Page 5 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 5

ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ





                   บทคัดย่อ







                  หลักความเสมอภาคหรือหลักความเท่าเทียมกัน  เป็นหลักส�าคัญซึ่งได้รับการรับรองในกฎหมายสิทธิมนุษยชน

          ระหว่างประเทศและกฎหมายประเทศต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม มีพฤติกรรมบางอย่างซึ่งส่งผลเป็นอุปสรรคขัดขวางต่อ
          หลักความเสมอภาคหรือหลักความเท่าเทียมกัน นั่นคือ “การเลือกปฏิบัติ” ซึ่งมีลักษณะที่สัมพันธ์กับ “เหตุแห่งการ
          เลือกปฏิบัติ” เช่น เพศ เชื้อชาติ ศาสนา เป็นต้น โดยการเลือกปฏิบัติอาจเกิดขึ้นในมิติต่าง ๆ ของการด�าเนินชีวิตใน

          สังคม เช่น มิติของการจ้างแรงงานและการประกอบอาชีพ มิติของการบริการภาครัฐหรือภาคเอกชน เป็นต้น อย่างไร
          ก็ตาม ประเด็นปัญหาหลักของการวิจัยนี้ คือ กฎหมายเกี่ยวกับการห้ามเลือกปฏิบัติของไทยปัจจุบันมีความเหมาะสม
          และครอบคลุมการเลือกปฏิบัติกรณีต่าง ๆ หรือไม่ การศึกษาวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีขอบเขตครอบคลุม

          การศึกษากฎหมายไทยที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน  เปรียบเทียบกับกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ  และกฎหมาย
          ต่างประเทศ เช่น สหภาพยุโรป แอฟริกาใต้ สวีเดน ฟินแลนด์ แคนาดา ออสเตรเลีย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินเดีย

          สหรัฐอเมริกา เป็นต้น
                  ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การเลือกปฏิบัติมีความหมายและขอบเขตแตกต่างกันในหลายบริบท งานวิจัยนี้
          น�าปัจจัยเชิงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสองประการ คือ เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ และมิติของการเลือกปฏิบัติ ประกอบ

          กับปัจจัยอื่นในการพิจารณาการเลือกปฏิบัติตามหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและกฎหมาย
          ต่างประเทศมาสร้างกรอบแนวคิดอันท�าให้สามารถจ�าแนกการเลือกปฏิบัติตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนกับการเลือก

          ปฏิบัติในกรอบกฎหมายอื่นหรือในมิติอื่น นอกจากนี้ ยังพบว่า ล�าพัง “การปฏิบัติที่แตกต่างกัน” ยังอาจไม่ใช่การเลือก
          ปฏิบัติตามนัยของกฎหมายสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ ยังต้องมีการน�าปัจจัยอื่นมาประกอบการพิจารณาด้วย ในส่วนของการเลือก
          ปฏิบัติตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนนั้น  ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า  กฎหมายไทยที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน  แม้ว่ามีกฎหมายเฉพาะ

          หลายฉบับที่วางหลักเกี่ยวกับการห้ามเลือกปฏิบัติ  แต่ยังไม่เหมาะสมและเพียงพอในการคุ้มครองผู้ถูกเลือกปฏิบัติ
          เนื่องจากกฎหมายเหล่านั้นมีขอบเขตจ�ากัดเฉพาะบางเหตุและบางมิติของการเลือกปฏิบัติ โดยยังไม่ครอบคลุมถึงการ
          เลือกปฏิบัติหลายกรณี  เช่น  การเลือกปฏิบัติในมิติของภาคเอกชน  โดยเฉพาะกรณีการเลือกปฏิบัติในมิติการจ้างแรงงาน

          ด้วยเหตุอื่นนอกจากเหตุแห่งเพศ การเลือกปฏิบัติในมิติของการให้บริการหรือการจ�าหน่ายสินค้าของภาคเอกชน
          การเลือกปฏิบัติด้วยเหตุประวัติอาชญากรรม การเลือกปฏิบัติในกรณีการให้นมบุตรจากอกแม่ การคุกคาม (Harassment)
          การสื่อสารความเกลียดชัง (Hate Speech) เป็นต้น จากปัญหาดังกล่าว งานวิจัยนี้ได้จ�าแนกระบบการก�าหนดกฎหมาย

          เกี่ยวกับการห้ามเลือกปฏิบัติของประเทศต่าง ๆ และเสนอตัวแบบแนวคิดเพื่อการปรับปรุงกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อง
          โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อเสนอแนะให้มีการบัญญัติกฎหมายห้ามเลือกปฏิบัติในลักษณะของกฎหมายกลางเกี่ยวกับ

          การห้ามเลือกปฏิบัติที่ครอบคลุมเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติและมิติการเลือกปฏิบัติต่าง ๆ รวมทั้งข้อเสนอแนะในการปรับปรุง
          แก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติเฉพาะประเด็น  ทั้งนี้  เพื่อให้หลักความเสมอภาคสามารถเกิดผลได้อย่างแท้จริง
          ต่อไป



          ค�าส�าคัญ:  ความเสมอภาค ความเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติ สิทธิเสรีภาพ สิทธิมนุษยชน



                                                                   รองศาสตราจารย์คณาธิป ทองรวีวงศ์ และคณะ



                                                          4
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10