Page 9 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 9
๓. เงื่อนไขทางสังคม การเมือง ชาติพันธุ์ในการส่งผู้ลี้ภัยกลับ
การเตรียมการเพื่อส่งผู้ลี้ภัยกลับคืนสู่ถิ่นฐาน จะต้องเข้าใจภูมิหลังทางสังคม การเมืองและจิตวิทยาที่มีความ
ละเอียดอ่อนของผู้ลี้ภัยด้วย
ประการที่แรก ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อย ที่มีความขัดแย้งกับรัฐบาลพม่า/เมียนมาร์มานานเกือบ ๖ ทศวรรษ
จนถึงกับมีองค์กรทางการเมืองและกองก�าลังถืออาวุธของตนเอง รัฐบาลพม่า/เมียนมาร์มองว่ากองก�าลังถืออาวุธ ชนกลุ่มน้อย
เหล่านี้เคยเป็นผู้ก่อการร้าย (Insurgent) ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาล ผู้ลี้ภัยจ�านวนหนึ่งก็เป็นสมาชิกของครอบครัวของกองก�าลัง
ถืออาวุธชนกลุ่มน้อยเหล่านี้มีความรู้สึกว่ารัฐบาลพม่า/เมียนมาร์ใช้นโยบายชาตินิยมปฏิบัติต่อพวกเขามาโดยตลอด ที่ส�าคัญก็คือ
การเจรจาหยุดยิงทั่วประเทศยังไม่บรรลุผล (ในช่วงที่เก็บข้อมูลเสร็จสิ้นลง)
ประการที่ ๒ ผู้ลี้ภัยจ�านวนมากยังมีความทรงจ�าที่ขมขื่นและเกลียดชังรัฐบาลและทหารพม่า/เมียนมาร์ ดังนั้น
การส่งผู้ลี้ภัยกลับไม่ควรแต่จะพิจารณาว่าผู้ลี้ภัยต้องการแค่เพียงความมั่นคง ปลอดภัยในการด�ารงชีวิต หรือมีที่ดินท�ากินเท่านั้น
แต่ยังมีบาดแผลที่เกิดจากการต่อสู้ และการประหัตประหารของกองทัพพม่าที่ยังอยู่ในความทรงจ�าของผู้ลี้ภัยที่จะต้องได้รับ
การเยียวยา พวกเขาบางคนยังหวาดผวาเมื่อเห็นทหารถืออาวุธปืน
ประการที่ ๓ ผู้ลี้ภัยกลุ่มชาติพันธุ์มีความต้องการที่จะอยู่ในระบบการปกครองแบบสหพันธรัฐ (Federal Union)
มีรัฐชาติพันธุ์ของตนเองที่มีอิสระในการตัดสินใจทางการเมือง เศรษฐกิจ และปกป้องรักษาวัฒนธรรมและภาษาชาติพันธุ์ของ
ตนเอง ดังนั้น จึงอาจจะยังไม่มีส�านึกร่วมของการเป็นส่วนหนึ่งของรัฐชาติร่วมกับพลเมืองที่เป็นชนกลุ่มใหญ่ของประเทศ
พม่า/เมียนมาร์ การส่งผู้ลี้ภัยกลับคืนสู่ถิ่นฐานเดิม จึงจะต้องค�านึงถึงการให้อภัยและการปรองดอง ทั้งในระดับชาติและระดับ
ท้องถิ่น รวมทั้งการให้ความส�าคัญต่ออัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ และหลักการสหพันธรัฐ (Federalism)
ประการที่ ๔ ผู้ลี้ภัยจ�านวนมากไม่อยากเดินทางกลับประเทศจนกว่าจะมี “สันติภาพอย่างแท้จริง” ส่วนใหญ่
ไม่มี “ความเชื่อมั่น” (Trust) ในค�าสัญญาของรัฐบาลพม่า/เมียนมาร์
ประการที่ ๕ ส�าหรับผู้ลี้ภัยที่เป็นเยาวชน หรือผู้ที่เกิดและเติบโตในค่ายผู้ลี้ภัย พวกเขาไม่มีจินตนาการเกี่ยวกับ
“บ้านเกิดเมืองนอน” และอาจจะไม่มีความผูกพันกับประเทศพม่า/เมียนมาร์ พวกเขาเป็นผู้ลี้ภัยที่ได้รับการศึกษาและรับรู้
การเปลี่ยนแปลงของโลก มีทักษะในการใช้เทคโนโลยี ดังนั้น เยาวชนกลุ่มนี้เป็นจ�านวนมาก จึงมักไม่ประสงค์จะเดินทางกลับ
ประการสุดท้าย ผู้ลี้ภัยที่นับถือศาสนาอิสลามมีความหวาดกลัวว่า หากเดินทางกลับประเทศพม่า/เมียนมาร์
อาจจะถูกกีดกันโอกาสในการท�างาน ถูกรังเกียจในด้านชาติพันธุ์ หรือแม้กระทั่งไม่ได้รับการคุ้มครองด้านความปลอดภัยในชีวิต
และทรัพย์สิน ไม่ได้รับสิทธิการเป็นพลเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกระแสชาตินิยมชาติพันธุ์ทางศาสนาที่มีความรุนแรงใน
ปัจจุบัน
นอกจากนี้ ผู้ลี้ภัยที่ท�าการศึกษาเกือบทั้งหมดมีความห่วงกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศพม่า/เมียนมาร์
ที่ยังไม่เอื้ออ�านวยว่าจะไปสู่สันติภาพอย่างแท้จริง และยังมีความหวาดระแวง ไม่ไว้วางใจกองทัพพม่า ซึ่งปัจจุบันได้ส่งก�าลังเข้า
ยึดครองในพื้นที่ (Militarization) ในบริเวณรัฐชาติพันธุ์มากขึ้น และขณะเดียวกัน ก็ยังมีการปะทะกับกองก�าลังถืออาวุธชน
กลุ่มน้อย ที่ยังไม่เข้าร่วมการเจรจาสันติภาพอยู่เสมอ
๔. การเตรียมการส่งกลับ
๔.๑ การเตรียมตัวของผู้ลี้ภัย
ผู้ลี้ภัยได้รับรู้ถึงการส่งกลับคืนสู่ถิ่นฐานในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์เป็นระยะๆ ผู้ลี้ภัยได้แต่สังเกต
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในค่ายผู้ลี้ภัยด้วยตนเอง เช่น การฝึกอบรมการประกอบอาชีพต่างๆ การหารือในเรื่องพื้นที่การกลับ
ไปตั้งถิ่นฐาน การลดอาหารปันส่วนเหลือเพียง ๘ กิโลกรัมต่อคนต่อเดือน แม้ว่าจะได้รับค�าอธิบายว่าการลดอาหารปันส่วนไม่
ได้เกี่ยวข้องกับการส่งกลับ แต่เป็นเพราะแหล่งเงินทุนลดการช่วยเหลือ แต่อย่างไรก็ตาม การลดอาหารปันส่วนนี้้มีผลกระทบ
ต่อผู้ลี้ภัยเนื่องจากไม่มีช่องทางจะหารายได้ส�าหรับการซื้อหาอาหารมาทดแทนอาหารที่ขาดหายไปนั้นทั้งนี้เนื่องจากไม่สามารถ
ออกไปหางานท�านอกค่ายผู้ลี้ภัยได้ การลดอาหารปันส่วนนี้จึงท�าให้ผู้ลี้ภัยรู้สึกถึงความไม่มั่นคง และมีความห่วงกังวลเกี่ยวกับ
อนาคต
จ
ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว