Page 173 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 173

๓. ความเห็นของคณะกรรมการประจ�าสนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชน
                ๓.๑ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (คณะกรรมการประจ�ากติกา ICCPR)      ๓๒๕
                     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เห็นว่า ปัญหาการค้ามนุษย์และการใช้แรงงานบังคับ ส่งผลให้
           เกิดปัญหาที่ส�าคัญหลายประการ โดยเฉพาะการแสวงหาประโยชน์ทางเพศ การประมง การเกษตร และการท�างานบ้าน

           ทั้งยังกังวลกรณีผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ถูกส่งตัวกลับประเทศโดยไม่ผ่านการคัดกรองอย่างเป็นผล และกังวลเกี่ยวกับการ
           สอบปากค�าผู้เสียหายล่วงหน้า เพียงเพื่อสนับสนุนการส่งตัวกลับประเทศโดยทันที และเสนอว่าประเทศไทยควรเพิ่มความ
           พยายามในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ และการใช้แรงงานบังคับอย่างเป็นผล รวมทั้งเพิ่มมาตรการในเชิงป้องกัน
           เพิ่มความพยายามในการจ�าแนกสถานะผู้เสียหาย การสอบสวนอย่างเป็นระบบตามข้อกล่าวหาและข้อร้องเรียน การฟ้องร้อง

           ด�าเนินคดีและลงโทษผู้มีส่วนรับผิดชอบ และจัดให้ผู้เสียหายได้รับการคุ้มครองอย่างเป็นผล ได้รับการช่วยเหลือและ
           การเยียวยา รวมทั้งพัฒนาระบบการคัดกรองและกระบวนการสอบปากค�าผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์


                ๓.๒ คณะกรรมการประจ�ากติกา ICESCR   ๓๒๖

                     คณะกรรมการประจ�ากติกา ICESCR ยินดีต่อการออกพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑
           แต่กังวลเกี่ยวกับปัญหาการค้ามนุษย์ที่ยังเกิดขึ้นกับผู้หญิงและเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการใช้ประโยชน์ทางเพศ
           และการใช้แรงงานบังคับ รวมทั้งการที่เจ้าพนักงานผู้บังคับใช้กฎหมายสามารถจ�าแนกเหยื่อการค้ามนุษย์ได้อย่างจ�ากัด



                ๓.๓ คณะกรรมการประจ�าอนุสัญญา CEDAW     ๓๒๗
                     คณะกรรมการประจ�าอนุสัญญา CEDAW ยินดีต่อความก้าวหน้าที่ประเทศไทยปฏิรูปกฎหมายและแก้ไข
           พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ในปี ๒๕๕๑ ปี ๒๕๕๘ และปี ๒๕๖๐ แต่กังวลเรื่องการบริการและการให้ความ
           ช่วยเหลือแก่ผู้ประสบปัญหาความรุนแรงด้วยเหตุจากเพศภาวะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้ประสบปัญหาจากการค้ามนุษย์

           ในการแสวงหาประโยชน์ทางเพศหรือด้านแรงงาน และผู้ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัว และกังวลเกี่ยวกับการ
           คัดแยกผู้เสียหายกรณีการค้ามนุษย์อย่างไม่มีประสิทธิภาพในทางปฏิบัติ






























           ๓๒๕  จาก ข้อสังเกตสรุปรวม (Concluding observations) ต่อรายงานตามวาระฉบับที่สองของประเทศไทย, โดย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนประจ�ากติกา ICCPR, ๒๕๖๐. สืบค้นจาก www.
              fidh.org/IMG/pdf/ccpr_c_tha_co_2_27020_th.pdf
           ๓๒๖  จาก ข้อสังเกตเชิงสรุปเกี่ยวกับรายงานตามระยะฉบับที่หนึ่งและฉบับที่สองของประเทศไทย (E/C.12/THA/CO/1-2), โดย คณะกรรมการว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม,
              ๒๕๕๘. สืบค้นจากhttps://voicefromthais.files.wordpress.com
           ๓๒๗  จาก ข้อคิดเห็นโดยสรุปต่อการรายงานตามวาระของประเทศไทยที่รวมรายงานครั้งที่ ๖ และครั้งที่ ๗ (CEDAW/C/THA/CO/6-7), โดย คณะกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี, ๒๕๖๐.
              สืบค้นจาก www.fidh.org/.../thailand_cedaw_concluding_observations_july_2017_th.pdf


           172 |  รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐
   168   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178