Page 175 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 175

๕. เรื่องร้องเรียนต่อ กสม.
                ผู้ร้องเป็นตัวแทนและเป็นญาติของผู้เสียหาย ซึ่งเป็นหญิงต่างด้าวและหญิงที่ถือบัตรประจ�าตัวบุคคลบนพื้นที่สูง
           กล่าวอ้างว่าเจ้าหน้าที่ได้จับกุมตัวหญิงต่างด้าวและหญิงที่ถือบัตรประจ�าตัวบุคคลบนพื้นที่สูง จ�านวน ๒๑ คน ที่ท�างานอยู่ใน
           สถานบริการ อาบ อบ นวด นาตารี ต่อมาได้ส่งฟ้องหญิงดังกล่าวต่อศาลแขวงพระนครเหนือ ในฐานความผิดเป็นคนต่างด้าวไม่

           ท�างานตามประเภทหรือลักษณะงานที่ได้รับอนุญาต และฐานความผิดเข้าไปมั่วสุมในสถานการค้าประเวณี เพื่อประโยชน์
           ในการค้าประเวณีของตนเองหรือผู้อื่น หญิงทั้งหมดให้การรับสารภาพ ศาลพิพากษาลงโทษปรับและหญิงทั้งหมดได้ช�าระ
           ค่าปรับแล้ว หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ต�ารวจได้น�าตัวส่งไปยังส�านักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่อรอการส่งตัวกลับประเทศต้นทาง
           ต่อมาพนักงานสอบสวนได้ขอให้ส�านักงานตรวจคนเข้าเมืองกักตัวไว้เป็นพยานในคดีค้ามนุษย์ ส�านักงานตรวจคนเข้าเมือง

           จึงได้ด�าเนินการกักตัวไว้ที่สถานกักตัวคนต่างด้าว ระหว่างที่ถูกกักตัวในฐานะพยานสภาพความเป็นอยู่ไม่ได้ดีขึ้นโดยเฉพาะ
           อาหารบางอย่างไม่สามารถทานได้ต้องซื้อมาทานเอง จนกระทั่งย้ายมายังบ้านพักฉุกเฉินอันอยู่ในการก�ากับของสมาคม
           ส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ สภาพความเป็นอยู่จึงดีขึ้นตามล�าดับ ๓๒๘



           ๖. ค�าพิพากษา
                ๖.๑ เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๖๐ ศาลอาญาอ่านค�าพิพากษาคดีค้ามนุษย์กรณีสถานบริการ อาบ อบ นวด นาตารี
           โดยอัยการเป็นโจทก์ฟ้องยื่นฟ้องจ�าเลยหลายรายใน (๑) ความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
           พ.ศ. ๒๕๕๑ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. ๒๕๓๙ และพระราชบัญญัติการท�างานของ

           คนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ และ (๒) ความผิดต่อพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
           พ.ศ. ๒๕๔๑ และพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ และประมวลกฎหมาย
           อาญา โดยจ�าเลยได้สมคบกันค้ามนุษย์ เป็นธุระจัดหา รับไว้ซึ่งเด็กหญิงอายุกว่า ๑๕ ปีแต่ไม่เกิน ๑๘ ปี ซึ่งเป็นชาวต่างด้าว
           จ�านวน ๘ ราย เพื่อค้าประเวณีที่สถานบริการ อาบ อบ นวด นาตารี คดีนี้จ�าเลยให้การรับสารภาพว่ากระท�าผิดจริง

           ตามฟ้องศาลพิพากษาลงโทษจ�าคุก และปรับ ๓๒๙
                ๖.๒ เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ศาลอาญาแผนกคดีค้ามนุษย์ อ่านค�าพิพากษาคดีค้ามนุษย์โรฮีนจา รวม
           ๑๑ ส�านวน โดยส�านักงานอัยการสูงสุดเป็นโจทก์ฟ้องยื่นฟ้องจ�าเลย จ�านวน ๑๐๓ คน ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาท้องถิ่น
           ผู้บริหารท้องถิ่นในขณะนั้น เจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่ต�ารวจ ทหาร พยาบาลและพลเรือน โดยทั้ง ๑๑ ส�านวน

           ถูกฟ้องในเรื่องความผิดต่อต�าแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดต่อพนักงานในการยุติธรรม ความผิดต่อชีวิต ความผิดต่อเสรีภาพ
           ความผิดต่อพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ฯ ความผิดต่อพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒
           และความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐
           โดยจ�าเลยได้ชักชวน หลอกลวงขู่บังคับชาวโรฮีนจาและชาวบังกลาเทศมายังประเทศไทยและส่งไปประเทศมาเลเซีย

           โดยหลอกลวงว่าจะสามารถส่งไปท�างานที่ประเทศมาเลเซีย การขนส่งมีทั้งขนส่งคนที่สมัครใจ และใช้ก�าลัง หรือใช้อาวุธปืน
           ข่มขู่บังคับคนที่ไม่สมัครใจให้ไป ซึ่งบางคนเป็นเด็กอายุไม่เกิน ๑๕ ปี คดีนี้อัยการทยอยฟ้องมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ และ
           ศาลพิพากษาลงโทษจ�าเลย ๖๒ ราย ยกฟ้อง ๔๐ ราย จ�าคุกสูงสุด ๗๘ ปี จ่ายเงินชดเชยเหยื่อกว่าสี่ล้านห้าแสนบาท ค�าพิพากษา
           ดังกล่าวเป็นค�าพิพากษาของศาลชั้นต้น ๓๓๐










           ๓๒๘  รายงานผลการตรวจสอบ เรื่อง สิทธิสตรีอันเกี่ยวเนื่องกับสิทธิพลเมือง กรณีกล่าวอ้างว่า หญิงต่างด้าวที่ท�างานในสถานบริการถูกกักตัวที่ส�านักงานตรวจคนเข้าเมือง ท�าให้ได้รับความเดือด
              ร้อน, โดย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, ๒๕๖๐, กรุงเทพฯ: ส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. ที่ ๗๓/๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ เรื่อง สิทธิสตรีอันเกี่ยว
              เนื่องกับสิทธิพลเมือง กรณีกล่าวอ้างว่า หญิงต่างด้าวที่ท�างานในสถานบริการถูกกักตัวที่ส�านักงานตรวจคนเข้าเมือง ท�าให้ได้รับความเดือดร้อน.
           ๓๒๙  จาก เฮียบอล อ่วม! คุก ๑๑ ปี คดี “นาตารี”ค้ากามเด็ก – ต่างด้าว, โดย กรุงเทพธุรกิจ, ๒๕๖๐. สืบค้นจาก www.bangkokbiznews.com/news/detail/750878
           ๓๓๐  จาก ศาลลงดาบ ๖๒ คนคดีค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญา คุกสูงสุด ๗๘ ปี จ่ายชดเชยราว ๔ ล้าน ๕ แสนบาท, โดยประชาไท, ๒๕๖๐. สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal/2017/07/72493


           174 |  รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐
   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180