Page 4 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 4

ค�าน�า






                       หลักการเรื่องความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ  ได้ถูกกล่าวถึงตั้งแต่สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่  ๑
               จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้มีความพยายามของประเทศสมาชิกในการบรรจุแนวคิด เรื่อง “ความเสมอภาค
               และการไม่เลือกปฏิบัติ” ลงในกฎบัตรสหประชาชาติ (UN Charter) ในปี ๑๙๔๕ หลักการที่ว่านี้ ได้ถูกถ่ายทอดลงมา

               ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) ในปี ๑๙๔๘ และได้ถูกน�ามาบรรจุไว้ในสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
               ด้านสิทธิมนุษยชนหลายฉบับ เพื่อสร้างให้เกิดพันธกรณีที่รัฐจะต้องด�าเนินการ

                       โดยเมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๕๘ ที่ประชุมคณะกรรมการประจ�ากติการะหว่างประเทศ ว่าด้วยสิทธิทาง
               เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) ในสมัยประชุมที่ ๕๕ ได้มีข้อสังเกตเชิงสรุปเกี่ยวกับรายงานการปฏิบัติตาม
               อนุสัญญาของประเทศไทย รอบที่ ๒ ประเด็นการไม่เลือกปฏิบัติ โดยแนะน�าให้ประเทศไทยออกกฎหมายต่อต้านการ

               เลือกปฏิบัติที่เป็นองค์รวม ให้ครอบคลุมสาเหตุของการเลือกปฏิบัติตามที่ระบุไว้ในข้อ ๒ ของกติกาฯ
                       แม้ประเทศไทยจะได้วางหลักเรื่องความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร

               ไทย แต่ข้อมูลจากการศึกษาประเด็นค�าร้องที่มีมายังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พบว่า ยังมีปัญหาที่เกิดจาก
               การถูกเลือกปฏิบัติจ�านวนมาก โดยสามารถจ�าแนกสภาพการเลือกปฏิบัติออกเป็น ๔ ประเด็น ได้แก่ (๑) การจ้างงาน
               และการประกอบอาชีพ (๒) การศึกษาและฝึกอบรม (๓) การเข้าถึงบริการสาธารณะและบริการสังคม และ (๔) การ

               คุ้มครองจากการได้รับการปฏิบัติที่ท�าให้เกิดความพึงพอใจน้อยกว่าการปฏิบัติต่อคนอื่นในที่สาธารณะ รวมถึงการใช้
               ถ้อยค�าเพื่อให้เกิดการดูหมิ่นเกลียดชัง (Hate Speech)
                       จากเหตุผลดังกล่าว ส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต โดยมี

               รองศาสตราจารย์คณาธิป ทองรวีวงศ์ เป็นหัวหน้าโครงการ ด�าเนินการศึกษาวิจัย เรื่อง “กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาค
               และการไม่เลือกปฏิบัติ” เพื่อท�าการทบทวนวรรณกรรม วิเคราะห์ สังเคราะห์ เปรียบเทียบความรู้จากกฎหมายระหว่าง
               ประเทศ  กรอบแนวคิด  ความเห็น  ข้อเสนอแนะของกลไกสหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชน  และกลไกด้านสิทธิมนุษยชน

               ระดับภูมิภาค เกี่ยวกับความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์สภาพการเลือกปฏิบัติ เหตุแห่ง
               การเลือกปฏิบัติ ประเด็นหรือมิติของการเลือกปฏิบัติในประเทศไทย รวมถึงกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดท�าเป็น

               ข้อเสนอ มาตรฐาน และแนวทางในการก�าหนดให้มีกติกากลางว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ ในการ
               เป็นมาตรฐานขั้นต�่าที่จะประกันความเป็นธรรมในการให้การคุ้มครองแก่บุคคลตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
               โดยรายงานการศึกษาวิจัยฉบับนี้ได้ถูกปรับปรุงเนื้อหาบางส่วนให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

               พุทธศักราช ๒๕๖๐ แล้วด้วย
                       ส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานการศึกษาวิจัยนี้ จะเป็นประโยชน์

               ต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ
               ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ รวมถึงประชาชนที่สนใจในการขับเคลื่อนเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครอง
               สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติต่อไป



                                                                        ส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                                                                                                 กันยายน ๒๕๖๐
   1   2   3   4   5   6   7   8   9