Page 171 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 171

บทที่ ๖ การประเมินสถานการณ์ด้าน

           สิทธิมนุษยชนใน ๕ ประเด็นร่วม








                               ในปี  ๒๕๖๐  กสม.  เลือกประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเด็นร่วม

                         โดยพิจารณาจากการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน  การขับเคลื่อนนโยบายที่เป็นวาระแห่งชาติ
                         ตลอดจนแผนยุทธศาสตร์ของ กสม. ในระหว่างปี ๒๕๖๐ - ๒๕๖๕ ซึ่งล้วนมีประเด็นร่วม
                         (cross-cutting issues) ในหลักตัวชี้วัด (indicators) ตามหน้าที่ของรัฐ (obligations)
                         ที่ต้องให้ความเคารพ (respect) การคุ้มครอง (protect) และด�าเนินการให้เกิดขึ้นจริง
                         (fulfill) ตามมาตรฐานที่ก�าหนดไว้ในกติกา ICCPR อนุสัญญา CAT และอนุสัญญา CPED

                         และหลักเกณฑ์ (benchmarks) ตามสิ่งที่รัฐพึงเคารพ ให้การคุ้มครอง และด�าเนินการ
                         ให้เกิดขึ้นตามมาตรฐานที่ก�าหนดไว้ (progressive realization of rights) ตามกติกา
                         ICESCR โดยเน้นความส�าคัญ หรือความต้องการเฉพาะของบุคคลแต่ละกลุ่มเทียบเคียงใน

                         สนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ ที่ประเทศไทยเป็นภาคี และมีมิติเฉพาะที่เชื่อมโยง
                         กับกลุ่มบุคคลต่าง ๆ โดยประมวลภาพรวม พร้อมประเมินสถานการณ์ ปัญหา อุปสรรค
                         และมีข้อเสนอแนะด้านสิทธิมนุษยชนใน ๕ ประเด็นร่วม ดังนี้




           ๖.๑ สถานการณ์การค้ามนุษย์



           ภาพรวม



                ตราสารระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีหลายฉบับรับรองสิทธิการมีชีวิตอยู่ ห้ามบุคคลมิให้ถูกกระท�าทรมาน
           ตกอยู่ในภาวะเยี่ยงทาส ถูกจับกุมตามอ�าเภอใจ บังคับใช้แรงงาน และคุ้มครองบุคคลจากการถูกแสวงหาประโยชน์
           ทางเศรษฐกิจและทางเพศ  เป็นต้น การค้ามนุษย์จึงขัดกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยให้การรับรอง
                                ๓๒๐


           ๑.เหตุการณ์การค้ามนุษย์
                การค้ามนุษย์มีหลายรูปแบบ ทั้งการค้าประเวณีหรือขายบริการทางเพศ การบังคับใช้แรงงาน การบังคับเป็นขอทาน
           และการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ ซึ่งในปี ๒๕๖๐ มีกรณีตัวอย่าง เช่น
                ๑.๑ หญิงไทยถูกหลอกลวงไปบังคับค้าประเวณี ณ สาธารณรัฐเกาหลี โดยบอกว่าจะพาไปท�างานนวดแผนไทย

           แต่เมื่อเดินทางไปถึงสาธารณรัฐเกาหลีกลับถูกบังคับให้ค้าประเวณีอย่างทารุณ รวมทั้งยึดหนังสือเดินทางและกักขังโดยมีบุคคล
           ควบคุมอยู่ตลอดเวลา เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ เจ้าหน้าที่ต�ารวจสาธารณรัฐเกาหลีได้เข้าช่วยเหลือผู้เสียหายและ
           จับกุมผู้ต้องหาชาวเกาหลี ๓๒๑
                ๑.๒. เด็กอายุไม่เกิน ๑๘ ปี ถูกน�ามาขายบริการทางเพศในสถานบริการ วีทู อาบอบนวด ซึ่งส�านักงานป้องกันและ

           ปราบปรามการค้ามนุษย์ร่วมกับเจ้าหน้าที่ต�ารวจเริ่มติดตามจากเฟชบุ๊ค ชื่อ อัมมาราบี (Amara Bee) ก่อนจับกุมเจ้าของเพจ

           ๓๒๐  กติกา ICCPR อนุสัญญา CAT อนุสัญญา CEDAW อนุสัญญา CRC และพิธีสารเพื่อป้องกัน ปราบปราม และลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก เพิ่มเติมอนุสัญญาสหประชาชาติ
              เพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร
           ๓๒๑  จาก DSI รวบแก๊งค้ามนุษย์ลวงสาวไทยค้ากามแดนกิมจิ บังคับมีเซ็กซ์ประตูหลัง, โดย ไทยรัฐออนไลน์,  ๒๕๖๐. สืบค้นจาก www.thairath.co.th/content/1042252


           170 |  รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐
   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176