Page 168 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 168
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘
ประเด็นที่ ๓
๒๑๔
ความรุนแรงต่อผู้หญิง (Violence against women)
ประเทศไทยได้มีการจัดท�ารายงานเพื่อแสดงสถิติข้อมูลเกี่ยวกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นในแต่ละปี โดยสถานการณ์ปี ๒๕๕๘ พบว่า
๒๑๕
จ�านวนเหตุการณ์ความรุนแรงต่อบุคคลทั่วไป และความรุนแรงในครอบครัว จ�าแนกตามประเภทความรุนแรง มีเหตุการณ์ความรุนแรง
ทั้งหมดมี ๑,๒๕๓ เหตุการณ์ โดยเป็นเหตุการณ์ความรุนแรงทางร่างกายสูงที่สุด จ�านวน ๗๔๐ เหตุการณ์ รองลงมา คือ เหตุการณ์
ความรุนแรงทางจิตใจ จ�านวน ๓๕๙ เหตุการณ์ เหตุการณ์ความรุนแรงทางสังคม จ�านวน ๘๘ เหตุการณ์ เหตุการณ์ความรุนแรง
ทางเพศ จ�านวน ๔๗ เหตุการณ์ ตามล�าดับ ที่เหลือเป็นเหตุการณ์อื่น ๆ และไม่สามารถระบุได้ จ�านวน ๑๙ เหตุการณ์
ทั้งนี้ เหตุการณ์ความรุนแรงในปี ๒๕๕๘ ยังเพิ่มจ�านวนขึ้นเมื่อ
เทียบกับเหตุการณ์ความรุนแรงในปีที่ผ่านมา โดยปี ๒๕๕๗
มีจ�านวนเหตุการณ์ความรุนแรง ทั้งหมด ๑,๐๕๒ เหตุการณ์
ซึ่งปี ๒๕๕๘ มีเหตุการณ์ความรุนแรง เพิ่มขึ้นจ�านวน ๒๐๑ เหตุการณ์
คิดเป็นร้อยละ ๑๙.๑๑ โดยมีสถิติจ�านวนเหตุการณ์ความรุนแรง
ทั้งหมด (ต่อบุคคลทั่วไปและบุคคลในครอบครัว) และจ�านวน บทที่ ๕ สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเปราะบาง
ผู้ถูกกระท�าเป็นหญิง จ�าแนกตามประเภทความรุนแรง พ.ศ. ๒๕๕๗ -
๒๕๕๘ ดังนี้
ประเภท เหตุการณ์ความรุนแรง (ครั้ง) ผู้ถูกกระท�าที่เป็นเพศหญิง (คน)
ความรุนแรง เพิ่ม/ลด
๒๕๕๗ ๒๕๕๘ เพิ่ม/ลด ๒๕๕๗ ๒๕๕๘ เพิ่ม/ลด
คิดเป็นร้อยละ
• ทางจิตใจ ๒๓๓ ๓๕๙ ๑๒๖ ๑๖๖ ๒๔๘ ๘๒ ๓๕.๑๙
• ทางเพศ ๗๕ ๔๗ -๒๘ ๕๗ ๓๔ -๒๓ -๓๐.๖๗
• ทางร่างกาย ๖๕๙ ๗๔๐ ๘๑ ๔๙๐ ๕๕๗ ๖๗ ๑๐.๑๗
• ทางสังคม ๗๗ ๘๘ ๑๑ ๖๓ ๗๓ ๑๐ ๑๒.๙๙
• อื่นๆ ๒ ๑๗ ๑๕ ๐ ๑๓ ๑๓ ๖๕๐.๐๐
• ไม่ระบุ ๖ ๒ -๔ ๓ ๑ ๒ -๓๓.๓๓
รวมทั้งสิ้น ๑,๐๕๒ ๑,๒๕๓ ๒๐๑ ๗๗๙ ๙๒๖ ๑๔๗ ๑๓.๙๗
ที่มา: ศูนย์ปฏิบัติการเพื่อป้องกันการกระท�าความรุนแรงในครอบครัว.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ระบบงานบันทึกข้อมูลความรุนแรงภายใน
ครอบครัว. (ข้อมูล ณ วันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙)
๒๑๔ หมายถึง การกระท�าใดๆ ที่มีพื้นฐานจากความแตกต่างของบทบาททางเพศ ที่น�าไปสู่หรือแนวโน้มว่าจะน�าไปสู่ความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทางร่างกาย ทางเพศ หรือทางจิตใจของผู้หญิง
รวมทั้งความเสี่ยงว่าจะเกิดการกระท�าดังกล่าว การบังคับขู่เข็ญ หรือการลิดรอนเสรีภาพ ไม่ว่าจะเกิดในมิติของชีวิตสาธารณะหรือชีวิตส่วนบุคคล (องค์การสหประชาชาติ. ปฏิญญาว่าด้วย
การขจัดความรุนแรงต่อสตรี. ๒๕๓๖ จ�านวนการละเมิดค�าสั่ง ก�าหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ของพนักงานเจ้าหน้าที่และศาล และจ�านวนการยอมความ และรายงานต่อคณะ
รัฐมนตรีและรัฐสภาเพื่อทราบปีละครั้ง
๒๑๕ มาตรา ๑๗ แห่ง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระท�าด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จัดท�ารายงานประจ�าปีแสดงจ�านวนคดี
การกระท�าความรุนแรงในครอบครัว จ�านวนค�าสั่งก�าหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ และจ�านวนการละเมิดค�าสั่ง ก�าหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ของพนักงานเจ้าหน้าที่
และศาล และจ�านวนการยอมความ และรายงานต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาเพื่อทราบปีละครั้ง
138