Page 43 - คู่มือประเมินผลด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) ของธุรกิจการโรงแรม
P. 43
กรอบการท�า HRDD 7
ขั้นตอนต่าง ๆ ของกระบวนการ HRDD มีดังต่อไปนี้
7.1 การประเมินความเสี่ยงที่เกิดขึ้นและมีแนวโน้มว่าจะเกิด
บริษัทต้องระบุและประเมินผลกระทบเชิงลบด้านสิทธิมนุษยชนที่องค์กรมีส่วนเกี่ยวข้อง เรื่องนี้ครอบคลุม
• ผลประทบที่เกิดขึ้นจริง (ปัจจุบันหรืออดีต) และผลกระทบที่คาดว่าจะเกิด (มีแนวโน้มในอนาคต)
• ผลกระทบจากกิจกรรมทางธุรกิจโดยตรงของบริษัท และที่เกิดจากความสัมพันธ์ทางธุรกิจ
เช่น ในห่วงโซ่อุปทาน ห่างจากองค์กรไปอีกหนึ่งขั้นหรือมากกว่า บริษัทจะต้องมองความเสี่ยง
ด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดกับ “คน” ว่า แตกต่างจากความเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดกับ “บริษัท”
แม้ว่าสองประเด็นนี้จะเข้ามาเกี่ยวพันกันมากขึ้นเรื่อยๆ
เรื่องนี้ส�าคัญอย่างไร?
• การประเมินความเสี่ยง คือกระบวนการที่บริษัทลงมือรวบรวมข้อมูลพื้นฐานที่จำาเป็น
ต่อการทำาความเข้าใจว่า ความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทมีอะไรบ้าง ก่อนที่จะลงมือกำาจัด
หรือบรรเทาได้
• เป็นจุดเริ่มต้นของการทำาความเข้าใจว่า จะแปลงนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท
มาเป็นภาคปฏิบัติได้อย่างไร
• การให้ฝ่ายต่างๆ ในองค์กรเข้ามามีส่วนร่วม ช่วยสร้างความรับผิดชอบร่วมกันในการรับมือ
กับผลกระทบที่ถูกระบุ
ขั้นตอนที่จ�าเป็น
1 ก�าหนดกรอบการประเมินอย่างเป็นระบบ
การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนจะต้องเป็น กระบวนการต่อเนื่อง (On-going Process) ซึ่งทำาซ้ำาทุกครั้ง
ที่ความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอาจเปลี่ยนแปลงในสาระสำาคัญ มิใช่กระบวนการ “ครั้งเดียวจบ” ที่ทำาเฉพาะก่อนเริ่ม
โครงการ หรือทำาเฉพาะเท่าที่กฎหมายกำาหนด รายงานการประเมินที่ต้องทำาตามกฎหมายนั้นมีบทบาทสำาคัญก็จริง
แต่อาจมีแหล่งข้อมูลอื่นที่เกี่ยวกับผลกระทบ เช่น ข่าว รายงานของผู้เชี่ยวชาญ ประเด็นที่องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO)
หรือสหภาพแรงงานระบุ รวมถึงเรื่องร้องเรียนที่บริษัทได้รับผ่านช่องทางต่างๆ
41