Page 124 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 124
บทที่ ๔ การประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม
และวัฒนธรรม
• การเข้าถึงสิทธิในการรับบริการสาธารณสุขของรัฐ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เพื่อด�าเนินการพัฒนาความก้าวหน้าสิทธิด้านสุขภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ หมวด ๖
แนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา ๖๕ วรรคสอง ประกอบบทเฉพาะกาลมาตรา ๒๗๕ การจัดระบบสุขภาพที่เน้นระบบบริการปฐมภูมิ
โดยมีนโยบายให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในระบบบริการปฐมภูมิ การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
โดยจัดท�าร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติการกลับเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. ....
การน�าเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพมาใช้พัฒนาปรับปรุงระบบการบริการ การวางแผนบุคลากรด้านสุขภาพ การมี
มาตรการเข้าถึงปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ (health determinants) เพื่อปกป้องสุขภาพเด็กและทารกผ่านพระราชบัญญัติ
ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารส�าหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งประชาชนจะได้
เข้าถึงสิทธิทางข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพเพื่อเกิดทางเลือกที่เหมาะสมอันน�าไปสู่สิทธิในอาหาร
• การประกันสิทธิในการเข้าถึงการบริการสาธารณสุขของรัฐ ให้กับประชากรกว่าร้อยละ ๙๙ ของประชากร
ทั้งหมดของประเทศ ภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health Coverage - UHC) ตามสิทธิของตนเอง
ซึ่งได้แก่ ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบบประกันสังคม และระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ รวมถึง
ได้ประกันการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของรัฐในกรณีฉุกเฉินและกรณีอุบัติเหตุภายใน ๗๒ ชั่วโมงแรกที่ไม่มีการเก็บค่าใช้จ่าย
กับผู้ป่วย โดยส�านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะเป็นคนกลางในการจ่ายเงินให้โรงพยาบาลรัฐและเอกชนที่เข้าร่วม
ระบบ Emergency Claim Online : EMCO) และเรียกเก็บเงินคืนจากกองทุนตามสิทธิของผู้ป่วยในภายหลัง รวมถึง
กลุ่มผู้ป่วยด้านจิตเวช กลุ่มเปราะบาง และกลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึงบริการต่าง ๆ ให้มีโอกาสในการเข้าถึงสิทธิที่ดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศไทยจะมีการพัฒนาสิทธิด้านสุขภาพอย่างมีความเพียงพอกับความต้องการ (availability)
เป็นที่ยอมรับได้ (acceptability) และมีคุณภาพ (quality) โดยล�าดับแล้วก็ตาม แต่พบปัญหาและอุปสรรคในเชิงโครงสร้าง
คือ การเข้าถึงได้ (acceptability) โดยมีมิติความเหลื่อมล�้าในการเข้าถึงได้เชิงกายภาพ เศรษฐกิจ และข้อมูลข่าวสาร และ
การไม่เลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะกับกลุ่มคนเปราะบาง กลุ่มคนชายขอบ และกลุ่มคนที่ยังเข้าไม่ถึงบริการ แม้ว่ารัฐจะมีนโยบาย
และมาตรการต่าง ๆ ที่จะท�าให้เกิดความก้าวหน้าข้างต้น แต่ยังมีในบางประเด็นและในบางพื้นที่ที่รัฐจ�าเป็นต้องพัฒนาอย่าง บทที่
ต่อเนื่องเพื่อแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับพันธกรณีที่มี เช่น การเข้าถึงสิทธิด้านอนามัยเจริญพันธุ์ผ่านระบบหลักประกัน ๔
สุขภาพแห่งชาติของกลุ่มวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ การสาธารณสุขในสถานกักขังและเรือนจ�าโดยพัฒนาระบบงานบริการสุขภาพ
ผู้ต้องขังในเรือนจ�า และการให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
ครั้งที่ ๑๐ การใช้สารเคมีป้องกันและจ�ากัดศัตรูพืชซึ่งจะเกิดผลกระทบต่อปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ เป็นต้น
ข้อเสนอแนะ
กสม. มีข้อเสนอแนะให้รัฐบาลด�าเนินการปฏิรูปด้านสาธารณสุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
๒๕๖๐ ดังนี้
• ระบบหลักประกันสุขภาพ โดยเร่งด�าเนินการแก้ไขพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ....
การจัดท�าร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. …. และการให้คณะกรรมการปฏิรูปด้านสาธารณสุข
พิจารณาข้อเสนอของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สภาขับเคลื่อน
การปฏิรูปประเทศ เกี่ยวกับการออกกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับการก�าหนดหลักเกณฑ์และแนวทางในการก�าหนดรายการในชุด
สิทธิประโยชน์หลักและชุดสิทธิประโยชน์เสริม เพื่อลดความเหลื่อมล�้าในการเข้าถึงสิทธิในการรับบริการสาธารณสุขของรัฐ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 123