Page 45 - คู่มือประเมินผลด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) ของธุรกิจการโรงแรม
P. 45

กรอบการท�า HRDD      7








                         แยกเป็นกระบวนการต่างหาก หรือบูรณาการกับกระบวนการอื่น?


                  บริษัทอาจออกแบบกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนแยกออกมาต่างหาก  หรือจะบูรณาการ
            ประเด็นสิทธิมนุษยชนเข้าไปในกระบวนการประเมินที่มีอยู่เดิมก็ได้ บริษัทของคุณอาจมีกระบวนการประเมินที่เป็น
            ทางการอยู่แล้ว ในการประเมินผลกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม หรือสุขภาพ (SIA / EIA / EHIA) ซึ่งกระบวนการเหล่านี้

            อาจเป็นจุดที่เหมาะสมในการบูรณาการประเด็นสิทธิมนุษยชน




                  •  ในแง่หนึ่ง ความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนหลายข้อมีรากอยู่ในผลกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ
                    ทำาให้ยากที่จะแยกแยะอย่างชัดเจน
                  •  แต่ในอีกแง่หนึ่ง บริษัทควรตัดสินได้เมื่อใดที่ประเด็นสังคมหรือสิ่งแวดล้อมเริ่มมีนัยต่อสิทธิมนุษยชน

                    ยกตัวอย่างเช่น เมื่อผลกระทบต่อแหล่งน้ำาสะสมไปเรื่อยๆ จนเริ่มส่งผลกีดกันสิทธิในการเข้าถึง
                    น้ำาดื่มที่สะอาด เป็นต้น
                  •  กระบวนการ SIA / EIA / EHIA ตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมของไทยนั้นเป็นกระบวนการแบบ
                    “ครั้งเดียวจบ” ซึ่งบริษัทต้องทำาเป็นส่วนหนึ่งของการขอใบอนุญาตประกอบกิจการ หรือการพัฒนา

                    โครงการใหม่ ในขณะที่กระบวนการประเมินด้านสิทธิมนุษยชนจะต้องดำาเนินอย่างต่อเนื่อง
                    ตลอดชั่วอายุขัยของโครงการ
                  •  ในบริษัทควรมีใครสักคนที่สามารถมองเห็น “ภาพรวม” ของความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท
                    ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงที่มองเห็นผ่านกระบวนการประเมินปัจจุบัน หรือไม่ใช่ก็ตาม






                                             ใช้ข้อมูลจากกระบวนการอื่น

                  บริษัทของคุณอาจเคยประเมินความเสี่ยงรูปแบบต่างๆ มาอย่างยาวนานในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการอื่นๆ
             ในวัฏจักรธุรกิจ กระบวนการเหล่านี้สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนได้ ยกตัวอย่างเช่น






                  •  ขั้นตอนชุมชนสัมพันธ์
                  •  ขั้นตอนการจัดการด้านสุขภาพ

                  •  การประเมินความเสี่ยงทางการเมือง ความมั่นคง และความขัดแย้ง
                  •  กระบวนการสานเสวนา (กับภาคประชาสังคม)
                  •  กระบวนการตรวจสอบรอบด้านในแง่ความเสี่ยงทางกฎหมาย (Legal Due Diligence)
                  •  รายงานการสำารวจความคิดเห็นของพนักงาน
                  •  รายงานการตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบภายนอก และข้อมูลจากกลไกการรับเรื่องร้องเรียน

                  •  กลไกตรวจสอบภายใน
                  •  รายงานการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) สำาหรับการพัฒนาโครงการใหม่








                                                                                                          43
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50