Page 80 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 80

กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ





                     • ผู้ให้ข้อมูลกล่าวว่า “ข้าพเจ้าได้ซื้อบ้านโดยยื่นกู้กับธนาคาร xx ซึ่งทางธนาคารได้ยื่นข้อเสนอเพิ่มเติมในส่วน
               ของการท�าประกันชีวิตเพื่อได้สิทธิในส่วนลดดอกเบี้ยบ้านในปีแรก ซึ่งข้าพเจ้าตกลงท�าประกันชีวิตดังกล่าว โดยทาง

               ธนาคารเป็นผู้เลือกบริษัทประกันชีวิตเอง ทั้งนี้ ในตอนแรกข้าพเจ้าได้ให้ข้อมูลโดยระบุที่อาศัยตามบัตรประชาชน คือ
               จังหวัดระยอง และต่อมาได้รับการแจ้งกลับจากทางธนาคารว่า ทางบริษัทประกัน xx นั้นมีข้อก�าหนดว่า จังหวัดที่จัด
               เป็นจังหวัดในกลุ่มเสี่ยง ซึงรวมถึงจังหวัดระยอง ผู้ท�าประกันจะต้องตรวจโรคส�าคัญ (เช่น เอดส์) ก่อนการพิจารณาอนุมัติ

               ทั้งนี้ ข้าพเจ้าจึงต้องเปลี่ยนข้อมูลที่อยู่ใหม่ โดยระบุเป็นที่อยู่ในกรุงเทพฯ แทน ท�าให้ข้าพเจ้าไม่ต้องไปตรวจเอดส์ ใน
               กรณีนี้ข้าพเจ้าถือว่าบริษัทประกันดังกล่าวเลือกปฏิบัติต่อข้าพเจ้า รวมถึงบุคคลอื่น ๆ ที่ทางบริษัทประกันระบุว่าอาศัย

               อยู่ในจังหวัดกลุ่มเสี่ยง โดยไม่ได้ค�านึงถึง life style ของแต่บุคคล แต่เหมารวมว่าทุกคนที่อยู่ในบางพื้นที่ว่ามีโอกาสเป็น
               เอดส์มากกว่าในบางพื้นที่”
                     • ผู้ให้ข้อมูลเห็นว่า การที่ลูกจ้างที่ไม่ใช้โปรแกรมประยุกต์ไลน์ (LINE Application) ในการสื่อสาร ไม่เข้ากลุ่ม

               กับนายจ้าง ท�าให้ถูกเลือกปฏิบัติในเรื่องความก้าวหน้า ได้รับการปฏิบัติอันเป็นที่พึงพอใจน้อยกว่าลูกจ้างอื่นที่เข้ากลุ่ม
                     • ผู้ให้ข้อมูลในการสนทนากลุ่มกล่าวว่า “องค์กรภาครัฐแห่งหนึ่ง ผู้บริหารจบการศึกษามาจากโรงเรียนมัธยม
               แห่งหนึ่ง ซึ่งในการแต่งตั้งต�าแหน่งบริหาร กรรมการชุดต่าง ๆ  มักเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้จบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยม

               แห่งนั้น เป็นการเลือกปฏิบัติต่อผู้จบจากโรงเรียนมัธยมอื่น ๆ ที่มีวิทยฐานะเช่นเดียวกัน”
                     • ผู้ให้ข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม กล่าวว่า “ชายและหญิงเท่าเทียมกัน ท�าไมตามห้างยังต้องมีที่จอดรถส�าหรับ
               ผู้หญิง” ผู้ให้ข้อมูลอีกท่านหนึ่งเห็นแย้งว่า “เป็นการช่วยให้ผู้หญิงปลอดภัยเพราะอยู่ในที่ใกล้ ไม่ห่างไกลและมีพนักงาน

               รักษาความปลอดภัยดูแลเป็นพิเศษ”
                     • ผู้ให้ข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม ให้ข้อมูลว่า “ร้านนวดบางแห่งไม่ให้บริการแก่คนไทย ให้บริการเฉพาะ

               นักท่องเที่ยวจีน /เกาหลี เท่านั้น”
                     • ผู้ให้ข้อมูลกล่าวว่า “โปรโมชั่นสิทธิพิเศษของร้านอาหารที่ให้สิทธิเฉพาะผู้หญิงเป็นการเลือกปฏิบัติทางเพศ”
                     • ผู้ให้ข้อมูลแสดงความคิดเห็นว่า “การกระท�าบางอย่างมีลักษณะเหมือนกันแต่มีกฎหมายลงโทษแตกต่างกัน

               เช่น การหมิ่นประมาทผู้อื่นด้วยเนื้อหาเช่นเดียวกัน หากกระท�าผ่านระบบคอมพิวเตอร์จะได้รับโทษหนักกว่าและยอม
               ความไม่ได้”

                     • ผู้ให้ข้อมูลกล่าวว่า “เจ้าหน้าที่ส�านักงานเขตบางแห่ง ไม่ถามผู้มาขอท�าบัตรประชาชน และไม่แจ้งสิทธิว่า สามารถ
               ระบุศาสนาหรือไม่ก็ได้ ท�าให้ประชาชนไม่ทราบสิทธิของตน” ผู้ให้ข้อมูลอีกคนหนึ่งกล่าวว่า “ประสงค์จะระบุศาสนา หรือ
               ลัทธิบางอย่าง ลงไปบนบัตร ซึ่งไม่ใช่ศาสนากระแสหลัก แต่เจ้าหน้าที่ไม่ให้ระบุ”

                     • มัคคุเทศก์ชาวไทย ผู้ให้ข้อมูล เห็นว่าคนจีนมาแย่งงานและฝ่าฝืนกฎหมาย มีข้อค�าถามถึงความชอบด้วย
               กฎหมายในการที่มัคคุเทศก์สัญชาติจีนเหล่านั้นสามารถได้รับใบอนุญาตได้อย่างใด มีสถาบันการศึกษาหลายแห่งของ
               ไทยที่ออกประกาศนียบัตรให้คนต่างชาติเหล่านั้น (ผู้วิจัย: ส�าหรับประเด็นเกี่ยวกับปัญหากฎหมายของมัคคุเทศก์

               ดังกล่าวไม่อยู่ในขอบเขตของการวิจัยนี้ แต่ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ชี้ให้เห็นถึงทัศนคติและความรู้สึกที่ไม่พอใจต่อ
               ชาวต่างชาติ กรณีนี้อาจน�าไปสู่ปัญหาความเกลียดคนต่างชาติ (Xenophobia) ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการสื่อสารแสดง
               ความเกลียดชัง (Hate Speech) )

                     • ผู้ให้ข้อมูลตั้งค�าถามว่า การที่องค์กรภาครัฐและภาคเอกชนมีโครงการพัฒนาคุณธรรม โดยให้ปฏิบัติธรรมตาม
               วัดของศาสนาพุทธ เป็นการเลือกปฏิบัติกับบุคลากรที่นับถือศาสนาอื่น หรือไม่มีศาสนาหรือไม่ นอกจากนี้ เหตุใดจึงเลือก

               ไปที่วัดนั้น ไปวัดอื่นได้หรือไม่





                                                               79
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85