Page 29 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 29
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with
Disabilities หรือ CRPD) ก�าหนดความหมายของ “การเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งความพิการ” ไว้ว่า “หมายถึง ความ
แตกต่าง การกีดกัน หรือการจ�ากัด บนพื้นฐานของความพิการ ซึ่งมีความมุ่งประสงค์ หรือส่งผลให้เป็นการเสื่อมเสีย
หรือท�าให้ไร้ผลซึ่งการยอมรับ การอุปโภคหรือการใช้สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานทั้งปวงบนพื้นฐานที่เท่าเทียม
กับบุคคลอื่นในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ความเป็นพลเมืองหรือด้านอื่น รวมถึงการเลือกปฏิบัติใน
ทุกรูปแบบ รวมทั้งการปฏิเสธการช่วยเหลือที่สมเหตุสมผล” 10
ส�าหรับความหมายของการเลือกปฏิบัติตามกฎหมายต่างประเทศนั้น มีตัวอย่างเช่น
ประเทศออสเตรเลีย มีกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับการห้ามเลือกปฏิบัติในระดับสหพันธรัฐ คือ พระราช
บัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนออสเตรเลีย (Australian Human Rights Commission Act 1986) ซึ่ง
11
นิยามความหมายของการเลือกปฏิบัติ (Discrimination) ไว้โดยมีหลักส�าคัญว่า “…ความแตกต่าง การกีดกัน หรือ
การปฏิบัติอย่างเป็นพิเศษใด ๆ ซึ่งกระท�าขึ้นบนพื้นฐานของเชื้อชาติ สีผิว เพศ ศาสนา ความเห็นทางการเมือง ชาติ
ก�าเนิดหรือต้นก�าเนิดทางสังคม ซึ่งส่งผลเป็นอุปสรรคหรือท�าให้เสียไปซึ่งความเท่าเทียมกันในโอกาสหรือการปฏิบัติใน
การจ้างงานหรืออาชีพ….” นอกจากนั้น ยังมีกฎหมายระดับมลรัฐ ซึ่งหลายมลรัฐก�าหนดนิยามการเลือกปฏิบัติไว้ เช่น
มลรัฐ New South Wales คณะกรรมการต่อต้านการเลือกปฏิบัติได้อธิบายความหมายของการเลือกปฏิบัติ ไว้ว่า “...
การกระท�าต่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดอย่างไม่เป็นธรรม เพราะเหตุที่บุคคลนั้นมีลักษณะที่ต่างกับบุคคลทั่วไป….” 12
กรณีของประเทศแคนาดา รัฐธรรมนูญแคนาดา (Canadian Charter of Rights and Freedoms)
วางหลักเกี่ยวกับความเท่าเทียมกัน (Equality Rights) และการห้ามเลือกปฏิบัติ ไว้ว่า “บุคคลทุกคนเท่าเทียมกันภายใต้
กฎหมายและมีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองและได้รับประโยชน์ตามกฎหมายที่เท่าเทียมกันโดยปราศจากการเลือก
ปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปราศจากการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุเชื้อชาติ สัญชาติ ชาติพันธุ์ สีผิว ศาสนา เพศ อายุ
ความพิการทางกายหรือจิต” ส�าหรับในระดับมลรัฐนั้น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งมลรัฐ New Brunswick ได้ให้
ค�านิยามความหมายว่า “การกระท�าใด ๆ ไม่ว่าด้วยเจตนาหรือไม่ก็ตาม ซึ่งมีผลท�าให้บุคคลหรือกลุ่มคนใดต้องถูกจ�ากัด
โอกาสที่บุคคลพึงจะได้รับ เนื่องมาจากเหตุลักษณะเฉพาะของบุคคลนั้น อาทิ เรื่องเชื้อชาติ หรือเรื่องสีผิว” 13
อย่างไรก็ตาม กฎหมายบางประเทศแม้ว่าวางหลักห้ามเลือกปฏิบัติโดยกล่าวถึงเหตุแห่งการเลือก
ปฏิบัติไว้ แต่ก็มิได้ก�าหนดนิยามของการเลือกปฏิบัติไว้ เช่น รัฐธรรมนูญอินเดีย วางหลักว่า “รัฐจะต้องไม่เลือกปฏิบัติ
ต่อพลเมืองด้วยเพียงเพราะเหตุแห่งศาสนา เชื้อชาติ เพศ สถานที่เกิด”
ส�าหรับงานวิจัยนี้มีขอบเขตการศึกษาจ�ากัดเฉพาะการเลือกปฏิบัติในกรอบความหมายของกฎหมาย
สิทธิมนุษยชน
10
From “Equality Rights Definition” The New Brunswick Human Rights Commission (April 3, 2000)
Retrieved from http:// www.gov.nb.ca/hrc-cdp/e/el defini.html
11
Article 2, International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR)
12
Article 2, International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights (ICESCR)
13
Article 1, Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination (CERD)
28