Page 98 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 98
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘
สถานการณ์สิทธิทางเศรษฐกิจ
สังคม และวัฒนธรรม
๔.๑ เกณฑ์การประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชน
๔.๑.๑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๑) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช ๒๕๕๗
มาตรา ๔ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความ
เสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้
๒) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ บทที่ ๔ สถานการณ์สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
ในหมวดสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ได้รับรองสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของประชาชน
ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมไว้อย่างกว้างขวาง เช่น สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิและเสรีภาพในการประกอบ
อาชีพ สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ สิทธิของผู้บริโภค การห้ามเกณฑ์
แรงงาน เสรีภาพในการรวมกันเป็นสหภาพและสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นและทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
เป็นต้น ตลอดจนในหมวดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา ๘๔ (๗) ก�าหนดให้รัฐต้องด�าเนินการส่งเสริมให้ประชากร
วัยท�างานมีงานท�า คุ้มครองแรงงานเด็กและสตรี จัดระบบแรงงานสัมพันธ์และระบบไตรภาคีที่ผู้ท�างานมีสิทธิเลือกผู้แทน
ของตน จัดระบบประกันสังคม รวมทั้งคุ้มครองให้ผู้ท�างานที่มีคุณค่าอย่างเดียวกันได้รับค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์ และสวัสดิการ
ที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ
๔.๑.๒ สนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี
๑) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR)
ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติ และมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ โดยท�าค�าแถลง
ตีความข้อ ๑ วรรคหนึ่ง เกี่ยวกับสิทธิในการก�าหนดเจตจ�านงของตนเอง โดยมิให้ตีความรวมถึงการแบ่งแยกดินแดนหรือเอกภาพ
ทางการเมือง
เนื้อหาของกติกาฉบับนี้มี ๕ ส่วน ๓๑ ข้อ ๓ ส่วนแรก (ข้อ ๑-๑๕) เป็นสารบัญญัติว่าด้วยสิทธิต่าง ๆ ส่วนที่ ๔
(ข้อ ๑๖-๒๕) ว่าด้วยการเสนอรายงานทั้งของรัฐภาคีและในระหว่างองค์กรของสหประชาชาติ ของการให้ความช่วยเหลือ
และการประชุมทางวิชาการและการตีความ และส่วนที่ ๕ (ข้อ ๒๖-๓๑) ว่าด้วยการลงนามเข้าเป็นรัฐภาคี การมีผลบังคับใช้
ความครอบคลุมของกติกา การแก้ไขและการเก็บรักษาต้นฉบับ ส่วนที่เป็นสารบัญญัติ ๑๕ ข้อ ก�าหนดสิทธิต่าง ๆ ของประชาชน
ได้แก่ การก�าหนดเจตจ�านงของตน การจัดการทรัพยากรและการประกันสิทธิของรัฐภาคี ที่จะต้องให้สิทธิแก่ทั้งประชาชนและ
ผู้ที่ไม่ใช่คนชาติของตน การประกัน สิทธิความเท่าเทียมกันในเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมระหว่างชายหญิงและเพื่อความ
เท่าเทียมกันในสังคม ประชาธิปไตย การห้ามลิดรอนสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน การรับรองสิทธิในการท�างานหาเลี้ยงชีพด้วย
สภาพการท�างานที่ยุติธรรม ค่าจ้างที่เป็นตามความเป็นอยู่ และสภาพการท�างานที่ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ การก่อตั้งสหภาพแรงงาน
สิทธิของคนงาน สิทธิในสวัสดิการสังคม การประกันสังคม สิทธิของครอบครัวในฐานะจ�าเป็น สังคมพื้นฐานทางธรรมชาติ
สิทธิของมารดา เด็ก ผู้เยาว์ และความคุ้มครองสิทธิในมาตรฐานการครองชีพ ที่เพียงพอในปัจจัย ๔ โดยเฉพาะเรื่องอาหาร
โดยปลอดจากความหิวโหยและการแบ่งสรรอาหาร สิทธิด้านสุขภาพ สุขลักษณะ บริการทางการแพทย์ การควบคุมโรคระบาด
โดยเฉพาะอนามัยทารก สิทธิทางการศึกษา ซึ่งประถมศึกษาจะเป็นการศึกษาภาคบังคับที่ให้เปล่าแก่ทุกคน และการศึกษา
ในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษาที่เหมาะสมเท่าเทียมกัน รวมถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จะต้องส่งเสริมให้มากที่สุด สิทธิที่จะ
มีส่วนร่วมของประชาชนในด้านวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และการดูแลจากภาครัฐที่จะคุ้มครองอนุรักษ์และการพัฒนา
รวมทั้งการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และทางวัฒนธรรม
68