Page 47 - คู่มือประเมินผลด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) ของธุรกิจการโรงแรม
P. 47
กรอบการท�า HRDD 7
ระดับพื้นที่ปฏิบัติการ หรือระดับองค์กร?
การประเมินผลกระทบย่อมต้องจัดทำาในระดับพื้นที่ซึ่งผลกระทบปรากฎ บุคลากรประจำาพื้นที่อาจเป็นผู้นำาการ
ประเมิน และมีบุคลากรจากสำานักงานใหญ่มาร่วมทีม หรือใช้วิธีว่าจ้างที่ปรึกษาภายนอก ถ้าหากบริษัทของคุณมีพื้นที่
ปฏิบัติการหลายแห่ง การทบทวนความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นซ้ำาๆ ในหลายพื้นที่ หรือความเสี่ยงที่มีนัยสำาคัญ
จะช่วยให้บุคลากรในสำานักงานใหญ่ระบุประเด็นสำาคัญๆ ด้านสิทธิมนุษยชนได้อย่างตรงจุด
2 ท�าความเข้าใจกับบริบทการด�าเนินธุรกิจ
รัฐบาลต่างๆ มีพันธกรณีในการคุ้มครอง เคารพ และเติมเต็มสิทธิมนุษยชนภายใต้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่าง
ประเทศ เมื่อใดก็ตามที่รัฐล้มเหลวในการทำาหน้าที่เหล่านี้ มันก็นำาความท้าทายเพิ่มเติมมาสู่บริษัทที่พยายามแสดงความ
รับผิดชอบในการเคารพสิทธิมนุษยชน บริษัทต่างๆ จำาเป็นจะต้องเข้าใจความเสี่ยงเชิงบริบทเหล่านี้ จะได้สามารถ
วางขั้นตอนเพื่อหลีกเลี่ยงการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิ เมื่อใดก็ตามที่กฎหมายระดับชาติในการคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชนไม่มีอยู่ มีอยู่แต่อ่อนแอหรือไม่ถูกบังคับใช้ บริษัทก็ควรเคารพสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการยอมรับในระดับ
สากล เมื่อใดที่กฎหมายระดับชาติขัดแย้งกับสิทธิมนุษยชน บริษัทก็ควรเคารพในหลักการของสิทธิมนุษยชนอย่างดีที่สุด
เท่าที่สามารถทำาได้ และสามารถสาธิตให้เห็นว่าได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่แล้ว
การประเมินความเสี่ยงเชิงบริบท (Contextual Risks)
มีปัจจัยมากมายที่ส่งผลต่อความเสี่ยงของการประกอบธุรกิจในประเทศใดประเทศหนึ่ง เช่น
• ปัจจัยด้านเศรษฐสังคม เช่น ระดับความยากจน และการถูกกีดกันให้อยู่ชายขอบของคนบางกลุ่มในสังคม
• ความไร้เสถียรภาพทางการเมือง ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อประชาธิปไตย นิติรัฐ และ/หรือสันติภาพ
และความมั่นคงในประเทศ
• คอร์รัปชั่นในภาคส่วนต่างๆ
• การไร้ซึ่งกลไกเยียวยาผ่านระบบยุติธรรมที่มีประสิทธิผล
• การที่รัฐไม่แยแสต่อสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบ หรือไม่แยแสต่อสิทธิมนุษยชนของสมาชิกบางกลุ่ม
• ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นแล้วหรือที่รอวันปะทุ ตั้งแต่การทะเลาะวิวาท จนถึงความรุนแรงติดอาวุธ
นัยของกฎหมายระดับชาติต่อสิทธิมนุษยชน บริษัทของคุณจะต้องแยกแยะระหว่าง
• กฎหมายที่คุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่ำากว่าหลักสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล
• กฎหมายที่สะท้อนหลักสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล แต่ไม่ถูกบังคับใช้เนื่องจาก
ความอ่อนแอของขั้นตอนทางกฎหมายหรือระบบราชการ
• กฎหมายที่ขัดแย้งกับหลักสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลอย่างชัดเจน
45