้มครองและป้องกันการค้ามนุษย์อย่างจริงจัง







































                  ในปี ๒๕๖๐ มีการออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองและป้องกันการค้ามนุษย์ที่ส�าคัญสองฉบับ คือ พระราชบัญญัติป้องกัน  บทที่
                                                                                                                   ๖
            และปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ ๓)  พ.ศ. ๒๕๖๐ และพระราชก�าหนดการบริหารจัดการการท�างานของคนต่างด้าว
            พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ฯ เพิ่มการให้ความคุ้มครองเด็กอายุต�่ากว่า ๑๕ ปี และ
            ก�าหนดค�านิยามให้ชัดเจนและครอบคลุมมากขึ้น โดยก�าหนดให้การแสวงหาประโยชน์อันมิชอบ รวมถึงการท�าให้มีฐานะ

            คล้ายทาส การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ รวมถึงการยึดเอกสารส�าคัญประจ�าตัวและการน�าภาระหนี้สินมาเป็นสิ่งผูกมัด


            ๓๓๕  ข้อ ๑๐
                ๑. บุคคลทั้งปวงที่ถูกลิดรอนเสรีภาพต้องได้รับการปฏิบัติด้วยความมีมนุษยธรรม และความเคารพในศักดิ์ศรีแต่ก�าเนิดแห่งความเป็นมนุษย์ ...


                                                                                คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  | 177
   173   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183