Page 45 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 45

๒)  ลักษณะของสิทธิ และการด�าเนินมาตรการและการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนให้เป็นจริง จ�าแนกเป็น
                 ๒.๑  สิทธิแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด (non-derogable rights) ซึ่งมิอาจเพิกถอนหรือลิดรอนได้ ไม่ว่าจะอยู่ใน

        สถานการณ์ใดก็ตาม เช่น สิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ สิทธิที่จะไม่ถูกทรมาน และในกรณีที่เป็นสิทธิที่รัฐอาจจ�ากัดหรือเพิกถอนได้ชั่วคราว
        (derogable rights) ในบางสถานการณ์ที่กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศยินยอมให้รัฐกระท�าได้เพื่อวัตถุประสงค์
        บางประการ ได้แก่ ความมั่นคงของชาติความสงบเรียบร้อย การสาธารณสุข หรือเพื่อศีลธรรม โดยรัฐต้องด�าเนินการตาม
        แนวทางที่เป็นที่ยอมรับตามกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น มีการบัญญัติไว้เป็นกฎหมายที่ชัดเจน เป็นไปเพื่อเหตุผลที่ชอบธรรม
        รัฐไม่สามารถหาวิธีการอื่นมาทดแทนได้ และการใช้อย่างจ�ากัดและเท่าที่จ�าเป็นได้สัดส่วนที่เหมาะสมกับสถานการณ์

        และเป็นมาตรการจ�าเป็นในสังคมประชาธิปไตย เป็นต้น
                 ๒.๒  สิทธิบางประเภทที่รัฐจะสามารถท�าให้ก้าวหน้าหรือเป็นจริงได้ โดยต้องด�าเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป ภายใต้
        ทรัพยากรที่มีอยู่ (progressive realization of rights) ซึ่งรัฐจ�าเป็นต้องแสดงความมุ่งมั่นและมีแนวทางการด�าเนินงาน

        อย่างเป็นรูปธรรม กล่าวคือ มีการก�าหนดให้บรรลุเป้าหมายที่ชัดเจน (progressive achievement) เช่น มีแผนการปฏิบัติงาน
        ระยะเวลา ก�าลังบุคคลากร ผู้รับผิดชอบ และการติดตามผลการปฏิบัติอย่างแท้จริง มีการจัดสรรทรัพยากรอย่างเพียงพอ/
        เหมาะสม (maximum available resources) และไม่มีการเลือกปฏิบัติ (non-discrimination)
                 ๒.๓  การด�าเนินมาตรการและการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนให้เป็นจริง จะต้องหลีกเลี่ยงการกระท�าที่ท�าให้
        เกิดการเลือกปฏิบัติแบบซ�้าซ้อน (multiple discrimination) และค�านึงถึงอัตลักษณ์ที่แตกต่างหลากหลาย ทับซ้อน และเชื่อมโยงกัน

        (intersectionality) ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งจาก (๑) ลักษณะทางชีวภาพหรือการถือก�าเนิด อาทิ เพศก�าเนิด (sex) ชาติพันธุ์
        (ethnicity) เชื้อชาติ (race) สีผิว (color) อายุ (age) และความพิการ (disabilities) และ (๒) ลักษณะการรับรู้ หรือการให้
        ความหมายในเชิงคุณค่าทางสังคมและวัฒนธรรม อาทิ วิถีทางเพศ สถานะทางสังคมของความเป็นชาย-หญิง คุณวุฒิทางความรู้

        อาชีพ หน้าที่การงาน และอื่น ๆ


        ๓)  ความผูกพันทางกฎหมาย และหน้าที่ของภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน จ�าแนกเป็น
                 ๓.๑  รัฐในฐานะผู้ปฏิบัติหน้าที่ (duty-bearer) ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นภายในเขต
        อ�านาจรัฐ (jurisdiction) รวมถึงการดูแลบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีสัญชาติของรัฐนั้น ๆ และการด�าเนินการที่มีผลกระทบต่อ

        สิทธิมนุษยชนนอกเขตอ�านาจรัฐ โดยรัฐมีหน้าที่ใน ๓ ด้าน คือ

        หน้าที่ในการเคารพ (Obligation to Respect)                     หน้าที่ในการท�าให้สิทธิเกิดผลในทางปฏิบัติในการจัดท�า
        รัฐต้องไม่แทรกแซงการใช้สิทธิของประชาชน และ                    อ�านวยการให้เกิดขึ้นจริง (Obligation to Fulfill)
        ไม่กระท�าการ หรือละเว้นการกระท�าใด ๆ ที่เป็นการ               รัฐต้องด�าเนินการเชิงรุก (positive steps) ในการ
        กระท�าละเมิดสิทธิมนุษยชน                                      รับรองหรือประกันสิทธิของประชาชน เช่น การ
                                                                            ก�าหนดกรอบกฎหมาย  นโยบาย  และ
        หน้าที่ในการคุ้มครอง (Obligation to Protect)                        มาตรการต่าง ๆ ที่ท�าให้ประชาชนได้รับรู้
        รัฐต้องคุ้มครองมิให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลถูก                          ถึงสิทธิดังกล่าว การประกัน ให้ประชาชน
        ละเมิดสิทธิจากบุคคลอื่น หรือกลุ่มอื่นใด เช่น                        สามารถเข้าถึงและใช้สิทธิและเสรีภาพ
        ภาคเอกชน โดยรัฐต้องมีมาตรการดูแลไม่ให้                              ตามที่มีอยู่ทางธรรมชาติ และ/หรือตามที่
        เกิดการละเมิดสิทธิ แต่หากเกิดการละเมิด                              ได้รับการรับรองในกฎหมายภายในและตาม
        รัฐต้องเข้ามาดูแลให้การคุ้มครอง                                     พันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน



                 ๓.๒  ภาคธุรกิจและรัฐ (ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน หรือโครงการพัฒนาร่วม อาทิ รัฐวิสาหกิจ) เนื่องจากการ
        เปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งมีระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมเป็นโครงสร้างหลักในการพัฒนา
        และขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ท�าให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ จึงมีการก�าหนดหลักการสหประชาชาติ
        แนวทางปฏิบัติว่าด้วยการด�าเนินธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (United Nations Guiding Principles on Business and Human
        Rights : UNGPs) ซึ่งก�าหนดให้ภาคธุรกิจและรัฐ (ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน หรือโครงการพัฒนาร่วม อาทิ รัฐวิสาหกิจ)





                                 รายงานผลการประเมินสถานการณ์  44  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50