Page 5 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 5
กิติกรรมประกาศ
ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะเคยมีประสบการณ์กับการให้ความช่วยเหลือผู้อพยพลี้ภัยตั้งแต่หลังสงครามอินโดจีน
และได้ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้ลี้ภัยจากการสู้รบจากภัยสงครามในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์
มานานกว่า ๓๐ ปี แต่ยังไม่ค่อยมีการศึกษาคนกลุ่มนี้อย่างจริงจังในวงการสังคมศาสตร์ไทยเท่าใด เมื่อสถานการณ์ทาง
การเมืองในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ เริ่มคลี่คลายลงหลังจากการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๔ คณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงได้ให้ความสนใจต่อสิทธิและปัญหาของผู้ลี้ภัยจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์
ที่อาศัยอยู่ในค่ายพักพิงตามแนวชายแดนไทย-พม่า โดยนายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ สมัยเมื่อด�ารงต�าแหน่งเป็น
กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้มีข้อห่วงใยต่อปัญหาของสิทธิผู้ลี้ภัยเหล่านี้และต้องการจะมีข้อเสนอ
เชิงนโยบายในการส่งผู้ลี้ภัยกลับคืนถิ่นฐาน (Repatriation) ที่ค�านึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน กล่าวคือ จะต้องเป็นไปด้วยความ
สมัครใจ ความปลอดภัย และความยั่งยืน จึงได้มอบหมายให้ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ท�าการศึกษาวิจัยปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายผู้ลี้ภัยเหล่านี้ ทั้งนี้ โดยให้ความส�าคัญต่อการรับฟังปัญหา ความต้องการของผู้ลี้ภัย
ที่มีความหลากหลาย ตลอดจนการมีส่วนร่วมของผู้ลี้ภัยในการเตรียมการส่งกลับคืนถิ่นฐาน เพื่อจัดท�าเป็นข้อเสนอแนะ
ทางเลือกเชิงนโยบายเพื่อเสนอต่อรัฐบาลต่อไป
โครงการวิจัยนี้ได้เริ่มต้นด�าเนินการตั้งแต่กลางปี พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยได้เลือกศึกษาค่ายผู้ลี้ภัยจ�านวน
๔ แห่ง และได้รับความร่วมมือจาก ดร.เดชา ตั้งสีฟ้า แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะ เป็นผู้รับผิดชอบเก็บข้อมูล
ในค่ายผู้ลี้ภัยบ้านแม่หละ จังหวัดตาก ทั้งนี้เพราะว่าเป็นผู้ที่มีความคุ้นเคยกับค่ายผู้ลี้ภัยแห่งนี้มาก่อนแล้ว ส่วนอีก ๓ แห่ง
คือ ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านนุโพ จังหวัดตาก ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านถ�้าหิน จังหวัดราชบุรี และค่ายผู้ลี้ภัยบ้านใหม่ในสอย จังหวัด
แม่ฮ่องสอน อยู่ในความรับผิดชอบของคณะผู้วิจัยจากศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา แต่ปัญหาอุปสรรคในการ
ด�าเนินการวิจัยก็คือ คณะผู้วิจัยไม่สามารถเข้าไปเก็บข้อมูลในค่ายผู้ลี้ภัยได้เนื่องจากไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวง
มหาดไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบพื้นที่ค่ายผู้ลี้ภัย อย่างไรก็ตาม ด้วยความร่วมมือขององค์กรเอกชนระหว่างประเทศ
และองค์กรประชาสังคมต่างๆ ที่ด�าเนินงานเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย รวมทั้งผู้ปฏิบัติงานในค่ายผู้ลี้ภัยและผู้ลี้ภัยเองที่เข้าใจ
เป้าหมายของการวิจัย และมีความเชื่อมั่นในความตั้งใจของคณะผู้วิจัย จึงได้ให้การสนับสนุน และให้ข้อมูลที่ท�าให้
คณะผู้วิจัยได้รับข้อมูลในระดับที่พอเพียงที่สะท้อนสภาพการด�ารงชีวิตและปัญหาของผู้ลี้ภัย ความต้องการหรือ
ความปรารถนา รวมทั้งความวิตกกังวลต่ออนาคตของตนเอง การเตรียมการเพื่อเดินทางกลับสู่ถิ่นฐาน ตลอดจนการ
มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเพื่อเดินทางกลับ กล่าวได้ว่าการด�าเนินการโครงการวิจัยฯ จนส�าเร็จลุล่วงมาได้นี้ คณะผู้วิจัย
จักต้องขอขอบคุณผู้ลี้ภัย คณะกรรมการค่ายผู้ลี้ภัย ผู้ประสานงานองค์กรเอกชนระหว่างประเทศ องค์กรภาคประชาสังคม
และหน่วยงานราชการไทยที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัย ที่ได้ให้ความร่วมมืออย่างดียิ่งในการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ท�าให้เห็น
ถึงความสลับซับซ้อนของปัญหาและสภาพการด�าเนินชีวิตในค่ายผู้ลี้ภัย สถานการณ์ที่เกี่ยวกับการส่งกลับที่เคลื่อนไหว
เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งความหวัง การรอคอยและความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเดินทางกลับคืนสู่ถิ่นฐานของ
ตนเอง
4 ค
ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว