Page 25 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
P. 25

ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ


















                  บทน�ำ




          ๑.๑ หลักการและเหตุผล


               ๑.๑.๑ การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนโดยทั่วไป

                       เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน (Fundamental Norms of Human Rights) ของ
          มนุษย์ทุกคนย่อมได้รับความคุ้มครอง โดยไม่แบ่งแยกเพศ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา สีผิว หรือความแตกต่างอย่างใด ๆ

          และถือเป็นสิ่งที่ผูกพันรัฐทุกรัฐในโลกต้องให้ความคุ้มครองสิทธิเหล่านี้แก่ทุกคนเป็นการทั่วไป (Erga Omnes) ตามที่ได้รับ
          การยืนยันโดยนักกฎหมายระหว่างประเทศทั้งหลายและศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในหลายคดี  กฎหมายสิทธิมนุษยชน
          ระหว่างประเทศ (International Human Rights Law) ได้รับการพัฒนามาเป็นล�าดับ ทั้งจากจารีตประเพณีระหว่าง

          ประเทศ (Customary International Law) และสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่เริ่มตั้งแต่มีการรับรอง
          ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนใน ค.ศ. ๑๙๔๘ และสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่ส�าคัญ ๒ เรื่อง คือ สิทธิพลเมือง

          และสิทธิทางการเมือง และสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม  นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาตราสารในระดับภูมิภาค ซึ่ง
          ภูมิภาคนั้น ๆ ได้ให้ความส�าคัญกับสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ เป็นการเฉพาะ และมีกลไกในการคุ้มครองสิทธิเรื่องดังกล่าว  ตลอดจน
          มีการพัฒนาตราสารอื่น ๆ เช่น ปฏิญญา แนวปฏิบัติ หรือหลักการต่าง ๆ ในระดับระหว่างประเทศที่จะช่วยพัฒนาความ

          ชัดเจนในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนประเภทต่าง ๆ  เหล่านี้  ล้วนเป็นที่มาของกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
          ในปัจจุบัน
                       รัฐทุกรัฐจึงมีความรับผิดชอบที่จะต้องให้ความคุ้มครองสิทธิมนุษยชน  ทั้งในมิติที่เป็นจารีตประเพณี  ไม่ว่า

          จะยึดทฤษฎีการยอมรับนับถือกฎหมายระหว่างประเทศแบบเอกนิยม (Monism) หรือทวินิยม (Dualism) และในมิติที่เป็น
          พันธกรณีเฉพาะที่รัฐรับเข้ามาเมื่อเป็นภาคีสนธิสัญญาเฉพาะด้านสิทธิมนุษยชน  หากรัฐใดไม่ให้ความคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
          ไม่ว่ากรณีใด ก็ย่อมต้องถือว่าเป็นการละเมิดกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศด้วย

                       โดยที่สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงของโลกได้มีผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน  พัฒนาการในการคุ้มครองสิทธิ
          มนุษยชนด้านต่าง ๆ จึงมีเพิ่มขึ้นมาเป็นล�าดับ ซึ่งรัฐแต่ละรัฐหรือภูมิภาคต่าง ๆ ได้รับรองกฎหมายภายในประเทศ และ

          ตราสารระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ที่ได้ให้ความส�าคัญ รวมถึงการสร้างกลไกในการ
          คุ้มครองด้วย จนอาจกล่าวได้ว่า ได้มีการพัฒนาจนเป็นแนวปฏิบัติของรัฐทั้งหลาย (States Practice) และเกิดการยอมรับ
          และรู้สึกว่าสิทธิต่าง ๆ เหล่านั้นควรต้องได้รับการคุ้มครองดังเช่นสิทธิมนุษยชน (Opinio Juris) อันถือเป็นองค์ประกอบที่

          ส�าคัญที่น�าไปสู่กฎหมายของจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่ผูกพันรัฐทุกรัฐต่อไปได้
                       ดังนั้น การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างครบถ้วนทุกมิติจึงไม่ควรพิจารณาแต่เพียงบทบัญญัติของกฎหมาย

          ภายในหรือบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่จ�าเป็นต้องพิจารณาพันธกรณีระหว่างประเทศ รวมถึงพัฒนาการของสิทธิ
          มนุษยชนอันมีลักษณะเป็น Soft Law ร่วมด้วย

                                                           24
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30