Page 12 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 12

ชนกลุ่มน้อย องค์กรภาคประชาสังคม สื่อมวลชน และนักวิชาการจะต้องหาทางที่จะท�าให้เกิดสิ่งนี้อย่างจริงจัง โดยมีการท�างาน
                     วิจัยอย่างมีส่วนร่วม เพื่อศึกษาแนวทางในการสร้างสันติภาพและส�านึกร่วมของความเป็นชาติ  ที่ส�าคัญก็คือผู้ลี้ภัยจะต้องมีส่วน
                     ร่วมในกระบวนการนี้

                                    ผู้ลี้ภัยสมควรจะได้รับ  “สิทธิ”  ในการตัดสินใจในการกลับคืนสู่ถิ่นฐานโดยสมัครใจ  และมีส่วนร่วมในการ

                     วางแผน และการจัดการอย่างจริงจังทุกขั้นตอน  และได้รับข้อมูลข่าวสารเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง กลุ่มสตรีผู้ลี้ภัยควรจะได้รับ
                     โอกาสอย่างเท่าเทียมในการมีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบในการวางแผนการส่งกลับคืนสู่ถิ่นฐานเดิม
                                    ปัญหาที่ดินที่จะรองรับการกลับคืนสู่ถิ่นฐาน  เป็นสิ่งที่ผู้ลี้ภัยต้องมีส่วนร่วมในการหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการ

                     กลับคืนถิ่นฐานเป็นกลุ่ม  โดยให้ความส�าคัญต่อความปลอดภัย  และความยั่งยืน  รวมทั้งการมีส่วนร่วมของประชาชนที่อยู่ในชุมชน

                     ที่ใกล้กับพื้นที่  นอกจากนั้น  ยังมีความจ�าเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องหามาตรการในการแก้ปัญหาการรับรองมาตรฐานการศึกษา
                     ของเด็กนักเรียนในค่ายผู้ลี้ภัยที่จะกลับคืนสู่ถิ่นฐานเดิม

                                 ๕.๕ นโยบายการรองรับผู้ลี้ภัยที่ประสงค์จะอยู่ในประเทศไทย (Local Integration)
                                     ควรให้โอกาสแก่ผู้ลี้ภัยมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเลือกที่จะอาศัยอยู่ในประเทศไทย ทั้งนี้ UNHCR จะต้อง

                     อ�านวยความสะดวกและสนับสนุนเช่นเดียวกับกรณีผู้ลี้ภัยที่จะเลือกเดินทางกลับคืนสู่ถิ่นฐานเดิมในประเทศพม่า/เมียนมาร์
                     โดยจัดให้มีการฝึกอบรมเพื่อให้ผู้ลี้ภัยเหล่านี้เข้าใจกฎหมายไทย รวมทั้งให้การศึกษาและการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ

                     ในการด�ารงชีวิต  และการประกอบอาชีพในประเทศไทย  ผู้ลี้ภัยจ�านวนไม่น้อย  โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยท�างานและเยาวชน  ที่มี
                     ศักยภาพและทักษะในการด�ารงชีวิตในบริเวณชายแดน สามารถพูดภาษากลุ่มชาติพันธุ์ และภาษาไทยได้คล่องแคล่ว หลายคน

                     มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสาร  ผู้ลี้ภัยเหล่านี้มักจะเลือกที่ไม่กลับไปประเทศพม่า/เมียนมาร์  เพราะไม่มีความส�านึก
                     เรื่อง “บ้านเกิด” (Homeland) ของตน ดังนั้น คนกลุ่มนี้น่าจะได้รับโอกาสให้เลือกที่จะอยู่ในประเทศไทย โดยเฉพาะในชุมชน

                     ชายแดนที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน
                                 ๕.๖ ทบทวนแนวคิดเกี่ยวกับพื้นที่ “ชายแดน” และชุมชนชายแดน (Rethinking)

                                     จ�าเป็นต้องมีการทบทวนแนวคิดเกี่ยวกับพื้นที่ชายแดนเสียใหม่ จาก “พื้นที่กันชน” หรือพื้นที่ชายขอบ
                     หรือพื้นที่ห่างไกลจากความเจริญ แต่ที่มีทรัพยากรที่สามารถจะขุดเจาะและน�าทรัพยากรนั้นมาใช้โดยไม่ค�านึงถึงความยั่งยืน

                     แต่ปัจจุบันพื้นที่ชายแดนกลับกลายเป็นพื้นที่ที่มีความส�าคัญทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม รัฐบาลไทย
                     ก�าลังเตรียมประกาศให้เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ แนวโน้มของการพัฒนาชายแดนจะมีลักษณะของการใช้พื้นที่ให้เป็น

                     ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ โดยไม่ค�านึงถึงความยั่งยืนมากขึ้น พื้นที่ชายแดนควรจะเป็น “ชุนชนในจินตนาการ” ของพลเมือง
                     ทั้งสองประเทศ  เป็นพื้นที่พหุวัฒนธรรม/พหุชาติพันธุ์ที่ใช้ทรัพยากรร่วมกัน  จึงควรค�านึงถึงการใช้ประโยชน์ร่วมกับกองก�าลัง

                     ถืออาวุธชนกลุ่มน้อยอย่างยั่งยืน
                                     UNHCR และคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Intergovernmental

                     Commission on Human Rights: AICHR) ควรมีบทบาทอย่างแข็งขันในการเจรจากับรัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่า/เมียนมาร์
                     กองก�าลังถืออาวุธชนกลุ่มน้อย และชุมชนชายแดน เพื่อให้มองเห็นความส�าคัญของพื้นที่ชายแดนอย่างจริงจัง เป็นพื้นที่น�าร่อง

                     ของความร่วมมือในการพัฒนาไปสู่ประชาคมอาเซียน  นอกจากนั้น  ควรให้ชุมชนชายแดนมีทางเลือกในการพัฒนารูปแบบต่าง  ๆ
                     เช่น การพัฒนาการเกษตรปลอดสารเคมี ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงที่ให้ความส�าคัญต่อความมั่นคงทางอาหาร และเป็นพื้นที่เขต

                     วัฒนธรรมพิเศษ
                                     นอกจากนี้ ควรจะต้องมีการจัดตั้งให้มีหน่วยงานหรือเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อศึกษาและพัฒนาพื้นที่ชายแดน

                     รับผิดชอบในการฝึกอบรมอาสาสมัคร ที่อาจจะมาจากผู้ลี้ภัยที่เลือกกลับคืนสู่ถิ่นฐานเดิมในบริเวณชายแดนและจากชุมชน
                     ชายแดน  เพื่อสร้างอุดมการณ์ในการพัฒนาอย่างยั่งยืนและมีเอกภาพ  รวมทั้งการสร้าง  “ชุมชนจินตนาการ”  และสนับสนุน

                     การมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่อย่างจริงจัง
                                                                                                                      ซ
                                                                            ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17