Page 174 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 174
บทที่ ๖ การประเมินสถานการณ์ด้าน
สิทธิมนุษยชนใน ๕ ประเด็นร่วม
๔. การออกกฎหมาย
กฎหมายที่เกี่ยวข้องและส่งผลต่อการคุ้มครองและป้องกันการค้ามนุษย์ มีดังนี้
๔.๑ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐
พระราชบัญญัติฉบับนี้มีสาระส�าคัญ คือ การก�าหนดนิยาม ค�าว่า “แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ” และ “การบังคับ
ใช้แรงงานหรือบริการ” ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น การปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การเรียกค่าสินไหมทดแทนอันเนื่อง
มาจากการกระท�าความผิดฐานค้ามนุษย์และการก�าหนดฐานความผิดซึ่งได้กระท�าต่อเด็กที่มีอายุไม่เกินสิบห้าปี ให้ท�างาน
หรือให้บริการอันอาจเป็นอันตรายอย่างร้ายแรง และมีผลกระทบต่อร่างกายหรือจิตใจ การเจริญเติบโต หรือพัฒนาการ
ของบุคคลนั้น รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมบทก�าหนดโทษให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
๔.๒ พระราชก�าหนดการบริหารจัดการการท�างานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐
พระราชก�าหนด ฉบับนี้มีสาระส�าคัญ คือ นายจ้างที่จ้างคนต่างด้าวท�างานโดยคนต่างด้าวนั้นไม่มีใบอนุญาตท�างาน
หรือรับคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตท�างานกับตนเข้าท�างาน มีโทษปรับตั้งแต่ ๔๐๐,๐๐๐ - ๘๐๐,๐๐๐ บาท หรือนายจ้างให้
คนต่างด้าวท�างานไม่ตรงตามที่ก�าหนดไว้ในใบอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน ๔๐๐,๐๐๐ บาท ต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน
๔.๓ ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตท�างานและการอนุญาต
ให้ท�างาน ตามพระราชก�าหนดการบริหารจัดการการท�างานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๖๐
ประกาศฉบับนี้ก�าหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อให้นายจ้างและคนต่างด้าวด�าเนินการได้ถูกต้องและเพื่อ
แก้ไขข้อขัดข้องในการบริหารจัดการการท�างานของคนต่างด้าวตามพระราชก�าหนดดังกล่าว
๔.๔ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งเป็นพยานที่สืบพยานก่อนการฟ้องคดีหรือ
ระหว่างการด�าเนินคดีกับผู้กระท�าความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ อยู่
ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๐ และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การ
อนุญาตให้คนต่างด้าวบางจ�าพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ส�าหรับผู้เสียหายจากการกระท�าผิดฐานค้ามนุษย์
(ฉบับที่ ๓) ลงวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๐
ประกาศทั้งสองฉบับนี้มีสาระส�าคัญ คือ การผ่อนผันให้ผู้เสียหายและพยานในคดีค้ามนุษย์อยู่ในราชอาณาจักร
เป็นการชั่วคราวและท�างานได้ตามกฎหมายเป็นเวลาไม่เกินสองปี หลังจากพ้นสภาพการให้ความช่วยเหลือของกระทรวงการ
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตามมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑
โดยให้ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พิจารณาความเหมาะสม ในกรณีที่เป็นผู้เสียหาย หรือไม่เกิน
สองปีหลังจากมีการสืบพยานก่อนฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
พ.ศ. ๒๕๕๑ หรือสืบพยานในระหว่างการด�าเนินคดีในส่วนของตนแล้วเสร็จ โดยให้ผู้บัญชาการต�ารวจแห่งชาติพิจารณา
ความเหมาะสมในกรณีที่เป็นพยาน และให้ผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวสามารถท�างานได้ด้วย และเสนอให้
ปลัดกระทรวงมหาดไทยพิจารณาอนุญาตและก�าหนดเวลาให้คนต่างด้าวผู้นั้นอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อการท�างานต่อไป และ
ให้ไปรายงานตัวต่อนายทะเบียนอ�าเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่น เพื่อจัดท�าหรือปรับปรุงแก้ไขทะเบียนประวัติ และบัตร
ประจ�าตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร พร้อมทั้งไปขอรับใบอนุญาตการท�างานกับนายจ้างต่อนายทะเบียน และ
เมื่อการอนุญาตครบสองปี หากคนต่างด้าวไม่มีพฤติการณ์ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือ
ความมั่นคงของราชอาณาจักร หากประสงค์จะท�างานกับนายจ้างต่อไปอีกอาจขออยู่ในราชอาณาจักรได้อีกคราวละหนึ่งปี บทที่
๖
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 173