Page 123 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 123

เหลือต�่ากว่าร้อยละ ๒ เนื่องจากกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีสามารถเข้าถึงการรับบริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้
                                                                                                          ๑๘๕
           ในส่วนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด กระทรวงสาธารณสุขได้มีแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขายาเสพติด
           ให้ผู้เสพยาสามารถเข้าถึงการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐจ�านวน ๙๙๗ แห่งทั่วประเทศ โดยถือว่าการติดยาเสพติดเป็น
           ปัญหาทางสุขภาพ  และในปี ๒๕๖๐ มีข้อมติของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการป้องกันและ
                          ๑๘๖
           แก้ไขปัญหายาเสพติด ซึ่งเป็นนโยบายสาธารณะที่ส�าคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่ไม่ได้จ�ากัดเพียงการรักษาพยาบาล
           ผู้เสพยาในสถานพยาบาลเท่านั้น แต่ยังเน้นบทบาทของชุมชนในการมีส่วนร่วม โดยมีพื้นที่ต�าบลท่าฉนวน อ�าเภอกงไกรลาศ
           จังหวัดสุโขทัยเป็นตัวอย่างผลการปฏิบัติงานที่ดี (best practice)
                                                                ๑๘๗


                •  ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ (health determinants) การเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพมิได้จ�ากัดเพียงการเข้าถึงสิทธิ
           ในการรับการรักษาพยาบาลเท่านั้น แต่ได้ขยายไปยังปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ ซึ่งหลายกรณีเชื่อมโยงไปยังสิทธิในอาหาร
           ได้แก่ การใช้สารเคมีป้องกันและก�าจัดศัตรูพืช มาตรการและสภาพแวดล้อมที่เป็นกิจกรรมการโฆษณาอาหารที่เกี่ยวกับ
           สุขภาพ โดยเฉพาะสารอาหารทดแทนนมแม่ โดยในปี ๒๕๖๐ สิทธิด้านสุขภาพเกิดความถดถอยในมิติของปัจจัยที่มีผลต่อ

           สุขภาพ เนื่องจากพบว่า ในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๐ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ต่อทะเบียน
           ใบอนุญาตให้สามารถใช้สารเคมีพาราควอต  ต่อไปอีก ๖ ปี  ซึ่งสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๕๕) ได้มี
                                                             ๑๘๙
                                              ๑๘๘
           ข้อมติเกี่ยวกับความปลอดภัยทางอาหาร : การแก้ไขปัญหาจากสารเคมีจ�ากัดศัตรูพืช และข้อมติเกี่ยวกับการพัฒนากลไก
           และกระบวนการที่สามารถรับมือผลกระทบด้านสุขภาพจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนโดยเฉพาะอาหารและสินค้าเกษตร

           ที่เป็นอาหาร  โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ท�าการขับเคลื่อนข้อมติดังกล่าวร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน
                     ๑๙๐
           นักวิชาการ และภาคประชาสังคมอย่างต่อเนื่อง มีการจัดท�าร่างพระราชบัญญัติควบคุมสารเคมีเกษตร พ.ศ. .... เพื่อเสนอให้
           แยกการควบคุมวัตถุอันตรายประเภทสารเคมีการเกษตรออกจากวัตถุอันตรายทั่วไป และแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อน
           ปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันก�าจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวได้มีมติเมื่อเดือนเมษายน ๒๕๖๐

           เสนอรัฐบาลให้ยกเลิกการใช้พาราควอตเพราะมีข้อมูลเชิงวิชาการยืนยันว่า สารเคมีกลุ่มนี้ท�าให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพได้
           โดยส�านักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จะท�าหนังสือคัดค้านการต่ออายุใบอนุญาตให้ใช้สารพาราควอตไปยัง
           กรมวิชาการการเกษตร และกรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นเลขานุการคณะกรรมการวัตถุอันตรายที่เป็นผู้ต่ออายุสาร
           ดังกล่าว ๑๙๑



           การประเมินสถานการณ์ ปัญหาและอุปสรรค


                สถานการณ์สิทธิด้านสุขภาพโดยภาพรวม อาจกล่าวได้ว่า ในปี ๒๕๖๐ รัฐบาลได้มีนโยบายและมาตรการต่าง ๆ

           ในการประกันสิทธิในสุขภาพ และมีความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะด�าเนินการเพื่อบรรลุมาตรฐานสูงสุดที่เป็นไปได้
           (the highest attainable standard of health) ในการจัดบริการด้านสาธารณสุขอย่างเพียงพอกับความต้องการของ
           ประชาชน และข้อ ๑๒ ของกติกา ICESCR โดยในปี ๒๕๖๐ รัฐได้มีการด�าเนินการให้เกิดความก้าวหน้าในสิทธิด้านสุขภาพ
           หลายประการเพื่อเอื้ออ�านวยการ ดังต่อไปนี้



           ๑๘๕  www.hfocus.org/content//2017/01/3243
           ๑๘๖  แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขายาเสพติด สืบค้นจาก www.thanyarak.go.th/thai/index.php?option=com_content&task=view&id=1895&Itemid=126
           ๑๘๗  การประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๙
           ๑๘๘  กลุ่มสารเคมีพาราควอต จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ ๓ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยสารเคมีกลุ่มดังกล่าวจะต้องมีการขอขึ้นทะเบียน
              วัตถุอันตราย มีใบอนุญาตและได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะน�าเข้าได้ มีสถานที่เก็บรักษาตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตรายและประกาศกระทรวง และต้องยื่นแจ้งก่อนน�าเข้า
              รวมถึงใบอนุญาตมีอายุ และมีเงื่อนไขก�ากับการอนุญาต
           ๑๘๙  www.prachachat.net/economy/news-74034
           ๑๙๐  ข้อมติสมัชชาสุขภาพ เป็นนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม (Participatory Health Public Policy) โดยเป็นผลจากกระบวนการสมัชชาสุขภาพ ซึ่งเป็นเครื่องมือพัฒนานโยบาย
              สาธารณะที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ซึ่งเกิดขึ้นตาม ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐
           ๑๙๑  www.nationalhealth.or.th/node/2304

           122 |  รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐
   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128