Page 3 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)
P. 3

บทที่ 1 ที่มาและหลักการ HRDD ตามหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ






            ที่มา

                    หลักการตรวจสอบและประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Due Diligence-HRDD)
                                                                                1
            ได้รับการระบุไว้ในหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ  (UN Guiding Principles on

            Business and Human Rights)  ซึ่งเผยแพร่ตั้งแต่พ.ศ. 2554 เป็นเอกสารที่จัดท าและเผยแพร่โดย ส านักงาน

            ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) โดยการสนับสนุนของเลขาธิการสหประชาชาติ มี

            ศาสตราจารย์จอห์น รักกี้ (John Ruggie) จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในฐานะผู้แทนพิเศษของเลขาธิการ

            สหประชาชาติเป็นผู้จัดท า หลังจากที่คณะท างานได้ไปเยี่ยมสถานประกอบการและผู้เกี่ยวข้องในท้องถิ่นมากกว่า 20

            ประเทศ และมีการหารืออย่างกว้างขวางร่วมกับรัฐบาล องค์กรธุรกิจ สมาคม องค์กร ภาคประชาสังคม องค์กรของ

            กลุ่มแรงงาน สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผู้ลงทุน (Ruggie, 2011)



                  หลักการชี้แนะนี้เป็นผลจากแรงกดดันต่างๆ ต่อภาคเอกชนที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากมาย ซึ่งเริ่มต้นจาก
            บริษัทข้ามชาติต่างๆ ที่การละเมิดสิทธิมนุษยชนหลายประเภทและหลายระดับ เช่น สิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง


            เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แรงงาน เป็นต้น ขณะที่กลไกนานาชาติที่มีอยู่ล้มเหลวและไม่เพียงพอในการจัดการกับ
            การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้น ซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากภาคประชาสังคมเป็นอย่างมาก รักกี้เห็นว่าปัญหา


            ของการรายงานต่างๆ ที่มีอยู่คือ การวัดเชิงปริมาณไม่ตรงกับคุณภาพ ปัญหานี้รวมถึงข้อเท็จจริงที่ว่าบริษัทไม่
            จ าเป็นต้องรับรู้ถึงสิทธิที่ตนเองส่งผลกระทบมากที่สุด การตีความเกี่ยวกับสิทธิยังอาจจะกว้างเกินไปจนไร้ความหมาย


            และเป็นมาตรการที่ไม่มีประสิทธิภาพ (Harrison, 2013)


                    หลักการชี้แนะเป็นกรอบส าหรับรัฐในการควบคุมให้ภาคเอกชนเคารพสิทธิมนุษยชนด้วยการจัดท า ‘พิมพ์

            เขียว’ ส าหรับบริษัทต่างๆ เพื่อเป็นมาตรฐานสากลในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และเป็นการน าเสนอแนวทางในการ

            จัดการความเสี่ยงในการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ไม่พึงประสงค์ โดยได้รับการสนับสนุนจากภาคธุรกิจ และประชาสังคม

            เช่นเดียวกับจากรัฐต่างๆ โดยมีหลักการวางอยู่บนหลัก 3 ประการ คือ



                1)  การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (Protect) คือ รัฐมีหน้าที่ในการคุ้มครอง ไม่ให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนจาก

                    องค์กรของรัฐหรือบุคคลที่สาม ซึ่งหมายรวมถึงองค์กรภาคธุรกิจต่างๆ ด้วย





            1
              ค าแปลภาษาไทยของ UN Guiding Principles on Business and Human เผยแพร่โดยส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2557
            ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มได้ที่ http://library.nhrc.or.th/ulib/document/Fulltext/F08289.pdf
                                                                                                            3
   1   2   3   4   5   6   7   8