Page 11 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 11

สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของผู้ลี้ภัยตามที่บัญญัติไว้ในอนุสัญญาฯ ทั้งที่คนเหล่านี้มีคุณสมบัติ “ผู้ลี้ภัย” ตามอนุสัญญาฯ ดังนั้น
                   จึงควรมีการทบทวนนิยามผู้ลี้ภัยโดยค�านึงถึงหลักการสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน เช่น เสรีภาพในการเดินทาง สิทธิด้านการศึกษา
                   การสาธารณสุข เป็นต้น หากรัฐบาลไทยยังไม่ประสงค์จะยอมรับว่ามีผู้ลี้ภัย ก็สมควรจะพิจารณาให้เสรีภาพในการเดินทาง

                   เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ลี้ภัยเหล่านี้สามารถหางานท�าภายในขอบเขตพื้นที่ที่ก�าหนดไว้  เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดรายได้และการ

                   ลดทอนศักยภาพของพวกเขา  ข้อส�าคัญ  ผู้ลี้ภัยเหล่านี้จ�านวนมากที่ตกอยู่ในสภาพจ�าเจ  รอคอย  และไม่มีความชัดเจนว่าจะ
                   ได้เดินทางกลับถิ่นฐานของตนเมื่อใด  มีชีวิตอยู่ในที่พักที่คับแคบ  แออัด  บางคนต้องเผชิญกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัว
                   เด็กวัยรุ่นมีปัญหาการใช้ยาเสพติด มีกรณีการละเมิดทางเพศ สภาพของค่ายผู้ลี้ภัย ถึงจะไม่ใช่ค่ายกักกัน แต่ก็เป็นสิ่งแวดล้อมที่

                   ไม่ปรกติ ท�าให้เกิดความหดหู่  รอคอยการให้ความช่วยเหลือจากองค์กรเอกชนระหว่างประเทศ

                              ๕.๒ ควรทบทวน (Rethinking) แนวคิดการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
                                  ผู้ลี้ภัยตกอยู่ในสภาพของการเป็นผู้ได้รับการช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมมาโดยตลอด แนวคิดการให้
                   ความช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัยในลักษณะนี้  อาจจะมีความเหมาะสมกับผู้ที่หนีภัยจากการสู้รบหรือภัยธรรมชาติ  ที่พวกเขาไม่สามารถ

                   ช่วยตัวเองได้ในระยะแรก  แต่ผู้ลี้ภัยตามชายแดนไทย-พม่าเหล่านี้ได้อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยมาเป็นระยะเวลาหลายสิบปี  บางคนเกิด

                   และเติบโตในค่าย  ดังนั้น  จึงควรจะมีการทบทวนและเปลี่ยนวิธีคิดต่อผู้ลี้ภัยเสียใหม่  จากเดิมถูกมองว่าเป็น  “เหยื่อของ
                   ความรุนแรง” เป็น “ผู้ที่รอคอยความช่วยเหลือ” ขาดศักยภาพที่จะช่วยเหลือตนเอง มาเป็นการมองว่าผู้ลี้ภัยเป็นผู้ที่มี “ศักยภาพ”
                   ที่จะมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ  มีส่วนร่วมในการพัฒนาการด�ารงชีวิตของตนเอง  และเตรียมตัวส�าหรับอนาคตของตนเองและ

                   ครอบครัว  โดยนัยนี้  ย่อมหมายถึงการเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัย  จากแนวคิด  การให้ความช่วยเหลือด้าน

                   มนุษยธรรม (Humanitarianism) ไปสู่แนวคิดการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Development) การเปลี่ยน
                   แนวคิดดังกล่าวนี้ จ�าเป็นที่จะต้องศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม ว่าในบรรดาผู้ลี้ภัยในค่ายผู้ลี้ภัยนั้น มีผู้ที่มีความรู้ ภูมิปัญญา ศักยภาพ
                   ตลอดจนประสบการณ์ในการประกอบอาชีพ ระดับการศึกษา อายุ ระบบเครือญาติ อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ และการนับถือศาสนา

                   ทั้งนี้ เพื่อจะใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการจ�าแนกผู้ลี้ภัยและจัดให้มีการอบรมเพิ่มพูนความสามารถบนพื้นฐานของศักยภาพ

                              ๕.๓ นโยบายต่อผู้ลี้ภัยที่หลากหลาย
                                  ผู้ลี้ภัยในค่ายผู้ลี้ภัยมีความหลากหลายในด้านต่างๆ  ที่อยู่ในวัยกลางคน หรือวัยสูงอายุและกลุ่มคนหนุ่มสาว
                   ผู้ลี้ภัยในวัยกลางคนหรือผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะกลับคืนสู่ถิ่นฐานเดิมของตนเอง มีความคิดเกี่ยวกับ “บ้านเกิดเมืองนอน”

                   บางคนมีภูมิปัญญาที่เป็นประโยชน์ต่อการฟื้นฟู  และพัฒนาบ้านเกิดของตนเอง  แต่ส�าหรับผู้ลี้ภัยวัยหนุ่มสาว  มักไม่มีความผูกพัน

                   กับประเทศพม่า/เมียนมาร์  มีแนวโน้มที่จะเลือกอยู่ในประเทศไทย  หรือไปประเทศที่สาม  รัฐบาลไทยจึงน่าจะพิจารณาคัดเลือก
                   และพัฒนาคนหนุ่มสาวเหล่านี้ให้มีโอกาสในการท�างานการพัฒนาพื้นที่ชายแดน หรือในเขตเศรษฐกิจพิเศษที่รัฐบาลมีแผน
                   ที่จะพัฒนาขึ้น

                                  นอกจากนั้น ยังมีข้อเสนอเชิงนโยบายเฉพาะส�าหรับการส่งผู้ลี้ภัยชาวมุสลิมคืนกลับสู่ถิ่นฐาน ซึ่งชาวมุสลิม

                   อาจจะมีความเปราะบางมากกว่ากลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ อันเนื่องจากความขัดแย้งด้านศาสนาพุทธและอิสลามในประเทศเมียนมาร์
                   ดังนั้น จึงควรมีนโยบายการเตรียมการส่งกลับเฉพาะเพื่อให้ความคุ้มครองผู้ที่มีวัฒนธรรมและการนับถือศาสนาที่แตกต่างออกไป
                   รวมทั้งสนับสนุนให้มีการศึกษาท�าความเข้าใจปัญหาและความต้องการของผู้ลี้ภัยชาวมุสลิม

                              ๕.๔ นโยบายการสร้าง “ชุมชนจินตนาการ

                                  ปัญหาการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของพม่า/เมียนมาร์ที่ประกอบด้วยชนกลุ่มน้อยต่างๆ เป็นเรื่อง
                   ที่มีความส�าคัญอย่างยิ่งในกระบวนการส่งผู้ลี้ภัยกลับคืนสู่ถิ่นฐาน เพราะไม่ใช่เป็นเรื่องของการวางมาตรการคุ้มครองผู้ลี้ภัย
                   ในการเดินทางกลับคืนสู่มาตุภูมิ หรือการหาพื้นที่ในการด�ารงชีวิตอย่างปลอดภัยและยั่งยืนเท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องของการธ�ารง

                   อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของผู้ลี้ภัย และการสร้าง “จินตนาการชุมชน” หรือส�านึกร่วมในการกลับคืนมาตุภูมิที่จะเป็นพื้นฐาน

                   ของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น UNHCR ฝ่ายรัฐบาลพม่า พรรคการเมือง กองก�าลังถืออาวุธ
             ช
             ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16