Page 72 - รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2558 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 72

๓.๗.๖ ความร่วมมือกับองค์กรเอกชนระหว่างประเทศ


                       กสม. ได้ให้ความร่วมมือกับองค์กรเอกชนระหว่างประเทศ ดังนี้

                           ๑) การเป็นเจ้าภาพร่วมจัดการประชุมภายใต้หัวข้อ “National Roundtable on Ending the Immigration
             Detention of Children in Thailand” เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘


                           โดยร่วมกับองค์กร Asia Pacific Refugee Rights Network (APRRN) และ International Detention Coalition (IDC)
             จัดการประชุมโต๊ะกลมระดับชาติ (National Roundtable) ว่าด้วยเรื่องการยุติการกักเด็กในส�านักงานตรวจคนเข้าเมืองในประเทศไทย (Ending
             the Immigration Detention of Children in Thailand) ที่โรงแรมสุโกศล กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
             รวมทั้งภาคประชาสังคมและองค์การระหว่างประเทศได้ร่วมกันพิจารณาเพื่อหาทางออกให้กับสถานการณ์ของเด็กที่เข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย ไม่ว่า
             จะเข้ามาด้วยตัวเอง หรือเดินทางมากับครอบครัว มีสถานะเป็นผู้อพยพ ผู้แสวงหาที่พักพิง บุคคลไร้รัฐ หรือผู้โยกย้ายถิ่นฐาน ในลักษณะทางเลือก
             แทนการกักตัวในสถานที่ควบคุมของส�านักงานตรวจคนเข้าเมือง (alternatives to detention) พร้อมกับน�าตัวอย่างของมาตรการการด�าเนินงาน
             ที่ประสบความส�าเร็จในต่างประเทศมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของไทย


                           ๒) การเป็นเจ้าภาพร่วมจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับบทบาทภาคธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของผู้หญิง


                           กสม. ได้ร่วมกับองค์กร IWRAW Asia Pacific โครงการ UN Women CEDAW South East Asia Programme กระทรวง
             การต่างประเทศ การค้าและการพัฒนาของประเทศแคนาดา และมูลนิธิผู้หญิง เป็นเจ้าภาพจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับบทบาทภาคธุรกิจ
             และสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงให้กับเจ้าหน้าที่ส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่างวันที่ ๑๗ - ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๘ ที่โรงแรม
             สามพราน ริเวอร์ไซต์ อ�าเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการเน้นให้เห็นว่าสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงกับภาคธุรกิจ
             เป็นเรื่องใหญ่ที่ทุกประเทศต้องให้ความส�าคัญ


                           ๓) การหารือกับผู้แทนสมาคมป้องกันการทรมาน (Association for the Prevention of Torture - APT)


                           ผู้แทนสมาคมป้องกันการทรมาน (Association for the Prevention of Torture - APT) ได้ขอเข้าพบประธาน กสม. ระหว่าง
             ช่วงการประชุมประจ�าปีของ ICC ครั้งที่ ๒๘ เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๘ ณ อาคารส�านักงานสหประชาชาติ นครเจนีวา เพื่อติดตามความคืบหน้า
             เกี่ยวกับการด�าเนินการของ กสม. เพื่อเตรียมท�าหน้าที่เป็นกลไกป้องกันการทรมานระดับชาติ (National Preventive Mechanism - NPM)
             ตามพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน (Optional Protocol to the Convention against Torture - OPCAT) ซึ่งประเด็นที่มีการ
             หารือ เช่น การพิจารณาโครงสร้างที่จะรองรับการท�างานของ กสม. ในฐานะ NPM การมอบหมาย กสม. ท�าหน้าที่ก�ากับดูแลการท�างานของ  บทที่ ๒ : ผลการด�าเนินงานประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘
             หน่วย NPM รวมทั้งการจัดสรรบุคลากร และการจัดเตรียมงบประมาณ เป็นต้น ทั้งนี้ อยู่บนสมมติฐานว่าประเทศไทยจะด�าเนินการเข้าเป็นพิธีสาร
             OPCAT ภายในปี ๒๕๕๘


                     ๓.๗.๗ การส่งเสริมความร่วมมือกับสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและองค์กรจากต่างประเทศ


                       กสม. ได้ส่งเสริมความร่วมมือกับสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและองค์กรจากต่างประเทศ อาทิ สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของ
             ออสเตรเลีย (Australian National Human Rights Commission) สมาคมสิทธิมนุษยชนศึกษาแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (China Society
             for Human Rights Studies) คณะกรรมการสตรีแห่งชาติเนปาล และสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของเกาหลี (National Human Rights
             Commission of Korea)












                              รายงานผลการปฏิบัติงานประจ�าปี ๒๕๕๘  71  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77