Page 149 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 149

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘



             เท่าเทียมกันในสังคม ประชาธิปไตย การห้ามลิดรอนสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน  การรับรองสิทธิในการท�างานหาเลี้ยงชีพด้วยสภาพ
             การท�างานที่ยุติธรรม ค่าจ้างที่เป็นตามความเป็นอยู่และสภาพการท�างานที่ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ การก่อตั้งสหภาพแรงงาน
             สิทธิของคนงาน สิทธิในสวัสดิการสังคม การประกันสังคม สิทธิของครอบครัวในฐานะจ�าเป็น สังคมพื้นฐานทางธรรมชาติ
             สิทธิของมารดา เด็ก ผู้เยาว์ และความคุ้มครองสิทธิในมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอในปัจจัย ๔ โดยเฉพาะเรื่องอาหาร
             โดยปลอดจากความหิวโหยและการแบ่งสรรอาหาร สิทธิด้านสุขภาพ สุขลักษณะ บริการทางการแพทย์ การควบคุมโรคระบาด
             โดยเฉพาะอนามัยทารก สิทธิทางการศึกษา ซึ่งประถมศึกษาจะเป็นการศึกษาภาคบังคับที่ให้เปล่าแก่ทุกคน และการศึกษา
             ในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษาที่เหมาะสมเท่าเทียมกัน รวมถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จะต้องส่งเสริมให้มากที่สุด สิทธิที่จะ
             มีส่วนร่วมของประชาชนในด้านวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และการดูแลจากภาครัฐที่จะคุ้มครอง อนุรักษ์และการพัฒนา รวมทั้ง
             การเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และทางวัฒนธรรม

                         ๓)  อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (CRC) และพิธีสารเลือกรับทั้ง ๓ ฉบับ ได้แก่ พิธีสารเลือกรับเรื่อง
             การค้าเด็ก การค้าประเวณี และสื่อลามกที่เกี่ยวกับเด็ก พิธีสารเลือกรับเรื่องการเกี่ยวพันของเด็กในความขัดแย้งกัน
             ด้วยอาวุธ และพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กเรื่องกระบวนการติดต่อร้องเรียน
                         ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติ และมีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๓๕ โดยปัจจุบัน
             คงเหลือข้อสงวน ๑ ข้อ คือ ข้อ ๒๒ การดูแลกลุ่มเด็กซึ่งเป็นผู้หนีภัยฯ ให้เป็นไปอย่างสอดคล้องกับกฎหมาย กฎระเบียบ
             และแนวปฏิบัติในประเทศ

                         เนื้อหาของอนุสัญญาฉบับนี้มี ๓ ส่วน ๕๔ ข้อ ส่วนแรก (ข้อ ๑-๔๑) เป็นสารบัญญัติว่าด้วยสิทธิต่าง ๆ ของเด็ก
             ประกอบด้วยความหมายของ “เด็ก” การประกันสิทธิพื้นฐานของรัฐภาคีต่อเด็กในเขตอ�านาจของตนบนสิทธิพื้นฐาน ๔ ประการ
             คือ สิทธิที่จะมีชีวิต สิทธิที่จะได้รับการปกป้อง สิทธิที่จะได้รับการพัฒนาและสิทธิที่จะมีส่วนร่วม การไม่เลือกปฏิบัติ การค�านึง
             ถึงประโยชน์สูงสุดของเด็ก การเคารพต่อความรับผิดชอบและสิทธิหน้าที่ของบิดามารดา ครอบครัว และสภาพสังคมของเด็ก
             การประกันสิทธิที่จะมีชีวิต การมีชื่อ มีสัญชาติ เอกลักษณ์ การอยู่ร่วมกันระหว่างเด็กกับบิดามารดาและครอบครัวและ
             การรักษาความสัมพันธ์ระหว่างกัน สิทธิเสรีภาพของเด็กในการแสดงความคิดเห็น การแสดงออก การแสวงหา/ได้รับข้อมูลข่าวสาร
             ความคิด มโนธรรม ศาสนา การสมาคม ความเป็นส่วนตัว การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจากสื่อ และการคุ้มครองจากข้อมูลข่าวสาร
             ที่เป็นอันตราย การช่วยเหลือบิดามารดาผู้ปกครองให้สามารถเลี้ยงดูเด็กได้ การคุ้มครองจากความรุนแรงทั้งปวง การดูแลทาง
             เลือกส�าหรับเด็ก การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม การร้องขอสถานะผู้ลี้ภัย การดูแลเด็กพิการ การดูแลสุขภาพและการสาธารณสุข
             ส�าหรับเด็กและมารดา การประกันสังคม การได้รับมาตรฐานการด�ารงชีวิตที่เพียงพอ การศึกษา การพัฒนาบุคลิกภาพ
             การยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม นันทนาการ การคุ้มครองจากการถูกแสวงประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ยาเสพติด
             ทางเพศ การลักพา ขาย ค้าเด็ก การคุ้มครองจากการแสวงประโยชน์ทุกรูปแบบ การถูกทรมานหรือลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม
             การพิพาทด้วยอาวุธ การฟื้นฟูจิตใจและการกลับคืนสู่สังคม การคุ้มครองเด็กที่ต้องประสบปัญหาด้านกฎหมาย และต้องเข้าสู่
             กระบวนการยุติธรรม และผลกระทบของอนุสัญญานี้ต่อกฎหมายเดิมที่มีอยู่ ส่วนที่ ๒ (ข้อ ๔๒-๔๕) ว่าด้วยการเผยแพร่อนุสัญญา
             คณะกรรมการว่าด้วยสิทธิเด็ก การเสนอรายงาน การส่งเสริมการปฏิบัติตามอนุสัญญาอย่างมีประสิทธิภาพด้วยความร่วมมือ
             ระหว่างประเทศ ส่วนที่ ๓ (ข้อ ๔๖-๕๔) ว่าด้วยการลงนามเข้าเป็นภาคี การมีผลบังคับใช้ การแก้ไข การตั้งและการถอนข้อสงวน

                           นอกจากนี้  ไทยได้เข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาสิทธิเด็ก จ�านวน ๓ ฉบับ ได้แก่ (๑)  เรื่องความ
             เกี่ยวพันของเด็กในความขัดแย้งกันทางก�าลังอาวุธ (Optional Protocol to the Convention on the Rights of the Child
             on the involvement of children in armed conflict.) (๒)  เรื่องการขายเด็ก การค้าประเวณีเด็กและสื่อลามกที่เกี่ยวกับเด็ก
             (Optional Protocol to the Convention on the Rights of the Child on the sale of children, child prostitution
             and child pornography) และ (๓) เรื่องกระบวนการติดต่อร้องเรียน (Optional Protocol to the Convention on the
             Rights of the Child on a communications procedure.)












         119
   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154