Page 28 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
P. 28

ความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม
                                                                    เพื่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน





                         สิทธิส่วนใหญ่ที่พบในอนุสัญญาว่าด้วยสิ่งแวดล้อม ได้แก่ สิทธิเชิงกระบวนการ โดยตัวอย่างแห่งสิทธิที่

            ปรากฏอยู่ชัดเจนในอนุสัญญาว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร  การมีส่วนร่วมสาธารณะในการตัดสินใจ  และการเข้าถึง
            ความยุติธรรมในคดีสิ่งแวดล้อม ค.ศ. ๑๙๙๘ (Aarhus Convention 1998) ซึ่งได้จัดท�าขึ้นโดยสมาชิกในสหภาพยุโรป

            ณ เมืองอาฮัส ประเทศเดนมาร์ก สิทธิเชิงกระบวนการในอนุสัญญาฉบับนี้ที่ได้ประกันไว้ ได้แก่ สิทธิในการเข้าถึงข้อมูล
            ด้านสิ่งแวดล้อม (Right to Access to Information) สิทธิในการมีส่วนร่วมของสาธารณะในกระบวนการตัดสินใจด้าน
            สิ่งแวดล้อม (Right to Public Participation in Decision - making) และสิทธิในการเข้าถึงความยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อม

            (Right to Environmental Justice) นอกจากนี้ สิทธิเชิงกระบวนการยังพบในอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพ
            ภูมิอากาศ และอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น
                         ส�าหรับสิทธิเชิงเนื้อหานั้น จะปรากฏในลักษณะของหลักการ โดยถูกกล่าวถึงไว้อย่างชัดเจนในปฏิญญา

            กรุงสตอกโฮล์ม ซึ่งมีใจความว่า “มนุษย์มีสิทธิในเสรีภาพ ความเท่าเทียมกัน และคุณภาพชีวิตที่ดีเพียงพอในสิ่งแวดล้อมที่
            มีคุณภาพ” (Man has the Fundamental Right to Freedom, Equality and Adequate Conditions of Life, in
            an Environment of a Quality that Permits a Life of Dignity and Well-Being…) และในปฏิญญากรุงริโอได้มีการ

            กล่าวถึงสิทธิของมนุษย์ในสิ่งแวดล้อมเช่นกัน  แต่จะผูกโยงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดการพัฒนา
            ที่ยั่งยืน และมีการกล่าวถึงสิทธิของชนรุ่นหลังในสิ่งแวดล้อมไว้ด้วย ทั้งนี้ สิทธิเชิงเนื้อหาตามที่ปรากฏในอนุสัญญาว่าด้วย

            สิ่งแวดล้อมนั้น ส่วนใหญ่จะปรากฏในลักษณะถูกอ้างอิงเป็นหลักการพื้นฐานมากกว่าที่จะก�าหนดให้เป็นพันธกรณีของ
            รัฐภาคีโดยตรง
                         ด้วยพัฒนาการของกฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศข้างต้น ท�าให้เกิดสิทธิที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมากมาย

            ทั้งสิทธิเชิงเนื้อหา และสิทธิเชิงกระบวนการอันเป็นพาหนะขับเคลื่อนเพื่อน�าไปสู่สิทธิเชิงเนื้อหา นอกจากนี้ นักวิชาการ
            ด้านสิ่งแวดล้อมยังนิยมน�าการคุ้มครองสิทธิในมิติของสิทธิมนุษยชนมาใช้เอื้อประโยชน์ต่อการคุ้มครองสิทธิที่เกี่ยวกับ

            สิ่งแวดล้อมด้วย ในขณะเดียวกัน นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมก็นิยมน�าประเด็นสิทธิมนุษยชนมาใช้อ้างอิงเพื่อชูประเด็น
            การปกป้องสิ่งแวดล้อมด้วย


                  ๑.๑.๔ การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม: กรณีประเทศไทย

                         ส�าหรับกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ในช่วงแรก พบว่ามีข้อร้องเรียนจากชาวบ้านเกี่ยวกับการ
            เข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติประเภทต่าง ๆ ทั้งในกรณีที่รัฐไม่จัดโครงสร้างแห่งสิทธิและการกระจายอ�านาจ กรณีที่รัฐเป็น

            ผู้สนับสนุนกลุ่มทุนให้ใช้สิทธิจนมีผลกระทบต่อชุมชน  ตลอดจนกรณีที่รัฐเป็นคู่ขัดแย้งกับชุมชนเองในการใช้ดุลยพินิจและ
            การใช้กฎหมาย  ข้อเรียกร้องที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องน�าไปสู่ข้อสรุปว่าต้องมีการเปลี่ยนแปลงแนวคิดเรื่องสิทธิของชุมชนกับ
            ฐานทรัพยากรธรรมชาติ

                         ต่อมา  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๔๐  และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
            พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้บัญญัติถึง “สิทธิชุมชน” ในฐานะ “สิทธิเชิงกลุ่ม (Collective Rights) ไว้อย่างชัดเจนในระดับหลัก

            การ โดยเป็นการให้สิทธิแก่ชุมชนในการมีส่วนร่วมกับรัฐในการจัดการ บ�ารุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
            อย่างสมดุลและยั่งยืน แต่รัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับยังไม่ได้บัญญัติเรื่อง “สิทธิในสิ่งแวดล้อม (Right to Environment)” ใน
            ฐานะ “สิทธิเชิงปัจเจก (Individual Rights)” แต่อย่างใด แม้ว่าจะมีความพยายามในการตีความไปในลักษณะดังกล่าว

                         อย่างไรก็ดี การสนับสนุนให้ประชาชนสามารถด�ารงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีก็ยังได้รับการบรรจุอยู่ใน
            บทบัญญัติของกฎหมาย แต่อยู่ในฐานะที่เป็นเป้าประสงค์หรือเงื่อนไขของสิทธิตัวอื่น กรณีเป็นเป้าหมายของสิทธิ ได้แก่




                                                           27
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33