Page 25 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 25

ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ







                                                  บทน�า








          ๑.๑     ความส�าคัญและประเด็นปัญหาของการวิจัย



                  หลักความเสมอภาคและไม่เลือกปฏิบัติเป็นหลักส�าคัญของสิทธิมนุษยชน ซึ่งปรากฏให้เห็นจากตราสาร

          ระหว่างประเทศหลายฉบับ เริ่มตั้งแต่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. ๑๙๔๘. (Universal Declaration of
          Human Rights หรือ UDHR) วางหลักเกี่ยวกับความเสมอภาคไว้ว่า “มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันใน

          ศักดิ์ศรีและสิทธิ ต่างมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยเจตนารมณ์แห่งภราดรภาพ” นอกจากนี้ ยังวาง
          หลักการห้ามเลือกปฏิบัติไว้ว่า  “บุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพบรรดาที่ก�าหนดไว้ในปฏิญญานี้  โดยปราศจาก
          ความแตกต่างไม่ว่าชนิดใด ๆ …” ส�าหรับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International

          Covenant on Civil and Political Rights หรือ ICCPR) ก็ได้วางหลักเกี่ยวกับความเสมอภาคและการห้ามเลือกปฏิบัติ
          ไว้ว่า “บุคคลทั้งปวงย่อมเสมอกันตามกฎหมาย และมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันตามกฎหมาย โดย
          ปราศจากการเลือกปฏิบัติใด ๆ …” นอกจากนี้ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

          (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights  หรือ ICESCR)  วางหลักเกี่ยวกับความ
          เสมอภาคและการห้ามเลือกปฏิบัติไว้ว่า “รัฐภาคีแห่งกติกานี้รับที่จะประกันว่าสิทธิทั้งหลายที่ระบุไว้ในกติกานี้ปราศจาก
          การเลือกปฏิบัติใด ๆ …” จะเห็นได้ว่าหลักการความเสมอภาคหรือหลักความเท่าเทียมกัน และการห้ามเลือกปฏิบัติเป็น

          หลักส�าคัญปรากฏจากตราสารระหว่างประเทศอื่นในกรอบของสหประชาชาติ  รวมทั้งกฎหมายระหว่างประเทศระดับ
          ภูมิภาคและถ่ายทอดไปยังกฎหมายภายในของประเทศต่าง  ๆ  ส�าหรับประเทศไทยนั้น  มีพันธกรณีตามความตกลง

          ระหว่างประเทศหลายฉบับที่มีหลักการดังกล่าว  ในระดับกฎหมายภายในของไทยนั้น  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
          ที่ผ่านมาหลายฉบับได้รับรองหลักความเสมอภาคและการห้ามเลือกปฏิบัติ
                  อย่างไรก็ตาม สภาพปัญหาเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติในประเทศไทยนั้น หากพิจารณาในส่วนของการร้องเรียน

          ในกระบวนการทางกฎหมาย  พบว่ามีการเรียกร้องสิทธิหรือประเด็นพิพาททางกฎหมายหลายมิติ  เช่น  คดีของศาล
          ปกครอง คดีของศาลรัฐธรรมนูญ ส�าหรับการร้องเรียนในกรอบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ก็พบว่ามี

          ค�าร้องที่มีประเด็นอ้างว่าถูกเลือกปฏิบัติเป็นจ�านวนมาก  อย่างไรก็ตาม  เมื่อพิจารณาจากสภาพข้อเท็จจริงและการ
          เรียกร้องเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติและความเสมอภาคในประเทศไทย  พบว่าบุคคลผู้ถูกกระทบสิทธิมักจะกล่าวอ้างว่า
          ถูกเลือกปฏิบัติ  ทั้งที่หากพิจารณาตามกรอบกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศแล้ว  ข้อเท็จจริงลักษณะนั้นอาจ

          ไม่จัดเป็นการเลือกปฏิบัติ นอกจากนี้ หากพิจารณากฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อง จะเห็นได้ว่าหลักเกี่ยวกับความเสมอภาค
          และการห้ามเลือกปฏิบัติถูกน�าไปบัญญัติไว้ในกฎหมายหลายฉบับอย่างกระจัดกระจาย อีกทั้งขอบเขตของกฎหมาย
          ดังกล่าวยังมีความแตกต่างกันไปอีกด้วย

                  ดังนั้น  งานวิจัยฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาหลักความเท่าเทียมกันและการห้ามเลือกปฏิบัติในกรอบของหลักกฎหมาย
          สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ อันจะน�าไปสู่การพิจารณากรณีข้อเท็จจริงและกฎหมายที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย
          ปัจจุบันว่า กรณีใดเป็นการเลือกปฏิบัติและกระทบต่อหลักความเสมอภาคตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ





                                                          24
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30