Page 26 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 26
กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
รวมทั้งการจ�าแนกขอบเขตของการเลือกปฏิบัติในมิติของกฎหมายสิทธิมนุษยชนกับการเลือกปฏิบัติในความหมายของ
กฎหมายอื่น ซึ่งอาจมีแนวคิดและหลักการที่แตกต่างออกไป นอกจากนั้น จะได้ศึกษาว่ากฎหมายไทยฉบับต่าง ๆ ที่
เกี่ยวข้องกับการเลือกปฏิบัติซึ่งมีผลบังคับในปัจจุบันนั้น มีความเหมาะสมและครอบคลุมเพื่อการคุ้มครองผู้ถูกเลือก
ปฏิบัติเพียงใด
๑.๒ กรอบแนวคิดการศึกษาวิจัย
ในส่วนนี้ผู้วิจัยจะเริ่มจากการชี้ให้เห็นความหมายของการเลือกปฏิบัติ อันจะน�าไปสู่การก�าหนดกรอบแนวคิด
การวิจัยต่อไป
๑.๒.๑ ความหมายของการเลือกปฏิบัติ (Discrimination)
การเลือกปฏิบัติมีความหมายหลายนัย ขึ้นอยู่กับบริบทและมุมมองในการพิจารณา ส�าหรับในทาง
4
สังคมวิทยานั้น นักวิชาการ เช่น Rubin และ Hew stone ได้จ�าแนกประเภทของการเลือกปฏิบัติ บนพื้นฐานของทฤษฎี
ความขัดแย้งเชิงความเป็นจริง (Realistic-Conflict Theory) และทฤษฎีตัวตนทางสังคม (Social-Identity Theory)
ดังนี้
๑. การแข่งขันในเชิงรูปธรรม (Realistic Competition) ถูกขับเคลื่อนโดยผลประโยชน์
ส่วนบุคคล ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการได้ทรัพยากรเชิงวัตถุต่าง ๆ เช่น อาหาร สินค้า เขตแดน เพื่อบุคคลในกลุ่ม
(The In-group) ดังนั้น การเลือกปฏิบัติเป็นการให้สิทธิพิเศษแก่บุคคลอันเป็นสมาชิกในกลุ่มและตัวบุคคล
นั้นเองเพื่อให้ได้มาหรือเข้าถึงซึ่งทรัพยากรดังกล่าว
๒. การแข่งขันเชิงสังคม (Social Competition) ถูกขับเคลื่อนโดยความต้องการความ
ภาคภูมิใจ (Self-Esteem) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการบรรลุถึงสถานะทางสังคมในเชิงบวกส�าหรับบุคคลในกลุ่ม
(The In-Group) เมื่อเปรียบเทียบกับบุคคลนอกกลุ่ม (The Out-Group)
๓. การเลือกปฏิบัติด้วยความยินยอม (Consensual Discrimination) ถูกขับเคลื่อนโดย
ความต้องการความชัดเจน สะท้อนถึงความมั่นคง ความชอบธรรมของการจัดล�าดับชั้นในกลุ่ม เช่น การ
ปฏิบัติเป็นพิเศษต่อสมาชิกในกลุ่มที่มีสถานะสูงกว่าสมาชิกอื่น
การเลือกปฏิบัติ (Discrimination) มิได้เกิดขึ้นเฉพาะกรณีผู้ถูกเลือกปฏิบัติได้รับความเสียหายหรือ
เป็นฝ่ายไม่ได้รับประโยชน์เท่านั้น ในทางวิชาการแล้ว การเลือกปฏิบัติยังคงเกิดขึ้นแม้ว่าบุคคลผู้ถูกเลือกปฏิบัติได้รับ
ผลประโยชน์ก็ตาม มีนักวิชาการเสนอให้พิจารณาในเชิงเปรียบเทียบ โดยเน้นลักษณะของการปฏิบัติที่เสียเปรียบ
(Disadvantage) กล่าวคือ บุคคลไม่จ�าต้องได้รับผลเสียหรือผลร้าย (Harm) โดยแท้จริง จึงจะถือว่าถูกเลือกปฏิบัติ
ตัวอย่างเช่น หากบุคคลตัดสินใจที่จะบริจาคเพื่อช่วยเด็กก�าพร้า แต่ตัดสินใจบริจาคให้เด็กผิวสีน้อยกว่าบนพื้นฐาน
5
ความคิดการแบ่งแยกสีผิว ดังนี้ก็ถือว่าเกิดการเลือกปฏิบัติขึ้นแล้ว แม้ว่าเด็กผิวสีนั้นจะได้รับเงินบริจาคก็ตาม
4 From “General Comment No. 18 Non-discrimination (Thirty-seventh session, 1989)” Human Rights
Committee
5 From “General Recommendation No. 14 (Art. 2, para. 1: Definition of discrimination)” Convention on
the Elimination of All Forms of Racial Discrimination (CERD)
25