Page 39 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 39
ประชาคมอาเซียน
บทที่ ๓ เป็นการน�าเสนอข้อมูลของประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ซึ่งเป็นที่มาของการศึกษา
ประเด็นกลไกสิทธิมนุษยชน ข้อมูลเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนในส่วนนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อน�าไปสู่เนื้อหาหลักในเรื่อง
กลไกสิทธิมนุษยชนในบทต่อ ๆ ไป โดยแหล่งข้อมูลอย่างเป็นทางการของประชาคมอาเซียน คือ เว็บไซต์ของประชาคม
24
ที่ www.asean.org ประเด็นที่ส�าคัญ คือ นับตั้งแต่วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นมา อาเซียนได้เข้าสู่การเป็น
ประชาคมอย่างเต็มรูปแบบ และสมาชิกของประชาคมอาเซียนมีความผูกพันต้องด�าเนินการตามพันธกรณีในด้านต่าง ๆ
ของอาเซียนซึ่งมิได้มีเพียงประเด็นทางด้านเศรษฐกิจผ่านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community:
AEC) เท่านั้น แต่ยังมีประเด็นความร่วมมือในด้านการเมืองและความมั่นคง และด้านสังคมและวัฒนธรรมผ่านประชาคม
การเมืองและความมั่นคง (ASEAN Political-Security Community: APSC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN
Socio-Cultural Community: ASCC) อีกด้วย
๓.๑ ประวัติความเป็นมา
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน ถือก�าเนิดเมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๑๐ ที่
กรุงเทพ โดยการลงนามร่วมกันของสมาชิกห้าประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย ในปฏิญญา
อาเซียนหรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าปฏิญญากรุงเทพ หลังจากที่มีการลงนามในปฏิญญาดังกล่าว จ�านวนสมาชิกของอาเซียน
24 ข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับประเทศไทยและอาเซียน สืบค้นได้จาก http://www.mfa.go.th/asean/th/home
38
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ