Page 49 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 49

แนวคิดและกลไกสิทธิมนุษยชน


                        ในอาเซียน







                  บทที่  ๔  เป็นการวิเคราะห์แนวคิดและกลไกสิทธิมนุษยชนในอาเซียนซึ่งเป็นที่มาส�าคัญในการพัฒนาตราสาร

          ด้านสิทธิมนุษยชนส�าหรับอาเซียนซึ่งจะได้กล่าวถึงในรายละเอียดต่อไปในบทที่ ๕ โดยเนื้อหาของบทที่ ๔ นี้แบ่งออกเป็น
          สองส่วน คือ ในส่วนแรกวิเคราะห์พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดจากกฎบัตรอาเซียน และในส่วนที่สองว่าด้วยกลไก
          สิทธิมนุษยชนในอาเซียนซึ่งมีสองกลไกหลัก คือ คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและ

          คณะกรรมาธิการอาเซียนและคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก


                  ๔.๑ กฎบัตรอาเซียน



                       กฎบัตรอาเซียน  (ASEAN  Charter)  ซึ่งเสมือนเป็นรัฐธรรมนูญที่วางโครงสร้างและกรอบแนวทางการ
          ท�างานของอาเซียน โดยได้มีการบรรจุหลักการสิทธิมนุษยชนไว้เป็นหนึ่งในค่านิยมพื้นฐานหลักของการก่อตั้งประชาคม

          อาเซียน หลักการสิทธิมนุษยชนปรากฏอยู่ในกฎบัตรอาเซียน หมวดที่ ๑ เรื่องวัตถุประสงค์และหลักการ มาตราที่ ๑.๗ ซึ่ง
          ระบุว่า “เพื่อเสริมสร้างประชาธิปไตย เพิ่มพูนธรรมาภิบาล และหลักนิติธรรม ตลอดจนส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

          และเสรีภาพขั้นพื้นฐานโดยค�านึงถึงสิทธิและหน้าที่ของรัฐสมาชิกของอาเซียน” และหมวดที่ ๒ เรื่องหลักการ มาตราที่ ๒ (i)
          “การเคารพเสรีภาพพื้นฐาน การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและการส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคม” การรวมเอา
          หลักการสิทธิมนุษยชนไว้ในกฎบัตรอาเซียนสะท้อนให้เห็นถึงการตระหนักถึงความส�าคัญของสิทธิมนุษยชนในฐานะ

          องค์ประกอบส�าคัญของการอยู่ร่วมกันภายใต้ประชาคมที่มีความหลากหลาย ทั้งด้านเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา สังคม วัฒนธรรม
          และการเมือง การเคารพสิทธิเสรีภาพของบุคคลโดยรัฐ หรือระหว่างบุคคลด้วย จึงเป็นเงื่อนไขที่จ�าเป็นอย่างยิ่งที่จะผสาน

          ความแตกต่างหลากหลายของคนในประชาคมไว้ได้ด้วยกัน






        48
               ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54