Page 7 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 7
บทสรุปผู้บริหาร
โครงการวิจัยเรื่อง “ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว” นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑. ศึกษา
1
การด�าเนินชีวิตของผู้ลี้ภัย ภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองในปัจจุบัน ๒. เพื่อประเมินความต้องการในการ
เตรียมความพร้อมเพื่อการส่งคืนผู้ลี้ภัยและครอบครัวกลับสู่ถิ่นฐาน และ ๓. เพื่อวิเคราะห์แนวทางการส่งกลับประเทศต้นทาง
และทางเลือกอื่น ๆ ของผู้ลี้ภัยโดยสมัครใจ ความมั่นคงและความปลอดภัยในชีวิต ภายใต้บริบทด้านเศรษฐกิจ สังคม และ
การเมือง
2
คณะผู้วิจัยได้คัดเลือกพื้นที่พักพิงชั่วคราว ๔ แห่ง คือ จังหวัดตาก เลือกศึกษาพื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านแม่หละ
และพื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านนุโพ จังหวัดราชบุรี เลือกศึกษาพื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านถ�้าหิน และจังหวัดแม่ฮ่องสอน เลือกศึกษา
พื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านใหม่ในสอย และการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการทางมานุษยวิทยา ประกอบด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก
(Key Informant Interview) การจัดท�ากรณีศึกษา (Case Study) การสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth Interview) และ
การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) รวมทั้งการสังเกตการณ์ เพื่อให้ได้ข้อมูลรายละเอียดและมุมมองของผู้ลี้ภัย
แต่อย่างไรก็ดี คณะผู้วิจัยไม่สามารถเข้าไปเก็บข้อมูลในค่ายผู้ลี้ภัยได้ เนื่องจากไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงมหาดไทย จึง
จ�าเป็นต้องขอความร่วมมือจากองค์กรที่ท�างานเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย ซึ่งได้แก่ เจ้าหน้าที่องค์กรเอกชนระหว่างประเทศ เจ้าหน้าที่
องค์กรภาคประชาสังคม (Civil Society Organization: CSO) ช่วยคัดเลือกผู้ช่วยนักวิจัย หลังจากนั้น จึงจัดการอบรมวิธีการ
เก็บข้อมูลสนามให้แก่ผู้ช่วยนักวิจัย
ผลการศึกษา
๑. สถานการณ์ชายแดนและค่ายผู้ลี้ภัย
พื้นที่ชายแดนของประเทศไทย ได้แก่ ราชบุรี กาญจนบุรี ตาก เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอนและเชียงราย ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้าม
กับรัฐชนกลุ่มน้อย มีชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์อยู่ใกล้บริเวณชายแดนเป็นจ�านวนมาก และยังมีกองก�าลังถืออาวุธชนกลุ่มน้อย (Ethnic
Armed Group) ของประเทศพม่า/เมียนมาร์ใช้เป็นพื้นที่สะสมก�าลังและหลบซ่อนการปราบปรามของกองทัพพม่า หรือ
ข้ามมาหาเสบียง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ และเมื่อเกิดการสู้รบกันระหว่างกองก�าลังของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (Karen
National Union: KNU) และกองก�าลังกะเหรี่ยงประชาธิปไตยฝ่ายพุทธ (Democratic Karen Buddhist Army: DKBA)
จนกระทั่งค่ายมาเนอร์ปลอว์แตก ในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๓๘ มีการอพยพหนีภัยสงครามของผู้คนประเทศพม่า/เมียนมาร์
มาในบริเวณชายแดนไทยจ�านวนมาก จนรัฐบาลไทยได้จัดตั้งพื้นที่พักพิงชั่วคราวขึ้นบริเวณชายแดนหลายจุด แต่ต่อมามีการย้าย
และยุบพื้นที่พักพิงฯ เพื่อความปลอดภัยจากการลอบโจมตีของกองก�าลังฝ่ายตรงกันข้าม ปัจจุบันเหลือค่ายผู้ลี้ภัย ๙ แห่ง
อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงมหาดไทย
เนื่องจากประเทศไทยมิได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ (Convention Relating
to the Status of Refugees 1951) ประเทศไทยจึงไม่ยอมรับว่ามี “ผู้ลี้ภัย” อยู่ในประเทศ บุคคลเหล่านี้จึงได้รับการนิยาม
1 โครงการวิจัยนี้ใช้ค�าว่า “ผู้ลี้ภัย” ตามค�าที่ผู้หนีภัยจากการสู้รบและพักอาศัยในค่ายพักพิงชั่วคราวเรียกตนเอง ในขณะที่รัฐบาลไทยเรียกคน
เหล่านี้ว่า “ผู้หนีภัยจากการสู้รบ” เป็นที่น่าสังเกตว่า ส�านักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (The United Nations High Commissioner for
Refugees: UNHCR) เรียกคนเหล่านี้ว่า Refugee (ผู้ลี้ภัย) เช่นเดียวกัน ทั้งที่รัฐบาลไทยไม่ได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ ด้วย
เหตุนี้จึงท�าให้รัฐบาลไทยไม่ใช้ค�าว่า “ผู้ลี้ภัย” โดยใช้ค�าว่า “ผู้หนีภัยจากการสู้รบ”
2 พื้นที่หรือสถานที่ที่รัฐบาลไทยจัดหาให้ผู้ลี้ภัยการสู้รบจากประเทศพม่า/เมียนมาร์ มีทั้งหมด ๙ แห่ง เรียกว่า พื้นที่พักพิงชั่วคราว
(Temporary Shelter) แต่ผู้ลี้ภัย ตลอดจนองค์กรที่ท�างานในพื้นที่ดังกล่าว และผู้ลี้ภัยเองจะเรียกว่า Refugee Camp (ค่ายผู้ลี้ภัย) แต่โดยทั่วไปจะเรียก
สั้น ๆ ว่า แคมป์ (Camp) ทับศัพท์เสียงภาษาอังกฤษ ส�าหรับงานวิจัยนี้ ใช้ค�าว่า “ค่ายผู้ลี้ภัย” ตามค�าเรียกของผู้ลี้ภัยและองค์กรต่าง ๆ
ฆ
ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว