Page 4 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 4
ค�าน�า
แม้รัฐบาลไทยจะมิได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานะภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ แต่ก็ได้มีการนิยาม
บุคคลที่อพยพหนีภัยสงครามว่าเป็น “ผู้หนีภัยจากการสู้รบ” ซึ่งตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมาประเทศไทย
ได้ด�าเนินนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนตามหลักสากลในการรับผู้ลี้ภัยจากการสู้รบจากประเทศเมียนมาร์ ให้เข้ามาอยู่
ในค่ายพักพิงตามแนวชายแดนไทย-พม่าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี จ�านวน ๙ แห่ง โดยได้
ให้ความช่วยเหลือด้านอาหาร ที่พักอาศัย บริการสุขภาพ การศึกษาและการฝึกอบรม อย่างไรก็ตาม ในการ
พิจารณาแนวทางส่งผู้ลี้ภัยกลับถิ่นฐาน รัฐจ�าเป็นต้องกระท�าบนพื้นฐานของมนุษยธรรมและจ�าเป็นต้องค�านึงถึง
การพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมด้วย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตระหนักถึงความส�าคัญในเรื่องนี้ จึงเห็นควร
ให้มีการศึกษาการด�าเนินชีวิตของผู้ลี้ภัยภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองในปัจจุบัน เพื่อประเมิน
ความต้องการในการเตรียมความพร้อมเพื่อการส่งคืนผู้ลี้ภัยและครอบครัวกลับสู่ถิ่นฐาน รวมถึงวิเคราะห์แนวทาง
การส่งกลับประเทศต้นทางและทางเลือกอื่นๆ ของผู้ลี้ภัย โดยค�านึงถึงความสมัครใจ ความมั่นคงและความปลอดภัย
ในชีวิต รวมทั้งบริบทด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง
ด้วยเหตุดังกล่าว ส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ท�าการศึกษาวิจัย เรื่อง “ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว” โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาทางเลือกเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว ที่สะท้อนความเข้าใจความ
ต้องการของผู้ลี้ภัย ความต้องการในการด�าเนินชีวิต ปัญหาและข้อวิตกกังวลของผู้ลี้ภัยในกรณีที่ถูกส่งกลับไป
ประเทศเมียนมาร์ เพื่อน�าข้อมูลที่ได้รับไปสู่การก�าหนดนโยบาย และการวางแผนในการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่าย
พักพิงชั่วคราว
ส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานการศึกษานี้จะเป็น
ประโยชน์ต่อสังคมในวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ องค์กรภาคประชาสังคม ผู้ที่สนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาข้อมูลและข้อเสนอแนะจากรายงานฉบับนี้ ทั้งในส่วนของข้อเสนอทางเลือกในระหว่างที่รอ
การส่งผู้ลี้ภัยกลับคืนถิ่นฐานในประเทศต้นทาง และข้อเสนอเชิงนโยบายที่ควรจะต้องพิจารณาควบคู่ไปกับการเตรียม
ตัวส่งผู้ลี้ภัยกลับเพื่อให้การแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยเป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชนและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาต่อไป
ส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
กันยายน ๒๕๕๙
ฃ
ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว