Page 122 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 122
บทที่ ๔ การประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม
และวัฒนธรรม
• การเข้าถึงสิทธิในการรับบริการสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ในกลุ่มวัยรุ่น คณะกรรมการประจ�า
กติกา ICESCR มีข้อกังวลเกี่ยวกับอัตราการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นและการท�าแท้งที่ไม่ปลอดภัยซึ่งยังมีสัดส่วนสูง ในขณะที่
วัยรุ่นเข้าถึงการบริการสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ได้อย่างจ�ากัด โดยมีข้อเสนอแนะให้ประเทศไทยหามาตรการ
ป้องกันเพื่อแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น รวมถึงประกันการเข้าถึงสิทธิในการรับบริการสุขภาพทางเพศและอนามัย
เจริญพันธุ์ อนึ่ง กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัยร่วมกับส�านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ด�าเนินการตาม
๑๗๕
แผนการป้องกันและการแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ภายใต้ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์
ในวัยรุ่น พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๗ ของพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยมี
เป้าหมายลดอัตราการคลอดของวัยรุ่นอายุ ๑๐ - ๑๔ ปี ให้ไม่เกิน ๐.๕ คนต่อประชากรหญิงอายุ ๑๐ - ๑๔ ปี ๑,๐๐๐ คน และ
วัยรุ่นอายุ ๑๕ - ๑๙ ปี ให้ไม่เกิน ๒๕ คนต่อประชากรหญิงอายุ ๑๕-๑๙ ปี ๑,๐๐๐ คน ในปี ๒๕๖๙ โดยในปี ๒๕๖๐ กลุ่ม
๑๗๖
วัยรุ่นสามารถเข้าถึงการบริการสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ได้ ซึ่งเป็นสิทธิตามระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
โดยวัยรุ่นสามารถเข้ารับบริการคุมก�าเนิดกึ่งถาวรโดยปราศจากค่าใช้จ่ายจากหน่วยบริการของหลักประกันสุขภาพ
แห่งชาติทุกแห่งทั่วประเทศ ๑๗๗
• การเข้าถึงสิทธิในการรับบริการด้านสุขภาพและปัญหาทุพโภชนาการในสถานที่กักขังและเรือนจ�า
คณะกรรมการกติกา ICESCR มีข้อกังวลเกี่ยวกับกลุ่มผู้แสวงหาที่พักพิง ผู้ลี้ภัย และผู้เข้าเมืองผิดกฎหมาย ในประเด็น
ดังกล่าว ซึ่งคณะกรรมการกติกา ICCPR ได้มีข้อเสนอแนะให้ประเทศไทยปรับปรุงสภาพแวดล้อมในสถานที่กักขังและ
๑๗๘
เรือนจ�าให้สอดคล้องกับข้อก�าหนดขั้นต�่าขององค์การสหประชาชาติในการปฏิบัติต่อผู้ต่อขัง (United Nations Standard
Minimum Rules for the Treatment of Prisoners - Nelson Mandela Rules) ทั้งนี้ มีเพียงกว่าร้อยละ ๘๐ และ
๑๗๙
ร้อยละ ๒.๓ ของผู้ต้องขังในเรือนจ�าเข้าถึงสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและระบบประกันสังคมตามล�าดับ แต่
กว่าร้อยละ ๑๕ ของผู้ต้องขังยังไม่ได้อยู่ในระบบประกันสุขภาพใด ๆ กระทรวงสาธารณสุขได้ด�าเนินการพัฒนาระบบงาน
๑๘๐
บริการสุขภาพผู้ต้องขังในเรือนจ�า โดยบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาล
ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เรือนจ�าในพื้นที่กรมราชทัณฑ์ ส�านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และมียุทธศาสตร์ บทที่
๑๘๑
การพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔ ให้ครอบคลุมกลุ่มผู้ต้องขังในเรือนจ�าโดยมีระบบ ๔
การดูแลสุขภาพให้กับผู้ต้องขังในเรือนจ�า โดยมีเรือนจ�าจังหวัดนครราชสีมาเป็นตัวอย่างการด�าเนินงานที่เป็นรูปธรรม
๑๘๒
ของระบบการดูแลสุขภาพและการแก้ไขปัญหาวัณโรคในเรือนจ�าซึ่งจะน�าไปเป็นรูปแบบส�าหรับเรือนจ�าทั่วประเทศได้ ๑๘๓
• การเข้าถึงสิทธิในการรับบริการด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติด ผู้ติดเชื้อ เอชไอวี/เอดส์ และไวรัสตับ
อักเสบ คณะกรรมการกติกา ICESCR ได้มีข้อกังวลเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว โดยเฉพาะจ�านวนผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์
และไวรัสตับอักเสบที่มีจ�านวนเพิ่มมากขึ้น โดยได้มีข้อเสนอแนะให้ประเทศไทยน�าแนวทางด้านสิทธิมนุษยชนมาใช้ในการ
แก้ปัญหา อย่างไรก็ดี ประเทศไทยได้บรรลุเป้าหมายในการลดอัตราการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวี และซิฟิลิสจากมารดาสู่ลูก
๑๘๔
๑๗๕ Para 30 United Nations Economic and Social Council E/C.12/THA/CO/1-2 19June 20
๑๗๖ ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๗ ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. ๒๕๕๙ บทสรุปผู้บริหาร
หน้า ๑-๓ สืบค้นจาก http://rh.anamai.moph.go.th/download/all_file/index/actionplan_tp/พรบ_ยุทธศาสตร์.pdf
๑๗๗ สืบค้นจากแหล่ง www.komchadluek.net/news/edu-health/298765
๑๗๘ Para 28 United Nations Economic and Social Council E/C.12/THA/CO/1-2 19June 2015
๑๗๙ Para 29 and 33 International Covenant on Civil and Political Rights CCPR/C/THA/CO/2 25 April 2017
๑๘๐ https://prachatai.com/journal/2017/07/72416
๑๘๑ นโยบายการจัดบริการสุขภาพส�าหรับผู้ต้องขังในเรือนจ�า ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ สืบค้นจาก www.correct.go.th/meds/index/Download/pattaya59/
นโยบายการจัดบริการสุขภาพส�าหรับผู้ต้องขังในเรือนจ�าตามมติคณะรัฐมนตรี.pdf
๑๘๒ ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔) ส�านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สืบค้นจาก www.hfocus.org/content/2017/08/14464
๑๘๓ สืบค้นจาก www.hfocus.org/content/2017/08/14464
๑๘๔ Para 32 United Nations Economic and Social Council E/C.12/THA/CO/1-2 19June 2015
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 121