Page 10 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 10
อย่างไรก็ตาม ผู้ลี้ภัยบางส่วนได้เตรียมการอนาคตของตนเองด้วยการกลับไปส�ารวจพื้นที่ในชุมชนเดิม
บางคนได้เริ่มไปเพาะปลูกผลไม้ และข้าว บางส่วนมีการเตรียมหาพื้นที่รองรับเพื่อจะกลับไปตั้งถิ่นฐานใหม่ร่วมกัน เช่น
กลุ่มผู้ลี้ภัยค่ายผู้ลี้ภัยบ้านถ�้าหิน กลุ่มผู้ลี้ภัยค่ายบ้านนุโพ กลุ่มผู้ลี้ภัยค่ายบ้านใหม่ในสอย โดยสิ่งที่พิจารณาในการหาพื้นที่
รองรับ คือ ที่ดินที่เหมาะส�าหรับการเพาะปลูก ความปลอดภัย สถานศึกษาส�าหรับบุตรหลาน แต่อย่างไรก็ดี ยังไม่มีสัญญาจาก
รัฐบาลพม่า/เมียนมาร์ ว่ามีความพร้อมที่จะให้มีการส่งกลับ ถึงแม้ว่าจะมีการลงนามในข้อตกลงหยุดยิงแล้วก็ตาม ยิ่งกว่านั้น
ในพื้นที่บางแห่งที่คาดหมายว่าผู้ลี้ภัยจะกลับไปตั้งถิ่นฐานอยู่ร่วมกัน ปรากฏว่าบริเวณดังกล่าวอยู่ในเขตอิทธิพลของกองก�าลัง
ถืออาวุธระดับท้องถิ่น หรือกองก�าลังพิทักษ์ชายแดน
๔.๒ การเตรียมการโดย UNHCR
หน่วยงานหลักที่มีบทบาทส�าคัญในการเตรียมการส่งผู้ลี้ภัยกลับคืนสู่ถิ่นฐานเดิม ได้แก่ UNHCR ซึ่งได้หารือ
กับรัฐบาลไทยและรัฐบาลเมียนมาร์มาโดยตลอด พร้อมทั้งได้จัดท�าแผนยุทธศาสตร์เตรียมการส่งกลับอย่างสมัครใจ (Strategic
Road Map) ขึ้น ในขณะเดียวกัน ได้จ�าแนกการเดินทางกลับคืนสู่ถิ่นฐานออกเป็น ๓ รูปแบบ คือ ๑) การเดินทางกลับ
ด้วยตนเอง (Spontaneous Repatriation) ซึ่งได้เกิดขึ้นแล้วโดยตัวผู้ลี้ภัยเอง โดยที่ไม่ต้องแจ้ง UNHCR ๒) การเดินทางกลับ
คืนสู่ถิ่นฐานเดิม โดยมี UNHCR อ�านวยความสะดวก (Facilitated Repatriation) โดยการจัดหาข้อมูลก่อนเดินทางกลับ
ให้ความช่วยเหลือทั้งในระหว่างการเดินทางกลับและเมื่อกลับสู่ภูมิล�าเนาเป็นที่เรียบร้อย การเดินทางการกลับอาจจะเป็นทั้ง
ในรูปของแต่ละบุคคล หรือเป็นกลุ่ม และ ๓) การให้การสนับสนุนในการเดินทางกลับ (Promoted Repatriation) ส�าหรับ
การเดินทางรูปแบบที่ ๓ UNHCR จะให้ความช่วยเหลือเต็มรูปแบบ ตั้งแต่การประสานงานกับฝ่ายรัฐบาลพม่าในการหา
ที่อยู่อาศัย การจัดท�าบัตรสมาร์ทการ์ด รวมถึงการสนับสนุนยานพาหนะส�าหรับเดินทางกลับ การคุ้มครองความปลอดภัยและให้
เงินช่วยเหลือส่วนหนึ่งเพื่อการด�ารงชีพ
๔.๓ การเตรียมการโดยองค์กรภาคประชาสังคม
ข้อกังวลส�าคัญของผู้ลี้ภัย คือ เรื่องการศึกษา แม้ว่าเยาวชนในค่ายผู้ลี้ภัยจะมีความสามารถด้านภาษา
ที่หลากหลายและได้รับโอกาสในการศึกษาจากองค์กรเอกชนระหว่างประเทศแต่ผู้ส�าเร็จการศึกษาจากโรงเรียนในค่ายผู้ลี้ภัย
ไม่ได้การรับรองวุฒิการศึกษา (Accreditation) ทั้งจากกระทรวงศึกษาของประเทศพม่า/เมียนมาร์และประเทศไทย ด้วยเหตุนี้
องค์กรเอกชนและองค์กรที่เกี่ยวกับการศึกษาของรัฐชนกลุ่มน้อย เช่น KED (Karen Education Development) KnED
(Karenni Education Department) จึงพยายามหาแนวทางในการแก้ปัญหานี้ เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้ได้รับการรับรอง
วุฒิการศึกษาจากรัฐบาลพม่า/เมียนมาร์ โดยแบ่งแผนงานด้านการศึกษาออกเป็นแผนงานระยะสั้นและแผนงานระยะยาว ส�าหรับ
แผนระยะสั้น เป็นการเตรียมโรงเรียนในฝั่งชายแดนพม่า/เมียนมาร์ในรัฐฉาน รัฐคะยาห์ รัฐกะเหรี่ยงและรัฐมอญ โรงเรียนที่ตั้ง
อยู่ในบริเวณชายแดนที่เข้าร่วมโครงการนี้ เรียกว่า Welcoming School ส่วนแผนระยะยาวให้ความส�าคัญต่อการประสานงาน
โรงเรียนต่างๆ เพื่อสร้างมาตรฐานหลักสูตรคู่มือการสอน รวมทั้งมีความพยายามเจรจากับกระทรวงศึกษาธิการพม่า/เมียนมาร์
ให้ยอมรับหลักสูตรของโรงเรียนในค่ายผู้ลี้ภัยด้วย
๕. ข้อเสนอแนะทางเลือก
ในระหว่างที่รอการส่งผู้ลี้ภัยกลับคืนถิ่นฐานในประเทศต้นทาง มีข้อเสนอเชิงนโยบายที่ควรจะมีการพิจารณาควบคู่
ไปกับการเตรียมการส่งกลับ
๕.๑ ข้อเสนอเชิงนโยบาย ควรมีการทบทวน (Rethinking) การนิยามผู้ลี้ภัย
สืบเนื่องจากรัฐบาลไทยมิได้เข้าเป็นภาคีของอนุสัญญาสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ จึงท�าให้ประเทศไทย
ไม่ยอมรับว่ามี “ผู้ลี้ภัย” และเรียกผู้ที่อาศัยในค่ายผู้ลี้ภัยทั้ง ๙ แห่งว่า “ผู้หนีภัยจากการสู้รบ” และหากบุคคลเหล่านี้เดินทาง
ออกมาภายนอกค่ายผู้ลี้ภัย จะกลายเป็นผู้เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ การนิยามนี้
จึงเป็นการกดตรึงหรือกักขังให้ผู้คนเหล่านี้ต้องกลายเป็นผู้ที่จะต้องอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยเท่านั้น ขณะเดียวกันก็ไม่ได้รับการคุ้มครอง
ฉ
ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว