Page 30 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 30
กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
๑.๒.๒ การเลือกปฏิบัติตามกรอบกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศ
การห้ามเลือกปฏิบัติเป็นหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ส�าคัญอันปรากฏอยู่ในสนธิสัญญาหลาย
ฉบับ โดยในปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีในสนธิสัญญาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนจ�านวน ๗ ฉบับ ได้แก่
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant
on Civil and Political Rights – ICCPR)
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant
on Economic, Social and Cultural Rights – ICESCR)
อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimi-
nation of All Forms of Discrimination Against Women – CEDAW)
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child – CRC)
อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the
Elimination of All Forms of Racial Discrimination – CERD)
อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย
ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย�่ายีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel,
Inhuman or Degrading Treatment or Punishment – CAT)
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities
– CRPD)
นอกจากกฎหมายระหว่างประเทศในกรอบของสหประชาชาติดังกล่าวข้างต้นแล้ว ในระดับภูมิภาค
ยังปรากฏหลักความเท่าเทียมกันและการห้ามเลือกปฏิบัติในกฎหมายระหว่างประเทศระดับภูมิภาค เช่น อนุสัญญา
สิทธิมนุษยชนยุโรป (European Convention on Human Rights) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งอเมริกา
(American Convention on Human Rights) กฎบัตรแอฟริกาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิปวงชน (The African
Charter on Human and People’s Rights) เป็นต้น
เมื่อพิจารณาในระดับกฎหมายต่างประเทศพบว่า หลายประเทศมีการก�าหนดกฎหมายภายในที่
คุ้มครองบุคคลจากการถูกเลือกปฏิบัติโดยอาจเรียกว่า กฎหมายต่อต้านการเลือกปฏิบัติ (Anti-Discrimination Law)
หรือกฎหมายความเท่าเทียมกัน (Equality Law) เช่น ออสเตรเลีย แคนาดา แอฟริกาใต้ ฟินแลนด์ สวีเดน สิงคโปร์
มีการก�าหนดกฎหมายห้ามการเลือกปฏิบัติ (Anti-Discrimination Law) โดยมีรูปแบบและลักษณะของกฎหมายที่
แตกต่างกันไป
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การห้ามเลือกปฏิบัติมีส่วนสัมพันธ์กับการส่งเสริมหลักความเท่าเทียมกัน โดยการ
เลือกปฏิบัติยังอาจจ�าแนกเป็นการเลือกปฏิบัติโดยตรงและการเลือกปฏิบัติโดยอ้อม ส�าหรับการเลือกปฏิบัติโดยตรงนั้น
เป็นการพิจารณาถึงการปฏิบัติที่แตกต่างกันระหว่างบุคคลในสภาวะหรือเงื่อนไขที่เหมือนกัน ซึ่งมักพบในกรณีของ
การไม่ให้สิทธิบางประการกับบุคคลบางคนหรือบางกลุ่มด้วยเหตุที่บุคคลนั้นจัดอยู่ในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับเหตุแห่งการ
เลือกปฏิบัติ ในกรณีภาครัฐ เช่น การตรากฎหมายจ�ากัดสิทธิบุคคลบางกลุ่มด้วยเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ กรณีการ
กระท�าของภาคเอกชน เช่น การที่นายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างแตกต่างกันด้วยเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ หรือการกระท�า
ของภาคเอกชนที่ปฏิเสธการให้บริการหรือจ�าหน่ายสินค้ากับบุคคลบางกลุ่มด้วยเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ การเลือก
ปฏิบัติโดยตรงนี้จะเห็นได้จากการปฏิบัติที่มีวัตถุประสงค์เห็นได้ว่าเป็นการเลือกปฏิบัติอันสะท้อนจากลักษณะหรือ
29