Page 26 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
P. 26
ความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม
เพื่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ ในระดับภูมิภาค สหภาพยุโรปซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคที่มีความก้าวหน้ามาก
ในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน มีอิทธิพลต่อพัฒนาการด้านสิทธิมนุษยชนด้านต่าง ๆ แก่ประเทศต่าง ๆ ได้สร้างมาตรฐาน
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนภายในภูมิภาคให้มีความเข้มแข็ง มีการจัดตั้งกลไกศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป (European
Court of Human Rights) ซึ่งเป็นศาลที่มีลักษณะเหนือรัฐ (Supra-National) ในการบังคับใช้กฎหมายในการคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชน ซึ่งนอกจากตราสารระหว่างประเทศขององค์การสหประชาชาติแล้ว ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปยังได้ยึดถือ
เอาอนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน (European Convention for the
Protection of Human Rights and Fundamental Freedoms 1950) เป็นตราสารหลักในการพิจารณาคดีของ
ศาลด้วย และค�าพิพากษาของศาลมีผลผูกพันรัฐสมาชิกให้ต้องปฏิบัติตามศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปได้สร้างหลักกฎหมาย
และแนวทางการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเป็นตัวอย่างให้นานาชาติน�าไปใช้ได้เป็นอย่างดี
๑.๑.๒ การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
ส�าหรับประเทศไทย การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ในมิติองค์กร
เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ได้ก�าหนดให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์หลักในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนภายในประเทศและในการติดตามให้รัฐปฏิบัติตาม
พันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี ในมิติที่เป็นเนื้อหาของสิทธินั้น ประเทศไทยได้ให้ความคุ้มครองที่ชัดเจน
ทั้งในอดีตและปัจจุบันในระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกันไป ในกฎหมายระดับรัฐธรรมนูญและระดับพระราชบัญญัติ แต่
¾ ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ¾ สิทธิในทรัพย์สิน
¾ ความเสมอภาคของบุคคล ¾ สิทธิในบริการสาธารณสุข
¾ สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย ¾ สิทธิของคนพิการหรือทุพพลภาพ
¾ สิทธิของผู้ต้องหา ¾ สิทธิของคนชรา
¾ สิทธิของพยานและผู้เสียหายในคดีอาญา ¾ สิทธิของผู้บริโภค
¾ สิทธิของเด็ก ¾ สิทธิของชุมชนท้องถิ่น
¾ เสรีภาพในการนับถือศาสนา ¾ เสรีภาพในการรวมกลุ่ม
¾ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ¾ สิทธิในการรับรู้และมีส่วนร่วม
¾ เสรีภาพทางการศึกษา ¾ สิทธิในการร้องทุกข์และฟ้องคดี
ส่วนใหญ่สิทธิมนุษยชนจะปรากฏอยู่อย่างชัดเจนในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในประเด็นต่อไปนี้
นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเป็นภาคีในเอกสารระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน จ�านวน ๑๐ ฉบับ คือ
• กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil
and Political Rights - ICCPR)
• กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on
25