Page 40 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 40
พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
Human Rights Obligations of the ASEAN Community
เพิ่มจ�านวนขึ้นตามระยะเวลา โดยบรูไน ดารุสซาลามเข้าเป็นสมาชิกในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ เวียดนามในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ลาว
ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ และกัมพูชาเป็นสมาชิกประเทศล่าสุดได้เข้าร่วมเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๒ จนถึงปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิกจ�านวน
25
๑๐ ประเทศ และมีจ�านวนประชากรรวมกว่า ๖๒๒ ล้านคน (ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘) ทั้งนี้ ในตราสาร
แรกเริ่มของอาเซียนคือปฏิญญากรุงเทพมิได้มีการกล่าวถึง “สิทธิมนุษยชน” ดังเช่นตราสารจัดตั้งองค์กรของภูมิภาคอื่นที่
ได้กล่าวถึงในบทที่ ๒ แต่มีการก�าหนดหลักการดังกล่าวเป็นครั้งแรกในกฎบัตรอาเซียนที่มีผลใช้บังคับในปี พ.ศ. ๒๕๕๑
จ�านวนสมาชิกของอาเซียน ๑๐ ประเทศที่มีในปัจจุบันสามารถเพิ่มขึ้นได้ตามเงื่อนไขที่ก�าหนดในกฎบัตร
อาเซียนซึ่งมีหลักการที่ส�าคัญ ๒ ประการ คือ ประเทศที่จะเข้าเป็นสมาชิกต้องมีที่ตั้งอยู่ในเขตภูมิศาสตร์เอเชียตะวันออก
26
เฉียงใต้ และการได้รับความเห็นชอบโดยฉันทามติของประเทศสมาชิกปัจจุบันทั้ง ๑๐ ประเทศ ทั้งนี้ ปัจจุบันมีประเทศ
ที่ได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์ (Observer) ของอาเซียนสองประเทศ คือ ปาปัวนิวกินี (Papua New Guinea) และ
ติมอร์เลสเต (Timor-Leste) 27
รูปภาพที่ ๑ ประชาคมอาเซียนและประเทศสมาชิก
(ที่มา: http://gebrakdunia.hicam.net/asean-maps.html)
25 From Table 1 ASEAN Statistics Selected basic ASEAN indicators as of August 2015. สืบค้นจาก http://www.
asean.org/storage/2015/09/selected_key_indicators/table1_as_of_Aug_2015.pdf
26 มาตรา ๖ แห่ง กฎบัตรอาเซียน
27 From Memorandum of Understanding on the Association of Southeast Asian Nations. Retrieved from
http://asean.org/wp-content/uploads/images/archive/transport/MOU%20on%20ASEANs%20Air%20Services%20
Engagement%20with%20Dialgoue%20Partners.pdf
39
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ